สถาปัตยกรรมยูโกสลาเวีย ของ สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ

นวนิยมช่วงระหว่างสงคราม (ช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2)

สถาปัตยกรรมยูโกสลาเวียเริ่มต้นขึ้นในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนการก่อตั้งรัฐ ในช่วงเวลานี้มีผู้สร้างสรรค์ชาวสลาฟใต้จำนวนหนึ่ง ที่กระตือรือร้นในความเป็นไปได้ของการก่อตั้งรัฐของชาวสลาฟ ได้มีการจัดชุดนิทรรศการศิลปะในเซอร์เบียในฐานะอัตลักษณ์ร่วมของชาวสลาฟ หลังจากการรวมศูนย์อำนาจของรัฐบาลหลังจากการก่อตั้งราชอาณาจักรยูโกสลาเวียในปี พ.ศ. 2461 ความกระตือรือร้นจากฐานสู่ยอดเริ่มเบาบางลง สถาปัตยกรรมยูโกสลาเวียเริ่มมีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอำนาจแห่งชาติซึ่งพยายามที่จะสร้างเอกลักษณ์ของรัฐแบบรวมศูนย์[3]

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 สถาปนิกชาวยูโกสลาเวียเริ่มให้การสนับสนุนรูปแบบสถาปัตยกรรมในแนวนวนิยม ฉายภาพของสไตล์ซึ่งเป็นส่วนขยายตรรกะของการรังสรรค์ความก้าวหน้าของชาติ กลุ่มสถาปนิกของขบวนการสมัยใหม่ (เซอร์เบีย: Група архитеката модерног правца; ГАМП) ซึ่งก่อตั้งองค์กรในปี พ.ศ. 2471 โดยสถาปนิก บรานิสลาฟ กอยิช (เซอร์เบีย: Бранислав Ђ. Којић), มิลาน ซลอกอวิช (เซอร์เบีย: Милан Злоковић), ยาน ดูบอวี (เช็ก: Jan Dubový) และ ดูซาน บาบิช (เซอร์เบีย: Душан Бабић) ผลักดันให้เกิดความแพร่หลายในการประยุกต์สถาปัตยกรรมในแนวสมัยใหม่ ในฐานะสไตล์รูปแบบ "แห่งชาติ" ของยูโกสลาเวีย ที่แตกต่างกว่ารูปแบบอื่นในภูมิภาค แม้การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ที่แยกห่างออกไปกับประเทศตะวันตก จะทำให้การยอมรับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เกิดความไม่แน่นอนในยูโกสลาเวียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยในขณะนั้นรัฐโครเอเชียและสโลวีเนียทางด้านตะวันตก ซึ่งมีความคุ้นเคยกับอิทธิพลของประเทศตะวันตก มีความกระตือรือร้นที่จะนำสถาปัตยกรรมในแนวนวนิยมมาใช้ แต่บอสเนียที่ได้รับอิทธิพลของออตโตมันมาอย่างยาวนานยังคงต่อต้านรูปแบบดังกล่าว ในทุกเมืองของยูโกสลาเวียนั้น เบลเกรดมีปริมาณโครงสร้างสถาปัตยกรรมในแนวสมัยใหม่มากที่สุด[4][5]


  • โรงพยาบาลนครสโกเปีย ได้รับการออกแบบในทศวรรษ 1930 โดย ดราโก เอบเลร์
  • สถานีรถประจำทาง (เก่า) ของสโกเปีย

สัจนิยมสังคมนิยม (พ.ศ. 2488-2491)

ทันทีหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ความสัมพันธ์สั้น ๆ ของยูโกสลาเวียกับรัฐกลุ่มตะวันออกนำเข้ามาซึ่งช่วงเวลาสั้น ๆ ของแนวคิดสัจนิยมแบบสังคมนิยม การรวมศูนย์ในรูปแบบคอมมิวนิสต์นำไปสู่การยกเลิกการปฏิบัติงานสถาปัตยกรรมส่วนตัว และการควบคุมสถานะของวิชาชีพ ในช่วงเวลานี้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวียซึ่งมีอำนาจปกครองประณามแนวคิดนวนิยมว่าเป็น "คตินิยมของชนชั้นกลาง" ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่ก่อให้เกิดแรงเสียดทานกับงานแนวนวนิยมเช่นที่มีในช่วงก่อนสงคราม ของหมู่สถาปนิกที่มีชื่อเสียงของประเทศ[6]

นวนิยมสังคมนิยม

สถาปัตยกรรมสัจนิยมแบบสังคมนิยมในยูโกสลาเวีย มาถึงจุดสิ้นสุดอย่างกระทันหันในปี พ.ศ. 2491 เมื่อยอซีป บรอซ ตีโต แยกแนวทางกับสตาลิน ในปีต่อ ๆ มาประเทศก็หันไปสร้างความสัมพันธ์กับประเทศทางตะวันตกมากขึ้นเรื่อย ๆ สถาปัตยกรรมยูโกสลาเวียกลับสู่แนวนวนิยมที่โดดเด่นในยุคก่อนสงคราม[5] ในช่วงยุคนี้สถาปัตยกรรมแนวสมัยใหม่นั้นเป็นสัญลักษณ์ของการแยกห่างจากสหภาพโซเวียต (ในเวลาต่อมาความคิดนี้ได้ลดน้อยลง ด้วยการยอมรับที่เพิ่มขึ้นของแนวคิดนวนิยมในกลุ่มตะวันออก)[6][7]

สปอแมนิก (Spomenik)

ในช่วงเวลาที่ยูโกสลาเวียได้แยกตัวออกจากแนวคิดสัจนิยมแบบสังคมนิยมของสหภาพโซเวียต รวมกับความพยายามที่จะรำลึกถึงสงครามโลกครั้งที่สอง ได้นำไปสู่การสร้างประติมากรรมในแนวนามธรรมจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า สปอแมนิก (โครเอเชีย: Spomenik)[8]

สถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์

หอพักนักศึกษา (2514) โดยกอร์กี คอนสแตนตินอฟสกี ในสโกเปีย

ในช่วงปลายคริสตทศวรรษ 1950 และต้นทศวรรษ 1960 แนวคิดสถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์เริ่มมีการสนับสนุนเพิ่มขึ้นในยูโกสลาเวีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่สถาปนิกรุ่นใหม่ โดยมีแนวโน้มที่จะได้รับอิทธิพลจากการล่มสลายในปี พ.ศ. 2502 ขององค์กรการประชุมนานาชาติว่าด้วยสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Congrès Internationaux d'Architecture Moderne; CIAM)[9]

อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นในประเทศของแนวคิดบรูทัลลิสต์ เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดในความพยายามฟื้นฟูเมืองสโกเปียหลังเกิดความเสียหายจากแผ่นดินไหวในปี พ.ศ. 2506[10] สถาปนิกชาวญี่ปุ่น เคนโซ ตังเง (ญี่ปุ่น: 丹下 健三; โรมาจิ: Tange Kenzō) มีบทบาทสำคัญในการผลักดันสถาปัตยกรรมในแนวบรูทัลลิสต์ในเมือง จนถึงกับมีการเสนอการออกแบบเมืองสโกเปียใหม่ทั้งหมดในแนวทางนี้[11][12]

สมัยการกระจายศูนย์กลาง

โบสถ์ซเวตีคลีเมนทอครีดสกี (2515) โดยสลาฟโก เบรซอสกี ในเมืองสโกเปีย ได้ลบเลือนเส้นแบ่งระหว่างสถาปัตยกรรมทางศาสนาของชาวมาซิโดเนียกับแนวคิดแบบหลังสมัยใหม่

ด้วยนโยบายการกระจายอำนาจและการเปิดเสรีในคริสตทศวรรษ 1950 ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย รูปแบบสถาปัตยกรรมเริ่มแยกแนวทางมากขึ้นตามชาติพันธุ์ สถาปนิกมุ่งเน้นไปที่การสร้างอาคารเพิ่มมากขึ้น โดยอ้างอิงกับมรดกทางสถาปัตยกรรมของสาธารณรัฐสังคมนิยมแต่ละประเทศ ในรูปแบบของการเปลี่ยนผ่านสู่ภูมิภาคนิยม[13] ความแตกต่างทางอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ในงานสถาปัตยกรรมของแต่ละเชื้อชาติภายในยูโกสลาเวียนั้นทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ด้วยการกระจายอำนาจขององค์กรอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ที่เคยเป็นศูนย์กลางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ทำให้แต่ละภูมิภาคมีโอกาสมากขึ้นในการคิดวิเคราะห์อย่างจริงจังถึงการแสดงออกทางวัฒนธรรมของตนเอง[3]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ http://architectuul.com/architecture/reconstructio... http://www.artmargins.com/index.php/2-articles/655... http://www.culture.org.mk/eMUSTPASDZ.HTM http://www.kokino.org.mk/home.html http://apps.acsa-arch.org/resources/proceedings/up... //doi.org/10.1080%2F10331867.2015.1032482 //www.worldcat.org/oclc/814446048 http://www.doiserbia.nb.rs/img/doi/1450-569X/2015/... https://www.google.com/books/edition/Nationalism_a... https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/10331...