องค์ประกอบ ของ สถาปัตยกรรมอิสลาม

สวนสวรรค์

ในสถาปัตยกรรมอิสลาม สวนและน้ำเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และด้วยความวิจิตรตระการตานี้มักถูกเปรยบเทียบเป็นสวนของสวรรค์ (paradise garden) แนวคิดนี้เริ่มต้นครั้งแรกในอาณาจักรอะคีเมนิด[5]

ลานอเนกประสงค์ (เศาะหน์)

ลานเศาะหน์ของมัสยิดอัลก็อยรุวาน ตูนิเซียที่อาบน้ำละหมาดของมัสยิดจักรพงษ์ กรุงเทพมหานคร

ลานแบบอิสลามดั้งเดิมเรียกว่า เศาะหน์ (อาหรับ: صَحْن‎)

  • ในที่พักอาศัย ลานมักต้องล้อมด้วยผนังหรือสวนเพื่อความเป็นส่วนตัว โดยทั่วไปใช้ปลูกพืชตกแต่งด้วยน้ำพุเพื่อให้อากาศเย็นลง หรือให้แสงธรรมชาติลอดเข้ามา และที่สำคัญมักปิดมิดชิด เพราะสตรีจะไม่ต้องสวมฮิญาบในเคหสถาน การปิดเพื่อสร้างความส่วนตัวนี้จึงจำเป็นมาก ในขณะเดียวกันก็ต้องผสมผสานให้มีแสงธรรมชาติและความโปร่งประกอบด้วย
  • ในศาสนสถาน (มัสยิด) เศาะหน์เป็นองค์ประกอบหลักหนึ่ง เศาะหน์มักเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำใต้โดมที่ใช้ชำระร่างกายให้สะอาด "ที่อาบน้ำละหมาด"[6] (howz) ในประเทศที่มีอากาศร้อนมาก ๆ อาจพบการสร้างเป็นอาคารโถงแทนที่ลานได้เช่นกัน

การตกแต่ง

ลวดลายแบบ Girih บนกระเบื้องใน Girih at Shah-i-Zinda แห่งเมืองซามาร์คันด์ อุซเบกิสถาน

การตกแต่งแบบอิสลามประกอบด้วยลวดลายเรขาคณิตอิสลาม ลวดลายไขว้อิสลาม ลวดลายดอกไม้อย่างอะราเบสก์ (arabesque) และอักษรวิจิตรอิสลามที่ซับซ้อน ส่วนมากมักแสดงข้อความที่เกี่ยวเนื่องหรือคัดลอกมาจากอัลกุรอาน[7] ด้วยแนวคิดแบบอิสลามที่ไม่ให้บูชารูปปั้น (ขัดหลักศาสนาหรือฮะรอม) การใช้ลวดลายต่าง ๆ รวมถึงการนำคำพูดหรือข้อความมาเขียนอย่างวิจิตรนี้จึงเข้ามาแทนที่และสร้างความสวยงามให้แทน

โครงสร้างอื่น ๆ

กิบละฮ์

กิบละฮ์[6] (อาหรับ: قِبْلَة‎) คือทิศที่หันหน้าไปยังนครเมกกะ จากจุดใดก็ตามบนโลก ทิศกิบละฮ์จึงสำคัญมากในการกำหนดการวางทิศทางของการสร้างมัสยิดทั้งหลัง[9] เมืองอิสลามโบราณและเมียะห์รอบ จะสร้างหันหน้าไปยังทิศนี้ แต่จากการคำนวณในความเป็นจริง ล้วนไม่ได้หันไปในทิศเดียวกันเท่าไร[9] ด้วยว่าการตีความและคำนวณจากเอกสารต่าง ๆ ไม่สามารถระบุที่ตั้งของเมกกะได้อย่างชัดเจน แต่ในปัจจุบันมัสยิดส่วนมากนิยมสร้างโดยอาศัยการคำนวณและเทคโนโลยีที่แม่นยำมากขึ้น ในมัสยิดแห่งแรก ๆ บางแห่งพบการตีความทิศกิบละฮ์เป็นทิศใต้ไปโดยสิ้นเชิง โดยถือเอาว่าเป็นทิศที่มุฮัมมัดหันหน้าขณะละหมาดจากเมืองเมดินาซึ่งอยู่ทางเหนือของเมกกะ[9]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถาปัตยกรรมอิสลาม http://www.islamonline.net/servlet/Satellite?c=Art... //doi.org/10.1177%2F002182869502600305 http://www.gutenberg.org/files/1173/1173-h/1173-h.... http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?b... https://books.google.com/books?id=DBqId4J_sIAC&pg=... https://books.google.com/books?id=ULcsAAAAYAAJ&pri... https://books.google.com/books?id=WXwX7fQ2DkUC&pri... https://books.google.com/books?id=tA9Uuy2cSIcC&pg=... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1995JHA....26..2... https://web.archive.org/web/20070317015153/http://...