ลักษณะที่แตกต่างกันของสถาปัตยกรรม ของ สถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์

จอร์จ มิเชลล์ระบุว่าคัมภีร์เก่าแก่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของฮินดู เช่น พริหัตสัมหิตา (Brihatsamhita) แบ่งวัดออกดป็นห้าระดับตามลักษณะทั่วไป คือ แบบนครา, ทราวิฑา, เวสรา, วงรี และ สี่เหลี่ยม แปลนการสร้างก็แบ่งย่อยออกเป็นทั้งแบบจตุรัส, แปดเหลี่ยม และ ทรงมุขโค้งด้านสกัด ในแต่ละสถาปัตยกรรมมีการสร้างคำศัพท์ต่าง ๆ ขึ้นเป็นของตน บางคำก็ทับซ้อนกันแต่อาจไม่ได้หมายถึงหรือเทียบเทียงกับสิ่งเดียวกันในอีกสถาปัตยกรรม[6] หากแบ่งตามช่วงเวลา แบบคลาสสิก (จนถึงราวศตวรรษที่ 7-8) คือแบบที่เก่าแก่ที่สุด, บ้างเรียกยุคศตวรรษที่ 12-13 ว่าเป็นแบบยุคกลาง

นอกจากแนวคิดทางศาสนา ปรัมปรา และคัมภีร์แล้ว สถาปัตยกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นผลจากนวัตกรรมพื้นถิ่น วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และภูมิอากาศ[7] อาจมีพบวัสดุบางชนิดที่นำเข้ามาจากพื้นที่อื่น แต่ส่วนใหญ่ก็สร้างจากวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ ในบางพื้นที่เช่นกรนาฏกะใต้พบหินจำพวกอ่อน ทำให้สถาปัตยกรรมแบบฮอยศาลามีลักษณะที่ยากจะใช้หินแข็งพวกคริสตัลลีนมาสร้าง[7] บางพื้นที่ก็มีการแกะสลักเข้าไปในภูเขาหินด้วยพื้นที่ที่มีภูมิลักษณะเอื้ออำนวย ในบางพื้นที่ที่ไม่สามารถพบหินสำหรับก่อสร้างได้ทั่วไปก็เกิดการพัฒนาอิฐมาใช้ในการสร้างจำนวนมาก วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นจึงมีผลมากต่อการพัฒนาลักษณะสถาปัตยกรรมเฉพาะของแต่ละแหล่ง[7]

สถาปัตยกรรมทราวิฑและสถาปัตยกรรมนคร

ไฟล์:Nagara Architecture.jpgตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบนคร (อินเดียเหนือ) ตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบทราวิฑ (อินเดียใต้)

ในบรรดาสถาปัตยกรรมที่แตกต่างในอินเดีย สถาปัตยกรรมสองแบบที่พบได้ทั่วไปที่สุดคือ “สถาปัตยกรรมแบบนคร” หรือแบบอินเดียเหนือ และ “สถาปัตยกรรมทราวิฑ” หรือแบบอินเดียใต้[8]

องค์ประกอบ สถาปัตยกรรมนคร[9] สถาปัตยกรรมทราวิฑ[10][11] อ้างอิง
ยอดหอคอยหลักของวัด ศิขร วิมานซึ่งอาจมีหลายชั้น มีศิขรอยู่ด้านบน [12]
ยอดมณฑป ใช่ ไม่ [13]
ห้องบูชาภายใน ชั้นเดียวหรือหลายชั้น ทั่วไปแล้วชั้นเดียว (แต่วิมานอาจมีหลายชั้น) [14]
โคปุระ ไม่โดดเด่น โดดเด่น แต่ไม่ได้บังคับ โดยทั้วไปแล้วสูงกว่าวิมานในราวหลังศตวรรษที่ 10

สถาปัตยกรรมกลิงคะ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ โปรดดู สถาปัตยกรรมกลิงคะ

สถาปัตยกรรมที่พบมากในโอฑิศา และอันธระประเทศเหนือ เรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบกลิงคะ ในโบสถ์พราหมณ์แบบกลิงคะแบ่งรูปแบบออกเป็นสามชนิดที่แตกต่างกันคือ “เรขาดูลา”, “พิธาดูลา” และ “ขัขราดูลา” โดยคำว่า “ดูลา” (Deula) แปลว่า “วัด” ในภาษาพื้นเมือง สองอันแรกนั้นเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ, พระสุริยะ และ พระศิวะ ส่วนแบบหลังนั้นเกี่ยวข้องกับพระจมุนทะ และ พระทุรคา ตัวอย่างสำคัญของเรขดูลาคือวัดลิงคราชและผวัดชังคนาถ ตัวอย่างสำคัญของขัขราดูลาคือไวตัลดูลา ส่วนวัดโกนารักเป็นตัวอย่างสำคัญของพิธดูลา

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์ http://personal.carthage.edu/jlochtefeld/picturepa... https://books.google.com/books?id=5B1QAAAAMAAJ https://books.google.com/books?id=7N7VAAAAMAAJ https://books.google.com/books?id=8-aS52MgIkMC https://books.google.com/books?id=CGukBgAAQBAJ https://books.google.com/books?id=DRY3AQAAIAAJ https://books.google.com/books?id=Hq5BngAACAAJ https://books.google.com/books?id=J3jEJFNxdy4C https://books.google.com/books?id=Jb1Wa_SRNewC https://books.google.com/books?id=Jw79PAAACAAJ