ทุรคา
ทุรคา

ทุรคา

พระแม่ทุรคา (สันสกฤต: दुर्गा ทุรฺคา) หรือ พระแม่มหิษาสุรมรรทินี เป็นปางหนึ่งของพระปารวตี มีความหมายว่า "ผู้เข้าถึงได้ยาก" ไม่ว่าทั้งเทพเจ้า มนุษย์ อสูร แม้แต่พระศิวะ พระพรหม หรือพระวิษณุ ก็ไม่อาจสังหารมหิษาสูรได้ [4] มีเพียงหญิงสาวที่ไม่ได้เกิดอย่างธรรมชาติ และเป็นหนึ่งในอำนาจทั้งหมดของจักรวาล ซึ่งก็คือพระแม่ทุรคา ซึ่งเกิดจากอำนาจทั้งปวงของเหล่าเทพเจ้าในช่วงประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี จะมีการบูชาพระแม่ทุรคาเรียกว่าเทศกาลนวราตรี มีการฉลองถึง ๙ วัน ๙ คืนด้วยกัน ในประเทศไทย งานฉลองนี้จะมีขึ้นประจำทุกปีที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี เขตบางรัก โดยมีการแห่ไปตามท้องถนนในเวลากลางคืนด้วยดอกดาวเรืองและเครื่องบูชาต่าง ๆ

ทุรคา

บุตร - ธิดา พระขันทกุมาร, พระพิฆเนศ, Ashok Sundari
ส่วนเกี่ยวข้อง อาทิปราศักติ, พระสตี, พระปารวตี, Ambika, Katyayani, Kaushiki, ตรีเทวี, Vaishno Devi, Bhagavati
เทศกาล ทุรคาบูชา, Durga Ashtami, นวราตรี, Vijayadashami
คู่ครอง พระศิวะ[3]
อาวุธ จักร, สังข์, ตรีศูล, Gada (กระบอง), ธนู, Khanda (ดาบ) และเกราะ, Ghanta (ระฆัง)
พาหนะ เสือ หรือ สิงโต[2][1]
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต Durgā (\dûr-gā\)[1]
พี่น้อง พระแม่คงคา
พระวิษณุ