พระสตี
พระสตี

พระสตี

พระแม่สตี (สันสกฤต: सती) หรือ พระทากษายณี (สันสกฤต: दाक्षायणी) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู เชื่อว่าเป็นเทวีแห่งการมีอายุยืน เป็นพระชายาองค์แรกของพระศิวะ เมื่อจุติแล้วได้มาเกิดใหม่เป็นพระปารวตีพระแม่สตี เป็นธิดาของพระทักษะ ได้เป็นชายาของพระศิวะ ที่ทรงอวตารลงมาในภาคของมุนีภพ ไว้ผมหนวดเครารุงรัง นำกระดูกมาร้อยเป็นสังวาลสวมคอ นอนตามป่าช้า มีกลิ่นตัวเหม็นสาบ เป็นที่รังเกียจของพระทักษะ แต่ด้วยบารมีของพระแม่สตี จึงมองเห็นรูปกายที่แท้จริงว่าพระมุนีองค์นี้ ว่าเป็นภาคหนึ่งขององค์พระศิวะ[1]ด้วยความรังเกียจ พระทักษะจึงได้ลบหลู่เกียรติของพระศิวะในงานพิธี พระสตีจึงทรงเข้าตบะเพื่อขับเพลิงออกมาจากร่าง เพื่อสังหารพระองค์เอง (บางตำรากล่าวว่าพระนางกระโดดเข้ากองไฟ) ด้วยความพิโรธ พระศิวะทรงส่งอสูรชื่อวีรภัทร ไปทำลายงานพิธี และตัดศีรษะพระทักษะประชาบดี ต่อคืนด้วยหัวแพะที่ใช้บูชายัญในพิธีนั้น พระศิวะทรงเศร้าโศกเสียใจด้วยความรักที่มีต่อพระแม่สตี จึงทรงทรงพาร่างของพระแม่สตีออกไปจนสุดจักรวาล และบำเพ็ญพรตบารมีอยู่เป็นเวลานาน ต่อมาพระนางได้กลับมาเกิดเป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา และเป็นชายาของพระศิวะอีกครั้งในร่างของพระปารวตี[2]ชาวอินเดียที่นับถือพระศิวะและพระแม่ปารวตี มีพิธีกรรมที่เรียกว่าพิธีสตี เมื่อสามีเสียชีวิต ภรรยาจะฆ่าตัวตายตามโดยกระโดดเข้ากองไฟ เพื่อบูชาความรักและการเสียสละของพระแม่สตี ที่มีต่อพระศิวะ ในบางครั้งภรรยาของผู้ตายไม่ยินยอมเข้าพิธีสตี ก็ยังถูกญาติพี่น้องของสามี บังคับให้เผาตัวตายตาม พิธีบูชายัญนี้ถูกระงับไปเมื่ออินเดียตกอยู่ในการปกครองของอังกฤษ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18