สมัยทักษิณ ของ สนธิ_ลิ้มทองกุล

เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร

สัญลักษณ์เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร

จุดเริ่มต้นของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ในขณะนั้น รุ่นน้องของนายสนธิ ได้เข้าไปทำรายการชื่อ "เมืองไทยรายวัน" ณ โมเดิร์นไนน์ทีวี โดยนำเสนอเป็นรายการความรู้ ข่าวสาร และปกิณกะ อยู่ จนกระทั่งเกิดปัญหาทางด้านการเงิน ค้างชำระกับทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี จนในที่สุดรายการก็ถูกถอดออก และรวมเวลาทั้งหมดไปออกอากาศในวันศุกร์แทน ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองไทยรายสัปดาห์" เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 แต่ก็ยังคงนำเสนอเนื้อหาเดิมแบบเมืองไทยรายวัน จนกระทั่งทาง อสมท. ได้ปรับผังใหม่เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 นายสนธิ ลงมาเป็นผู้ดำเนินรายการเอง ร่วมกับ พิธีกรสาว นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์

ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2548 หลังจากที่ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ระงับรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ และถูกฟ้องร้องโดยนายกรัฐมนตรีขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญา เป็นจำนวนเงินรวม 2,000 ล้านบาท ด้วยข้อหาหมิ่นประมาท และดูหมิ่น สนธิได้จัดรายการของตนเองขึ้นมาใหม่ ในชื่อว่า เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร โดยจัดเป็นเวทีนอกสถานที่ ณ หอประชุมเล็ก และ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ลุมพินีสถาน เวทีลีลาศ สวนลุมพินี ทุกคืนวันศุกร์ โดยเนื้อหาของรายการเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นการกล่าวถึงการคอรัปชันของนายกรัฐมนตรี รัฐบาล และเครือญาติมิตร เพียงอย่างเดียว ภายใต้สโลแกน "เราจะสู้เพื่อในหลวง" "ถวายคืนพระราชอำนาจ" และ "ขอเป็นยามเฝ้าแผ่นดิน" ทำให้มีผู้สนใจเข้าชมรายการเป็นจำนวนมาก

รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ได้มีเก็บข้อมูลบทสนทนาในรายการที่ผ่านมาทั้งหมด รวมทั้งเสียงบันทึกรายการ ด้วยระบบออนไลน์ รวบรวมไว้ในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ทำให้ผู้คนเข้าเว็บไซต์เพิ่มขึ้นประมาณเกือบสองเท่า จากประมาณ 80,000 เป็น 150,000 คนต่อวัน นอกจากนี้ ได้มีการแจกฟรีซีดีบันทึกเสียงจากรายการที่ผ่านมา ให้แก่ประชาชนทั่วไป ที่บริเวณหน้าวัดพระแก้วและบริเวณต่างๆ ในเกาะรัตนโกสินทร์ และจัดจำหน่ายวีซีดีบันทึกภาพงาน และเสื้อเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร

ปลายปี พ.ศ. 2548 ทักษิณได้ฟ้องร้องต่อนายสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ ผู้ดำเนินรายการร่วม เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร และพวก เป็นจำนวนเงินสูงถึง 2,000 ล้านบาทและตามมาด้วยคดีอาญามากมาย เพื่อให้หยุดการกล่าวหาเกี่ยวกับ "ปฏิญญาฟินแลนด์" โดยจุดนี้ทำให้ดัชนีเสรีภาพสื่อทั่วโลก (World Press Freedom) ที่จัดอันดับโดย องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders) ตกลงจากอันดับ 59 ไปที่อันดับ 107 [13][14]

นักวิจารณ์หลายคนให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของนายสนธิ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลประโยชน์ของประชาชน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราโชวาทเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ทาง พต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า พรรคไทยรักไทย ได้ดำเนินการสั่งให้ทนาย คือ นายธนา เบญจาธิกุล ไปที่ศาลอาญาและศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ดำเนินการถอนฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพวกทั้งหมด และทางนายสนธิเองก็มิได้ฟ้องกลับแต่อย่างใด

การต่อต้านทักษิณ

สนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทุกคน มีกำหนดการที่จะเดินขบวนต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ในวันนั้นเอง ก่อนที่จะมีเดินขบวน ปรากฏว่ามีข่าวลือว่าจะมีเหตุการณ์นองเลือด อย่างไรก็ตาม วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลทักษิณ และยุบสภา และยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกเนรเทศออกไปอย่างไม่มีกำหนด และสมาชิกหลายคนในคณะรัฐมนตรีของเขาถูกเรียกตัวไปสอบสวน แกนนำพันธมิตรจึงประกาศยกเลิกกรประท้วงในครั้งนั้น และประกาศสลายตัวไประยะหนึ่ง

สนธิสนับสนุนการรัฐประหาร และหลังจากนั้นเดินทางไปทัวร์ยัง ลอนดอน วอชิงตัน ดี.ซี. และนิวยอร์ก เพื่อไปเฉลิมฉลองกับพันธมิตรฯ ที่อยู่ต่างประเทศ[15] ในระหว่างที่เขาเดินทางนั้น เขายังได้เพิ่มเงินกองทุน IPO เพื่อธุรกิจดาวเทียมของเขาด้วย และชี้แจงว่าเขาได้ใช้เงินเกือบ 420 ล้านบาทที่ได้มาจากการประท้วงของพันธมิตรฯ เขาประกาศทีหลังว่าจุดเน้นทางการเมืองของเขานั้น จะเป็นการให้การศึกษากับสงคมไทยเกี่ยวกับสิ่งที่ พ.ต.ท. ทักษิณเคยสร้างความเลวร้ายกับประเทศในช่วงที่ยังบริหารประเทศ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ สนธิจัดรายการ "ยามเฝ้าแผ่นดิน" เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ที่รับเงินบริจาคจากกลุ่มพันธมิตรฯ เขาประกาศว่าเขาจะยุติบทบาทต่อสาธารณะภายใน 5 ปี

สนธิต่อต้านรัฐบาลทหารหลังจากแต่งตั้งคนในรัฐบาลทักษิณเข้ามาอยู่ในคณะรัฐมนตรี

เขาขอโทษ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ลูกพี่ลูกน้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในศาลทีหลังที่ไปกล่าวหาว่า ตระกูล "ชินวัตร" และ "ดามาพงษ์" ได้ปล้นชาติ ต่อมา พล.อ.ชัยสิทธิ์ถอนฟ้องสนธิ ศาลแถลงว่าโดยการกล่าวหาทั้งตระกูลนั้น สนธิไม่สามารถฟ้องร้องได้ ซึ่งเป็นตัวอย่างของระบบกฎหมายที่แปลกประหลาดของประเทศไทย[16]

เป็นผลตอบแทนสำหรับสิ่งที่สนับสนุนเขา สนธิถูกเชิญโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ให้ไปออกรายการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองทางช่อง 11[17]

ผู้ประท้วงที่ต้อต้านรัฐบาลทหารเริ่มเคลื่อนไหวหลังเหตุการณ์รัฐประหารเพียงไม่กี่เดือน สนธิและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดินขบวนสนับสนุนรัฐบาลทหาร และเรียกร้องให้กองทัพใช้สื่อของรัฐเพื่อเตือนให้ประชาชนรับรู้ถึงความชั่วร้ายของผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลทหาร[18]

ใกล้เคียง

สนธิ สนธิ บุญยรัตกลิน สนธิ ลิ้มทองกุล สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สนธิ_ลิ้มทองกุล http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=98... http://www.managerradio.com/Radio/DetailRadio.asp?... http://www.naewna.com/news.asp?ID=81724 http://nationmultimedia.com/2007/01/15/headlines/h... http://nationmultimedia.com/2007/07/23/politics/po... http://nationmultimedia.com/option/print.php?newsi... http://blog.nationmultimedia.com/print.php?id=8872 http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%... http://www.youtube.com/watch?v=QfzrFqn_GFc http://www.hartwick.edu/x11069.xml