สนธิสัญญาเจย์
สนธิสัญญาเจย์

สนธิสัญญาเจย์

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งสนธิสัญญาเจย์ หรือ สนธิสัญญาบริติช หรือ สนธิสัญญาลอนดอน ค.ศ. 1794 (อังกฤษ: Jay Treaty หรือ Jay's Treaty หรือ The British Treaty หรือ Treaty of London of 1794[1]) คือสนธิสัญญาระหว่างสหรัฐอเมริกา และ เกรตบริเตนที่ทำขึ้นเพื่อการหลีกเลี่ยงการเกิดสงครามระหว่างคู่สัญญา[2] และแก้ปัญหาหลายประเด็นที่ยังคงตกค้างอยู่หลังจากการปฏิวัติอเมริกา[3] และเป็นการเปิดโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าในบรรยากาศของความมีสันติระหว่างทั้งสองประเทศท่ามกลางสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส[4] แม้ว่าสนธิสัญญาเจย์จะเป็นสนธิสัญญาที่ได้รับการประท้วงอย่างรุนแรงโดยกลุ่มเจฟเฟอร์สันนิยม (Jeffersonian political philosophy) แต่ก็ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา และกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญของการก่อตั้งระบบปฐมพรรค (First Party System) สนธิสัญญาได้รับการลงนามกันในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1794 แต่มิได้มีผลบังคับใช้จนกระทั่งวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1796เนื้อหาของข้อตกลงส่วนใหญ่ร่างขึ้นโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตันโดยได้รับการเห็นชอบอย่างเต็มที่โดยประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตันและจอห์น เจย์ผู้นำในการเจรจา สนธิสัญญาหลีกเลี่ยงสงครามและเพิ่มความสัมพันธ์ทางการค้าขายซึ่งนำความพอใจมาให้แก่ทั้งสองฝ่าย เจย์สามารถเจรจาตกลงได้สิ่งที่สหรัฐอเมริกาต้องการได้สำเร็จ ที่รวมทั้งการถอนตัวของบริเตนจากที่ตั้งมั่นต่างๆ ในดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Territory) ของสหรัฐอเมริกา ที่ฝ่ายบริเตนเคยสัญญาว่าจะถอนตัวมาตั้งแต่ ค.ศ. 1783 หนี้สงครามและเขตแดนระหว่างสหรัฐและแคนาดาได้รับการส่งให้ตัดสินโดยการอนุญาโตตุลาการ (arbitration) ซึ่งเป็นการใช้อนุญาโตตุลาการครั้งใหญ่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การทูต นอกจากนั้นฝ่ายสหรัฐอเมริกายังได้รับสิทธิบางส่วนในการค้าขายกับดินแดนของบริติชในอินเดียและแคริบเบียนเป็นการแลกเปลี่ยนกับการจำกัดการส่งออกของฝ้ายโดยสหรัฐอเมริกาสนธิสัญญาหลีกเลี่ยงสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นโดยการที่สาระสำคัญกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของหัวใจของนโยบายทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา โดยมีทอมัส เจฟเฟอร์สัน และ เจมส์ แมดิสันเป็นผู้นำของฝ่ายค้าน ผู้มีความหวาดระแวงว่าความผูกพันทางเศรษฐกิจกับบริเตนจะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พรรคเฟเดอรัลลิสต์ (Federalist Party) สนธิสัญญาสร้างสัมพันธไมตรีทางการค้าระหว่างทั้งสองประเทศเป็นเวลาราวสิบปีก่อนที่จะมายุติลงในปี ค.ศ. 1803 เนื้อหาหลักของสนธิสัญญาหมดอายุลงหลังจากสิบปี ความพยายามที่จะทำความตกลงกันใหม่ประสบความล้มเหลวในปี ค.ศ. 1806 สหรัฐไม่ยอมรับสนธิสัญญามอนโร-พิงค์นีย์เมื่อความตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศเพิ่มตัวขึ้นจนในที่สุดก็ก่อตัวขึ้นเป็นสงคราม ค.ศ. 1812[5]

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)