ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ของ สนมเอกสี่ทิศ

วรรณกรรม

มีการกล่าวถึง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" ในโคลงกำสรวลสมุทร และ โคลงทวาทศมาส ถือเป็นนางในนิราศที่ได้รับเกียรติยกย่องอย่างสูง สุจิตต์ วงษ์เทศสันนิษฐานว่าเป็นพระราชนิพนธ์กษัตริย์อยุธยาพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง[14] เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ว่าน่าจะเป็นของสมเด็จพระบรมราชาที่ 3[19]

กำสรวลสมุทรและทวาทศมาศ
๏ หน้าเจ้าชู้ช้อยฉาบแรมรัก
สาวสื่อมาพลางลืมแล่นไห้
บาศรีจุฬาลักษณ์เสาวภาคย์ กูเอย
เรียมเรียกฝูงเข้าใกล้สั่งเทา ฯ
๏ เดชานุภาพเรื้องอารักษ์ ท่านฮา
รักเทพจำสารโดยบอกบ้าง
บาศรีจุฬาลักษณ์ยศยิ่ง พู้นแม่
ไปย่อมโหยไห้อ้างโอ่สาร ฯ
กำสรวลสมุทร
๏ อาณาอาณาศเพี้ยงเพ็ญพักตร์
อกก่ำกรมทรวงถอนถอดไส้
ดวงศรีจุฬาลักษณ์เฉลิมโลก กูเอย
เดือนใหม่มามาได้โสกสมร ฯ
ทวาทศมาส

และปรากฏบทโต้ตอบระหว่างท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับศรีปราชญ์ กวีเอกในรัชกาล ที่นางมองเขาอย่างเหยียดหยาม ความว่า[19]

บทโต้ตอบระหว่างท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) กับศรีปราชญ์
๏ หะหายกระต่ายเต้นชมจันทร์
มันบ่เจียมตัวมันต่ำต้อย
นกยูงหากกระสันถึงเมฆ
มันบ่เจียมตัวน้อยต่ำต้อยเดียรฉาน ฯ
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม)
๏ หะหายกระต่ายเต้นชมแข
สูงส่งสุดตาแลสุดฟ้า
ระดูฤดูแดสัตว์สู่ กันนา
อย่าว่าเราเจ้าข้าอยู่พื้นเดียวกัน ฯ
ศรีปราชญ์

นอกจากนี้นางนพมาศ ที่ปรากฏใน เรื่องนางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ก็ว่ามียศเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ในพระร่วงเจ้าพระองค์หนึ่ง เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[20][21][22] ซึ่งมีเนื้อหาว่านางนพมาศบอกเล่าถึงความเป็นไปภายในรัฐสุโขทัยว่ามีความเจริญรุ่งเรืองสมบูรณ์พูนสุขนานัปการ ในรัฐมีคนต่างชาติต่างภาษาและศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกัน และเรื่องที่เด่นที่สุดคือการที่นางประดิษฐ์กระทงขึ้นมา[20]

ภาพยนตร์