ความตื่นตัวและความชอบใจ ของ สภาวะตื่นตัว

เมื่อประสบกับตัวกระตุ้น ความตื่นตัวในบุคคลหนึ่งอาจจะบ่งบอกถึงความชอบใจในบุคคลนั้น งานวิจัยหนึ่งพบว่า บุคคลมักจะชอบใจตัวกระตุ้นที่คุ้นเคยมากกว่าที่ไม่คุ้นเคย ผลงานนี้บอกเป็นนัยว่า การประสบกับตัวกระตุ้นที่ไม่คุ้นเคยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการหลีกเลี่ยง คือ ตัวกระตุ้นที่ไม่คุ้นเคยอาจจะนำไปสู่ความตื่นตัวที่สูงขึ้นและพฤติกรรมหลีกเลี่ยงในระดับที่สูงขึ้น[16]

มีงานวิจัยที่แสดงผลตรงกันข้ามว่า ความตื่นตัวที่สูงขึ้นสามารถเพิ่มพฤติกรรมการเผชิญหน้าเช่นกัน มนุษย์ทำการตัดสินใจที่เป็นไปตามสภาวะอารมณ์ คือจะเลือกทางที่นำไปสู่อารมณ์ที่ชอบใจกว่า[17]

เมื่อบุคคลมีความตื่นตัว บุคคลนั้นอาจจะพิจารณาว่า มีเหตุการณ์ต่างๆ ในวงกว้างกว่าที่น่าสนใจ[18] และพิจารณาการตัดสินใจว่าชัดเจนกว่า ซึ่งมีอิทธิพลโดยเฉพาะในสภาวะขัดแยังกันของการเผชิญหน้าและการหลีกเลี่ยง (approach-avoidance conflict[19])[17] สภาวะที่ตื่นตัวอาจจะทำให้บุคคลนั้นพิจารณาการตัดสินใจอย่างหนึ่งในทางบวกมากกว่าสภาวะที่ตื่นตัวน้อยกว่า

ทฤษฎีพลิกกลับ (reversal theory[20]) อธิบายความชอบใจในความตื่นตัวระดับสูงและระดับต่ำในสถานการณ์ต่างๆ กัน ความตื่นตัวระดับสูงและระดับต่ำอาจจะก่อให้เกิดความพอใจหรือไม่พอใจก็ได้ ขึ้นอยู่กับอารมณ์และเป้าหมายของบุคคลนั้นในเวลานั้นๆ [21]

ใกล้เคียง

สภาวะเห็นทั้งบอด สภาวะตื่นตัว สภาวะโลกร้อน สภาวะสมดุลอุทกสถิต สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน สภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว สภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา สภาวะกระโดดที่ผิวหนัง สภาวะกรด สภาวะแวดล้อม