ความตื่นตัวและบุคคลิกภาพ ของ สภาวะตื่นตัว

การใส่ใจสิ่งภายนอก และการใส่ใจสภาวะจิตภายใน

ทฤษฎีความตื่นตัวของฮันส์ ไอเซงค์พรรณนาถึงวงจรธรรมชาติของสภาวะความตื่นตัวในสมองของผู้ใส่ใจภายใน[3] เปรียบเทียบกับผู้ใส่ใจภายนอก[2] และกำหนดว่า สมองของผู้ใส่ใจภายนอกถูกกระตุ้นน้อยกว่าโดยธรรมชาติ ดังนั้น ผู้มีบุคคลิกอย่างนี้จึงมีความโน้มเอียงไปในการแสวงหาสถานการณ์ และเข้าไปมีส่วนร่วมในพฤติกรรม ที่จะกระตุ้นความตื่นตัว[7]

ดังนั้น ผู้ใส่ใจภายในเป็นผู้มีการกระตุ้นเกินส่วนโดยธรรมชาติ และเพราะเหตุนั้น จึงหลีกเลี่ยงการกระตุ้นความตื่นตัวที่รุนแรง เปรียบเทียบกับผู้ใส่ใจภายนอกผู้มีการกระตุ้นน้อยไปโดยธรรมชาติ และเพราะเหตุนั้น จึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ปลุกความตื่นตัว แคมป์เบลล์และฮอลีย์ (ค.ศ. 1982) ศึกษาความแตกต่างระหว่างการตอบสนองของผู้ใส่ใจภายในและผู้ใส่ใจภายนอก ในเขตที่ทำงานในห้องสมุด[7] งานวิจัยนั้นพบว่า ผู้ใส่ใจภายในมักเลือกเขตที่สงบที่มีเสียงและมีคนน้อยหรือไม่มี ผู้ใส่ใจภายนอกมักเลือกเขตที่มีกิจกรรมกำลังเป็นไปอยู่ ที่มีเสียงและมีคนมากกว่า[7]

งานวิจัยของดาอูสซิสส์และแม็คเคลวี (ค.ศ. 1986) แสดงว่าผู้ใส่ใจภายใน ทำงานที่เกี่ยวข้องกับความจำแย่กว่าเมื่อมีเพลงเปิดเทียบกับที่ไม่มี ส่วนผู้ใส่ใจภายนอกได้รับอิทธิพลน้อยกว่าจากการเปิดเพลง[7] และโดยคล้ายๆ กัน เบลอเจวิค สเล็ปเซวิค และโจคอฟล์เจวิค (ค.ศ. 2001) พบว่า ผู้ใส่ใจภายในมีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิและความเหนื่อยหล้ามากกว่าในการประมวลผลทางใจ เมื่อทำงานในที่มีเสียงหรือมีสิ่งรบกวนอย่างอื่น[7] ระดับของตัวกระตุ้นต่างๆ ที่มีอยู่รอบๆ มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อสมรรถภาพการทำงานและต่อพฤติกรรม โดยผู้ใส่ใจภายในจะรับอิทธิพลมากกว่าเพราะถูกกระตุ้นมากกว่าโดยธรรมชาติ และผู้ใส่ใจภายนอกจะรับอิทธิพลน้อยกว่าเพราะถูกกระตุ้นน้อยกว่าโดยธรรมชาติ

เสถียรภาพของอารมณ์และการใส่ใจภายในภายนอก

Neuroticism[8] หรือ อเสถียรภาพทางอารมณ์ และการใส่ใจภายนอก เป็นองค์สองอย่างในลักษณะของบุคคลิกภาพใหญ่ห้าอย่าง องค์ประกอบสองอย่างของบุคคลิกภาพนี้กำหนดพฤติกรรมและการตอบสนองของบุคคล ต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกในสิ่งแวดล้อม ทั้งที่มีความสำคัญและไม่มีความสำคัญ

ผู้มีอเสถียรภาพทางอารมณ์ย่อมประสบการปลุกความตื่นตัวแบบตึงเครียด มีลักษณะคือความตึงเครียดและความกังวลใจ ส่วนผู้ใส่ใจภายนอก[2]ย่อมประสบการปลุกความตื่นตัวที่ให้พลัง มีลักษณะคือความกระฉับกระเฉงและมีพลัง[9]

ส่วนเกรย์ (ค.ศ. 1981) ยืนยันว่า ผู้ใส่ใจภายนอกมีความใส่ใจต่อผลดีมากกว่าผลเสีย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใส่ใจภายใน ความหวังในผลดีเป็นการเพิ่มพลังให้[9] ดังนั้น ผู้ใส่ใจภายนอกปกติมีความตื่นตัวที่มีพลังสูงกว่า เพราะเหตุที่มีความใส่ใจผลบวกที่มากกว่า

ใกล้เคียง

สภาวะเห็นทั้งบอด สภาวะตื่นตัว สภาวะโลกร้อน สภาวะสมดุลอุทกสถิต สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน สภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว สภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา สภาวะกระโดดที่ผิวหนัง สภาวะกรด สภาวะแวดล้อม