ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ ของ สมมุติฐานเฉพาะกิจ

นักวิทยาศาสตร์มักจะไม่ค่อยให้ความเชื่อถือกับทฤษฎีที่ต้องมีการแก้ไขบ่อย ๆ โดยไม่มีเหตุผลที่ดีนี้เป็นเพราะว่า เจ้าของทฤษฎีนั้นสามารถเลือกที่จะต่อเติมทฤษฎีของตนโดยการเพิ่มใส่สมมุติฐานเฉพาะกิจโดยไม่จำกัด เพื่อที่จะให้ทฤษฎีนั้นเข้ากับหลักฐานที่ปรากฏได้ดังนั้น แม้ว่า ทฤษฎีนั้นอาจจะมีความซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ แต่ว่า ก็จะยังตรงกับความจริงและย่อมทำให้เกิดผลเสียว่า ความสามารถในการทำนายเหตุการณ์ที่ทฤษฎีนั้นควรจะทำนายได้ จะมีสมรรถภาพลดลง[1] ประเด็นความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์เทียมเช่นความสามารถในการรับรู้เหนือมนุษย์ (extrasensory perception ตัวย่อว่า ESP) มักจะต้องอาศัยสมมุติฐานเฉพาะกิจ เพื่อที่จะรักษาทฤษฎีนั้น ๆ ให้สอดคล้องกับหลักฐานที่ปรากฏ[3]

ให้สังเกตว่า สมมุติฐานเฉพาะกิจไม่ใช่ว่าจะไม่ถูกเสมอไป ในกรณีเกี่ยวกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง บางครั้ง การเสริมแก้ทฤษฎีนั้นเพียงเล็กน้อยก็สามารถจะทำให้ทฤษฎีนั้นสมบูรณ์ขึ้นได้ยกตัวอย่างเช่น การเติมค่าคงตัว cosmological constant ให้กับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์เพื่อที่จะให้ทฤษฎีสอดคล้องกับเอกภพที่ไม่หดไม่ขยายได้ ก็เป็นการเสริมแก้ "เฉพาะกิจ"และถึงแม้ว่า ไอน์สไตน์ภายหลังได้กล่าวว่า การเพิ่มค่าคงตัวนั้นเป็นความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา แต่ว่า จริง ๆ แล้ว การเพิ่มค่านั้นอาจทำให้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเข้ากับทฤษฎีเกี่ยวกับพลังงานมืดได้[4]

เพื่อที่จะลดการสร้างสมมุติฐานเฉพาะกิจในกระบวนการวิทยาศาสตร์ วิธีหนึ่งที่ใช้ก็คือกระบวนการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จนั่นก็คือเมื่อทฤษฎีนั้นมีข้อมูลหลักฐานที่พิสูจน์ว่าเป็นเท็จ หรือว่า มีการเพิ่มสมมุติฐานเฉพาะกิจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทฤษฎีนั้นก็จะมีโอกาสถูกปฏิเสธเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน

ใกล้เคียง

สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ สมมุติว่า..? (ฤดูกาล 1) สมมุติว่า..? สมมุติว่า..? (ฤดูกาล 2) สมมุติฐานเฉพาะกิจ สมมุติฐานว่าง สมมุติฐานการฟื้นตัวทางสังคม สมมุติฐาน สมมุติสงฆ์