สมัยการบูรณะ
สมัยการบูรณะ

สมัยการบูรณะ

สมัยการบูรณะ หรือ Reconstruction era เป็นยุคสมัยหนึ่งของประวัติศาสตร์สหรัฐ หลังสมัยสงครามกลางเมืองอเมริกา (ค.ศ.1861-1865) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ค.ศ. 1865 ถึง 1877 และเป็นสมัยสำคัญของประวัติศาสตร์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา การฟื้นฟู หรือ การบูรณะ ดำเนินตามรัฐสภาสหรัฐ การเลิกทาสและปิดฉากเศษซากของการแยกตัวออกจากสหรัฐของสมาพันธรัฐในมลรัฐภาคใต้ ได้มีการประกาศให้ทาสมีเสรีภาพ (เสรีชน; คนผิวดำ) และความเป็นพลเมืองที่มีสิทธิพลเมืองเท่าเทียมกับคนผิวขาว (อย่างเห็นได้ชัด) สิทธิเหล่านี้ได้รับการรับรองจากการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญข้อที่ 13 ข้อที่ 14 และข้อที่ 15 มักถูกเรียกโดยรวมว่า บทบัญญัติรัฐธรรมนูญสมัยการบูรณะ สมัยสมัยการบูรณะ ยังหมายถึงความพยายามหลักๆ ของรัฐสภาสหรัฐในการเปลี่ยนสภาพ 11 รัฐของอดีตสมาพันธรัฐอเมริกา เข้าเปลี่ยนผ่านสู่สหภาพหลังจากการลอบสังหารอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีผู้นำพรรคริพับลิกันเข้าต่อต้านระบบทาสและต่อสู้ในสงครามกลางเมือง รองประธานาธิบดีแอนดรูว์ จอห์นสันได้สืบตำแหน่งประธานาธิบดี เขาเป็นฝ่ายสหภาพที่โดดเด่นทางตอนใต้ แต่ในไม่ช้าเขากลับไปนิยมชมชอบอดีตฝ่านสมาพันธรัฐและกลายเป็นผู้นำในการต่อต้านพวกเสรีชนและพวกพันธมิตรรีพับลิกันหัวรุนแรง ความตั้งใจของเขาคือความพยายามให้รัฐทางใต้กลับมาเป็นอิสระในการตัดสินใจเรื่องสิทธิ (และชะตากรรม) ของอดีตทาส ในขณะที่คำปราศรัยสุดท้ายของลินคอล์นได้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่สำหรับการบูรณะ รวมถึงการเสนอให้เสรีชนมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนจอห์นสันกับพรรคเดโมแครตยืนกรานต่อต้านวัตถุประสงค์ดังกล่าวนโยบายสมัยการบูรณะของจอห์นสันโดยทั่วไปนั้นคว้าชัยชนะจนถึงการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา ค.ศ. 1866 แต่หลังจากนั้น 1 ปี มีการโจมตีคนผิวดำในภาคใต้อย่างรุนแรง เหตุการณ์เหล่านี้รวมถึงการจลาจลเมมฟิส ค.ศ. 1866 เดือนพฤษภาคมและการสังหารหมู่นิวออร์ลีนส์ ค.ศ. 1866 เดือนกรกฎาคม ผลการเลือกตั้งในปี 1866 นั้น พรรครีพับลิกันถือเสียงข้างมากในรัฐสภา พวกเขาจึงใช้อำนาจในการผลักดันบทบัญญัติรัฐธรรมนูญข้อที่ 14 รัฐสภาได้ใช้ระบอบสหพันธรัฐในการสร้างการคุ้มครองสิทธิเท่าเทียมกันและยุบสภานิติบัญญัติของฝ่ายกบฏ โดยกำหนดให้มีการใช้รัฐธรรมนูญมลรัฐฉบับใหม่ทั่วทั้งภาคใต้ ซึ่งสิทธิพลเมืองของพวกเสรีชน ฝ่ายริพับลิกันหัวรุนแรงในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ผิดหวังในการที่ประธานาธิบดีจอห์นสันต่อต้านแนวทางการบูรณะของรัฐสภา พวกเขาจึงยื่นฟ้องให้ขับแอนดรูว์ จอห์นสันออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ก็พ่ายแพ้เพียงแค่คะแนนเสียง 1 เสียงของวุฒิสภา กฎหมายสมัยการบูรณะแห่งชาติฉบับใหม่ได้ปลุกเร้าความโกรธแค้นของคนผิวขาวในภาคใต้ นำมาสู่การก่อกำเนิดคูคลักซ์แคลน กลุ่มแคลนข่มขู่ คุกคาม และสังหารสมาชิกพรรครีพับลิกันและเสรีชนที่ออกมาพูด ตลอดจนอดีตฝ่ายสมาพันธรัฐด้วย รวมถึงเจมส์ เอ็ม. ฮินส์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐอาร์คันซอ ก็ถูกลอบสังหารรัฐบาลผสมของพรรครีพับลิกันเข้ามามีอำนาจและมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมในเกือบทุกรัฐที่เคยเป็นฝ่ายสมาพันธรัฐ สำนักเสรีชนและกองทัพบกสหรัฐ ทั้งสองมีเป้าหมายที่จะใช้เศรษฐกิจแรงงานเสรีเพื่อทดแทนเศรษฐกิจแรงงานทาสที่มีจวบจนสิ้นสงครามกลางเมือง สำนักได้ปกป้องสิทธิตามกฎหมายของเสรีชน การเจรจาสัญญาจ้างงาน และช่วยสร้างเครือข่ายโรงเรียนและโบสถ์ ชาวภาคเหนือหลายพันคนเดินทางมาภาคใต้ในฐานะครูสอนศาสนาและครูอาจารย์ เช่นเดียวกับนักธุรกิจและนักการเมืองเพื่อทำงานในโครงการฟื้นฟูสังคมและเศรษฐกิจ คำว่า "คาร์เพทแบ็กเกอร์" กลายเป็นคำเยาะเย้ยที่ใช้โจมตีผู้สนับสนุนการบูรณะซึ่งเดินทางจากภาคเหนือมายังภาคใต้ หลังได้รับเลือกตั้งในค.ศ. 1868 ประธานาธิบดียูลิสซีส เอส. แกรนต์จากพรรครีพับลิกันสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูของรัฐสภา และบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาในภาคใต้ ผ่านรัฐบัญญัติการบังคับใช้ที่เพิ่งผ่านรัฐสภามาไม่นานนัก แกรนต์ใช้มาตรการในการปราบปรามคูคลักซ์แคลน พวกแคลนกลุ่มแรกได้ถูกกวาดล้างอย่างสิ้นซากในค.ศ. 1872 นโยบายและข้อกำหนดของแกรนต์ถูกออกแบบมาเพื่อรวมการบูรณาการไว้ที่รัฐบาลกลาง สร้างสิทธิเท่าเทียม การอพยพเคลื่อนย้ายของคนผิวสี และรัฐบัญญัติสิทธิพลเมือง ค.ศ. 1875 อย่างไรก็ตาม แกรนต์ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นภายในพรรครีพับลิกัน ระหว่างรีพับลิกันเหนือและรีพับลิกันใต้ (กลุ่มหลังมักถูกเรียกว่า "สกาลาแวก" โดยพวกที่ต่อต้านการบูรณะ) ในขณะที่กลุ่มกลุ่มพระผู้ไถ่คนขาว และกลุ่มบูร์บงเดโมแครตภาคใต้ ต่อต้านกระบวนการบูรณะอย่างมาก[2]ในที่สุดการสนับสนุนนโยบายการบูรณะอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือก็ลดน้อยลง ฝ่ายรีพับลิกันกลุ่มใหม่เกิดขึ้นโดยต้องการให้กระบวนการบูรณะยุติลงและกองทัพจะต้องถอนตัว กลุ่มใหม่นี้คือ พรรคเสรีนิยมรีพับลิกัน หลังจากเกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ค.ศ. 1873 พรรคเดโมแครตได้ฟื้นตัวและสามารถเข้ามาควบคุมสภาผู้แทนราษฎรได้อีกครั้งในค.ศ. 1874 พวกเขาเรียกร้องให้ยุติสมัยการบูรณะทันที ในค.ศ. 1877 มีการเจรจาจากเหตุการณ์การประนีประนอม ค.ศ. 1877 ให้มีการเลือกพรรครีพับลิกันเป็นประธานาธิบดี อันเนื่องมาจากข้อพิพาทจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 1876 จึงมีการกำหนดให้กองทัพกลางต้องถอนทหารออกจากสามรัฐที่ได้ไปประจำการอยู่ (เซาท์แคโรไลนา, ลุยเซียนา และฟลอริดา) เหตุการณ์นี้นำมาซึ่งจุดจบของสมัยการบูรณะนักประวัติศาสตร์หลายคนได้บรรยายถึงสมัยการบูรณะว่ามี "ข้อบกพร่องและความล้มเหลว" มากมาย รวมถึงความล้มเหลวในการปกป้องคนผิวดำเสรีชนจำนวนมาก จากความรุนแรงของคูคลักซ์แคลนช่วงก่อนค.ศ. 1871 และไม่สามารถช่วยเหลือพวกเขาจากความอดอยาก โรคระบาดและความตาย และการปฏิบัติต่ออดีตทาสอย่างทารุณโดยทหารของสหภาพ ในขณะเดียวกันก็มีการชดเชยให้แก่อดีตเจ้าของทาส แต่กลับปฏิเสธที่จะชดเชยให้แก่อดีตทาส[3] อย่างไรก็ตาม สมัยการบูรณะประสบความสำเร็จในเบื้องต้นสี่ประการ ได้แก่ การฟื้นฟูระบอบสหพันธรัฐ การแก้แค้นโดยตรงเล็กน้อยต่อภาคใต้หลังสงคราม การที่คนผิวสีสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สิน และการสร้างสัญชาติตลอดจนกรอบการทำงานเพื่อความเท่าเทียมทางกฎหมายในท้ายที่สุดแม่แบบ:Sfnmp

สมัยการบูรณะ

เหตุการณ์สำคัญ สำนักเสรีชน
การลอบสังหารอับราฮัม ลินคอล์น
การจัดตั้งคูคลักซ์แคลน
รัฐบัญญัติการบูรณะ
การฟ้องให้ขับแอนดรูว์ จอห์นสันออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี
รัฐบัญญัติการบังคับใช้
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญสมัยการบูรณะ
การประนีประนอม ค.ศ. 1877
การปกครอง สหพันธ์สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ ระบบประธานาธิบดี ได้แก่
อับราฮัม ลินคอล์น
แอนดรูว์ จอห์นสัน
ยูลิสซีส เอส. แกรนต์
รัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์
ถัดไป สมัยแห่งทองคำเปลว
จิมโคร์ว
จุดตกต่ำสุดของความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติอเมริกัน
รวมถึง สถานที่สหรัฐอเมริกา
ภาคใต้ของสหรัฐ
ก่อนหน้า สงครามกลางเมืองอเมริกา
สมาพันธรัฐอเมริกา

ใกล้เคียง

สมัยการบูรณะ สมัยกลางตอนต้น สมัยกลาง สมัยกลางตอนปลาย สมัยการย้ายถิ่น สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงธนบุรี สมัยการปกครองส่วนพระองค์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมัยการบูรณะ http://www.americanheritage.com/content/if-lincoln... http://www.bartleby.com/43/42.html http://histclo.com/essay/war/cwa/recon.html http://www.history.com/topics/reconstruction http://cdl.library.cornell.edu/cgi-bin/moa/moa-cgi... http://ir.lawnet.fordham.edu/cgi/viewcontent.cgi?a... http://srufaculty.sru.edu/m.matambanadzo/readings/... http://www.presidency.ucsb.edu/ws/?pid=29579 http://tigger.uic.edu/~rjensen/recon.htm http://www.hti.umich.edu/cgi/t/text/text-idx?c=moa...