บทบาททางการเมือง ของ สมเด็จกรมพระนโรดม_รณฤทธิ์

สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ทรงเป็นอดีตหัวหน้าพรรคฟุนซินเปก (FUNCINPEC) และเคยดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ร่วมกับสมเด็จ ฮุน เซน ภายหลังการเลือกตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 ที่พรรคฟุนซินเปกชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น และมีการสถาปนาระบอบกษัตริย์ขึ้นมาใหม่

ในการเลือกตั้งทั่วไป เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 พรรคฟุนซินเปกแพ้การเลือกตั้ง แต่ พรรคประชาชนกัมพูชาของนายฮุนเซน ก็ได้รับชัยชนะที่ไม่เด็ดขาด เนื่องจากไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมาก 2 ใน 3 พอจัดตั้งรัฐบาลตามกฎหมาย ทำให้เกิดสภาพสุญญากาศทางการเมืองในกัมพูชา ที่มี นายฮุนเซน เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ มาจนถึงปี 2547 จึงสามารถตกลงจัดตั้งรัฐบาลกันได้ โดยในที่สุดนายฮุนเซนได้เป็น นายกรัฐมนตรี และ กรมพระรณฤทธิ์ ทรงเป็น ประธานสภาผู้แทนราษฎร

หลังจากนั้นมีเหตุให้กรมพระรณฤทธิ์ต้องทรงลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ โดยพำนักอยู่ในประเทศฝรั่งเศส หลังจากต้องคดีหมิ่นประมาทสมเด็จฯ ฮุนเซน และมีโทษจำคุก เมื่อกรมพระรณฤทธิ์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในประเทศได้แล้ว รัฐสภากัมพูชาจึงได้มีการจัดประชุมและเลือกนายเฮง สัมริน จากพรรคประชาชนกัมพูชาของนายฮุน เซน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร แทนกรมพระรณฤทธิ์

หลังเหตุการณ์ดังกล่าว กรมพระรณฤทธิ์ ทรงย้ายไปพำนักอยู่ที่ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กับพระชายาองค์ใหม่ที่อ่อนวัยกว่าประมาณ 40 ปี คือนักนาง อุ๊ก พัลลา (Ouk Palla) อดีตนาฏศิลปิน และดาราภาพยนตร์สาวสวย พร้อมทั้ง เจ้าชายสุธาฤทธิ์ พระโอรสองค์เล็ก

ต่อมาเจ้าหญิงนโรดมมารี หรือ นักนาง เอ็ง มารี (Eng Marie) พระชายาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้ใช้กฎหมาย "ห้ามมีชู้" ที่เพิ่งผ่านรัฐสภากัมพูชา ฟ้องร้องดำเนินคดีกับพระองค์ กรณีมีพระชายาใหม่คือ หม่อมอู๊กพัลลา ทั้งที่ยังไม่ได้หย่าขาดกับพระชายาเดิม คดีดังกล่าวมีโทษจำคุก

ในวันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2549 รัฐสภากัมพูชา ที่พรรคประชาชนกัมพูชา ครองเสียงข้างมาก ได้ลงมติรับรองการปรับคณะรัฐมนตรีโดย นายฮุนเซน ซึ่งมีการปลดรัฐมนตรีของ พรรคฟุนซินเปก จำนวน 10 นายออกจากการร่วมรัฐบาล

หลังจากนั้นในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ทรงถูกลงมติขับออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคฟุนซินเปก ด้วยข้อกล่าวหายักยอกเงินจากการแอบขายที่ทำการพรรคเป็นเงิน 3.6 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 130 ล้านบาท และทรงถูกพิพากษาจำคุกอีกคดีหนึ่ง [11] มีรายงานข่าวว่าในครั้งนั้นเจ้าหญิงมารี พระชายาของพระองค์ ได้เข้าร่วมมือกับผู้นำพรรคฟุนซินเป็กคนอื่นๆ ในการจัดประชุมวิสามัญ ปลดพระองค์จากตำแหน่ง และเลือกตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่[12] การประชุมดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่กรมพระรณฤทธิ์อยู่ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งพระองค์ตรัสว่าการประชุมวิสามัญดังกล่าว ที่นำโดย พล.อ.แญ็ก บุนชัย (Nhek Bounchay) เลขาธิการพรรค เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย [13]

ในการประชุมดังกล่าว ที่ประชุมพรรคฟุนซินเบกได้เลือก นายแก้ว พุทธรัศมี (Keo Puth Rasamey) เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำเยอรมนี ราชบุตรเขยของอดีตกษัตริย์นโรดมสีหนุ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่

หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น กรมพระรณฤทธิ์ทรงก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ชื่อ พรรค นโรดม รณฤทธิ์ (NRP) ซึ่งมีที่นั่งในสภากัมพูชามากเป็นอันดับสามในปัจจุบัน [14]

ปัจจุบัน สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานองคมนตรี ในพระมหากษัตริย์กัมพูชา ตามพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551[15]

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จกรมพระนโรดม_รณฤทธิ์ http://english.peopledaily.com.cn/200703/18/eng200... http://freepages.genealogy.rootsweb.ancestry.com/~... http://freepages.genealogy.rootsweb.ancestry.com/~... http://freepages.genealogy.rootsweb.ancestry.com/~... http://freepages.genealogy.rootsweb.ancestry.com/~... http://asean-focus.com/asean/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0... http://ki-media.blogspot.com/2007/08/prince-ranari... http://www.phnompenhpost.com/index.php?option=com_... http://prachatai.com/journal/2012/10/43253 http://prachatai.com/journal/2012/10/43387