พระกรณียกิจ ของ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี_พระวรราชชายา

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการปกครองวชิรพยาบาลเมื่อพ.ศ. 2566 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี ดำรงตำแหน่งสภานายิกาของวชิรพยาบาล[51][52] ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีทรงเอาพระทัยใส่ในกิจการของวชิรพยาบาลเป็นอย่างดี[53] ทั้งยังทรงพระราชทานเงินบำรุงวชิรพยาบาลในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา[54]

ทรงประทานทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนในโรงเรียนราชินี โรงเรียนราชินีบูรณะ ทรงเริ่มพระราชทานเงินทุน 3,000 บาทแก่โรงเรียนราชินีเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2464 แล้วพระราชทานเนื่องในวันประสูติเรื่อยมา[55]จนถึงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2474 โรงเรียนราชินีเริ่มใช้เป็นทุนของ ปีการศึกษา 2474 นับแต่บัดนั้น[56] นอกจากนั้นยังทรงส่งเสริมการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา บางครั้งทรงสนับสนุนให้ศึกษาต่อเนื่องยังต่างประเทศ ซึ่งมีบุคคลที่ได้รับการศึกษาเนื่องจากทุนที่ได้รับประทานดังกล่าวล้วนเป็นข้าราชการ นักธุรกิจ นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติทั้งสิ้น ทั้งยังทรงเข้าเป็นสมาชิกหอพระสมุดวชิรญาณ และพระราชทานหนังสือแก่หอพระสมุดวชิรญาณเก็บรักษาไว้ด้วย[57]

นอกจากนี้สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีก็ยังโปรดกีฬา พระองค์ทรงก่อตั้งทีมฟุตบอลหญิงทีมแรกของประเทศไทย และทรงฝึกนักกีฬาหญิงส่งไปแข่งขันต่างประเทศ เช่น นางสาวสงวน สุจริตกุล นักกีฬาแบดมินตันระดับชาติ[58] เรียกได้ว่าทรงบุกเบิกการกีฬาสำหรับสตรี สำหรับการฝึกนักกีฬาของพระองค์นั้น ทรงควบคุมด้วยพระองค์เอง เช่น นางสาวสงวนกลับจากโรงเรียน ก็จะต้องวิ่งให้ครบตามจำนวนรอบที่กำหนด โดยสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีจะประทับทอดพระเนตรด้วย นอกจากนี้ยังโปรดให้ข้าหลวงหัดกีฬาหลายประเภท เช่น ขี่ม้า จักรยาน และฟุตบอล

เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่น ๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455[59] และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัว สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีเมื่อครั้งดำรงพระยศ พระบรมราชินี ทรงได้พระราชทานนามสกุลไว้ถึง 9 นามสกุล[60][61][62] คือ สาลิผลิน, คุณสาระ, จุฑาภักติ, หิรัญยะวสิต, จินดาวระ, สีลาสิริ, นาถะภักติ, สุทธภักติ และเทวินทรภักติ

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีพระราชทานที่ดินที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชทานพระตำหนักที่หมู่บ้านท่ายาง ตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน ให้แก่ราชการ มีพระเสาวนีย์ให้เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ โรงเรียน หรือสุขศาลาก็ได้ แต่ขณะนั้นทางการยังมิได้ดำเนินการ จนกระทั่งพ.ศ. 2482 ทางอำเภอกำแพงแสนจึงทำหนังสือกราบทูลขอพระราชทานที่ดิน 21 ไร่และพระตำหนักเพื่อเปิดเป็นโรงเรียนประชาบาล ซึ่งก็ทรงพระกรุณาพระราชทาน ปัจจุบันคือโรงเรียนอินทรศักดิ์ศึกษาลัย[63] พร้อมยังพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนการศึกษา

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี_พระวรราชชายา http://chechadnews.blogspot.com/2012/12/blog-post.... http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3... http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country... http://variety.teenee.com/world/77434.html http://www.khunnamob.info/board/print.php?Category... http://www.phyathaipalace.org/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E... http://bcnnon.ac.th/webnon/Load/2013/01/king22.pdf http://kps.ku.ac.th/v8/index.php/th/12-news/kps-ne... http://www.snc.lib.su.ac.th/west/index.php?option=... http://www2.vajira.ac.th/tqm/wp-content/uploads/20...