การต้านทานในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ของ สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่_7_แห่งนอร์เวย์

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 ในช่วงต้นรัชกาล

นอร์เวย์ได้ถูกโจมตีทั้งทางเรือและทางอากาศโดยกองทัพนาซีเยอรมนีในช่วงแรกๆของวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2483 กองทัพเรือนาซีเยอรมันที่แยกออกไปเพื่อยึดครองกรุงออสโลต้องเผชิญกับป้อมปราการออสการ์บอร์ก ป้อมปราการได้ทำการยิงใส่ผู้รุกรานทำให้สร้างความเสียหายแก่เรือรบลึทโซว์และจมเรือลาดตระเวนหนัก เรือรบบลือเชอร์ โดยเยอรมันพบกับความเสียหายมากมายรวมทั้ง กองกำลังจำนวนมาก, หน่วยเกสตาโปและเจ้าหน้าที่ด้านการบริหารที่จะต้องเข้าไปยึดครองเมืองหลวงของนอร์เวย์ เหตุการณ์นี้นำไปสู่การถอนทัพเรือขนาดเล็กของเยอรมัน ป้องกันไม่ให้ผู้บุกรุกเข้ายึดครองออสโลได้ในรุ่งอรุณตามที่เยอรมันคาดหวังไว้ ความล่าช้าของการใช้กองกำลังยึดครองออสโลของเยอรมัน พร้อมกับการดำเนินการที่รวดเร็วของประธานรัฐสภาคือ ซี.เจ ฮัมโบร สร้างโอกาสสำหรับพระราชวงศ์นอร์เวย์ คณะรัฐบาล และสมาชิกสภา 150 คน เพื่อให้เดินทางออกจากเมืองหลวงด้วยขบวนรถไฟพิเศษ

สมาชิกสภามาพบกันที่ฮามาร์ในตอนบ่ายวันเดียวกัน แต่การบุกอย่างรวดเร็วของกองทัพไรช์เยอรมัน ทุกคนได้ย้ายไปที่เอลวีรัม การประชุมสภามีมติเป็นเอกฉันท์ ซึ่งถูกเรียกว่า Elverumsfullmakten หรือ การให้อำนาจที่เอลวีรัม ได้นำมาซึ่งอำนาจเต็มของคณะรัฐมนตรีในการป้องกันประเทศจนกระทั่งเวลาที่วภาเรียกประชุมอีกครั้ง

วันต่อมา คูร์ท บรือเออร์ รัฐมนตรีเยอรมันที่นอร์เวย์ ได้เรียกร้องที่จะเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุน นักการทูตเยอรมันได้เรียกร้องให้ชาวนอร์เวย์ยุติการต่อต้านและทำตามความต้องการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ที่เรียกร้องให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง วิดคัน ควิสลิงผู้นิยมระบอบนาซี ผู้ซึ่งได้ประกาศตนเป็นนายกรัฐมนตรีแทนที่นายกรัฐมนตรีโจฮัน นีการ์ดสวอลด์ในช่วงชั่วโมงแรกๆในออสโล ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลหุ่นเชิดของเยอรมัน บรือเออร์ได้แนะนำให้สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงทำตามแบบอย่างของพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก พระเชษฐาของพระองค์ที่ทรงยอมแพ้ต่อกองทัพนาซีก่อนที่กองทัพนาซีจะเข้าโจมตี และทำการขู่นอร์เวย์ด้วยเงื่อนไขที่รุนแรงถ้าไม่ยอมแพ้สงคราม สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงตอบบรือเออร์ไปว่า พระองค์ไม่สามารถตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เองได้ แต่ได้เพียงคำปรึกษาจากรัฐบาล ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญนอร์เวย์โดยปกติได้มอบพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ในการแสดงความรับผิดชอบขั้นสุดท้ายอย่างเช่นการมีพระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง ในทางปฏิบัติเกือบจะทั้งหมดของการตัดสินพระทัยทางการปกครองล้วนมาจากรัฐบาล(รัฐบาลนอร์เวย์)ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์

จากการประชุมที่เกี่ยวเนื่องทางความรู้สึกที่นีเบอร์ซุนด์ พระมหากษัตริย์ทรงแถลงคำขาดของฝ่ายเยอรมันต่อคณะรัฐมนตรีของพระองค์ ถึงแม้สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนจะไม่ทรงมีพระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง พระองค์ทราบว่าพระองค์สามารถใช้พระราชอำนาจทางศีลธรรมที่มีอิทธิพลต่อพระราชวินิจฉัย ดังนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนได้ตรัสต่อคณะรัฐมนตรีว่า

ข้าพเจ้าได้รับผลกระทบอย่างลึกซึ้งโดยความรับผิดชอบที่วางอยู่บนข้าพเจ้าถ้าข้อเสนอของเยอรมันถูกปฏิเสธ ความรับผิดชอบต่อสถานการณ์ที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนและประเทศชาตินั้นรุนแรงมากอย่างแน่นอนซึ่งข้าพเจ้าเกรงกลัวที่จะกระทำมัน มันขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่จะตัดสินใจแต่ตำแหน่งของข้าพเจ้าเป็นที่ชัดเจน

สำหรับในส่วนตัวข้าพเจ้านั้นไม่สามารถยอมรับข้อเสนอของเยอรมันได้ มันจะเป็นการขัดแย้งกับสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับการพิจารณาให้เป็นภาระหน้าที่ของข้าพเจ้าในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์นับตั้งแต่ข้าพเจ้าเดินทางมายังประเทศนี้เป็นเวลาเกือบจะ 35 ปีมาแล้ว[5]

พระราชวงศ์นอร์เวย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงดำเนินการต่อที่ซึ่งทรงตรัสว่าพระองค์ไม่สามารถแต่งตั้งคณะรัฐบาลใดๆที่นำโดยควิสลิงได้เพราะพระองค์ทรงทราบว่าไม่มีผู้ใดในสภาที่เชื่อมั่นเขา อย่างไรก็ตามถ้าคณะรัฐมนตรีคิดเห็นเป็นอย่างอื่น พระมหากษัตริย์ทรงตรัสว่าพระองค์จะสละราชบัลลังก์เพื่อที่จะไม่ทรงยืนยันในการตัดสินใจของรัฐบาล

นีลส์ ฮเจล์มทวีท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศาสนาและศึกษาธิการ ได้บันทึกในภายหลังว่า "นี้ได้สร้างความประทับใจที่ยิ่งใหญ่กับพวกเราทุกคน ชัดเจนมากกว่าที่เคยเป็นมาก่อนที่เราจะได้เห็นคนที่อยู่เบื้องหลังคำเหล่านี้ พระมหากษัตริย์ทรงได้วาดเส้นให้กับพระองค์เองและงานของพระองค์ เส้นจากการที่พระองค์ไม่สามารถเบี่ยงเบนได้ พวกเรามีเวลาในห้าปีที่ผ่านมา[ในรัฐบาล]ในการเรียนรู้ที่จะเคารพและชื่นชมในพระมหากษัตริย์ของเราและตอนนี้ ผ่านพระราชดำรัสของพระองค์ที่ทรงให้พวกเราได้กลายเป็นคนดี ยุติธรรมและหนักแน่น ทรงเป็นพระประมุขในช่วงเวลาที่เลวร้ายเหล่านี้ที่ประเทศของพวกเรา"[6]

แรงบันดาลใจจากการยืนกรานของสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุน รัฐบาลได้มีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้คำแนะนำแก่สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนไม่ให้ทรงแต่งตั้งรัฐบาลใดๆที่นำโดยควิสลิง ภายในไม่กี่ชั่วโมง ได้มีการโทรศัพท์ไปปฏิเสธข้อเสนอของบรือเออร์ ในคืนนั้นสถานีโทรทัศน์เอ็นอาร์เคได้ออกอากาศการปฏิเสธของรัฐบาลต่อชาวนอร์เวย์ ในประกาศเดียวกัน รัฐบาลประกาศว่าพวกเขาจะทำการต่อต้านการโจมตีของเยอรมันให้นานที่สุด และแสดงความเชื่อมั่นของพวกเขาที่จะได้รับการสนับสนุนจากชาวนอร์เวย์

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและมกุฎราชกุมารโอลาฟขณะทรงหาที่หลบภัยภายใต้ต้นเบิร์ชในระหว่างการโจมตีทิ้งระเบิดของเยอรมันที่มอลเดในเดือนเมษายน พ.ศ. 2483

เช้าวันต่อมาของวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2483 เครื่องบินทิ้งระเบิดลุฟท์วัฟเฟอได้โจมตีนีเบอร์ซุนด์ ได้ทำลายเมืองเล็กที่ซึ่งรัฐบาลนอร์เวย์พำนักอยู่ในความพยายามกวาดล้างพระมหากษัตริย์และรัฐบาลนอร์เวย์ที่หนักแน่น พระมหากษัตริย์และคณะรัฐมนตรีได้เข้าไปหลบป่าที่ปกคลุมไปด้วยหิมะและหนีจากอันตรายอย่างต่อเนื่องไกลออกไปผ่านถูเขามุ่งหน้าสู่มอลเดทางชายผั่งตะวันตกของนอร์เวย์ กองทัพอังกฤษในพื้นที่ภาตพื้นดินได้สูญเสียจากการทิ้งระเบิดของลุฟท์วัฟฟ์ พระมหากษัตริย์และคณะของพระองค์ทรงถูกนำขึ้นเรือของอังกฤษ เฮสเอ็มเอส กลาสโกว์ที่มอลเดและลำเลียงต่อไปอีก 1000 กิโลเมตรทางเหนือที่ทรมเซอที่ซึ่งเป็นเมืองหลวงเฉพาะกาลในวันที่ 1 พฤษภาคม สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและมกุฎราชกุมารโอลาฟทรงประทับในกระท่อมในป่าในหุบเขามัลเซลวีดาเลนในทรมส์ตอนใน ที่ซึ่งทุกพระองค์ต้องประทับอยู่ที่นี่จนกว่าอพยพไปยังสหราชอาณาจักร ในขณะที่ประทับในทรมเซอทั้งสองพระองค์ได้รับการคุ้มครองจากสมาคมปืนไรเฟิลท้องถิ่นซึ่งใช้ปืนคร้าก-จอร์เกนเซนอย่างแพร่หลาย

ฝ่ายสัมพันธมิตรมีการรักษาความปลอดภัยทั่วทุกที่ของภาคเหนือนอร์เวย์จนกระทั่งปลายเดือนพฤษภาคมแต่สถานะของสัมพันธมิตรในยุทธการฝรั่งเศสได้เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว กองทัพสัมพันธมิตรในภาคเหนือของนอร์เวย์กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ดีและได้ถูกถอนกำลังออก พระราชวงศ์ที่ลำบากและรัฐบาลที่สูญเสียความมั่นใจได้อพยพจากทรมเซอในวันที่ 7 มิถุนายน ขึ้นเรือเฮสเอ็มเอส เดวอนเชียร์และหลังจากการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว 34 นอต (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ภายใต้การคุ้มครองจากเรือเฮสเอ็มเอส กลอเรียส, เฮสเอ็ทเอส อคัสตาและเฮสเอ็มเอส อาร์เดนท์อย่างปลอดภัยถึงลอนดอน สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและรัฐบาลได้ประกาศตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในเมืองหลวงของอังกฤษ

พระราชวงศ์นอร์เวย์ทรงโบกพระหัตถ์แก่ประชาชนที่มาต้อนรับการเสด็จกลับด้วยเรือเฮสเอ็มเอส นอร์โฟล์ก ณ กรุงออสโล

ในขั้นต้น สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและมกุฎราชกุมารโอลาฟทรงเป็นพระราชอาคันตุกะที่พระราชวังบักกิงแฮม แต่เมื่อเริ่มต้นเดอะบลิตซ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2483 ทุกพระองค์ได้ย้ายไปที่บ้านโบว์ดาวน์ในบาร์กเชอร์ การก่อสร้างของสถานที่ที่อยู่ติดกันอย่างสนามบินอาร์เอเอฟ กรีนแฮม คอมมอนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2485 ทำให้ต้องย้ายอีกครั้งไปที่ฟอลีโจนปาร์คในวิงก์ฟิลด์ใกล้กับวินด์เซอร์ ซึ่งทรงประทับอยู่ที่นั่นจนกระทั่งการปลดปล่อยนอร์เวย์[7] ที่ประทับอย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์คือสถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ที่บ้านเลขที่ 10 เคนชิงตันพาร์เลซการ์เดนส์, เคนชิงตัน ที่ซึ่งการเป็นที่พำนักของรัฐบาลพลัดถิ่นนอร์เวย์ ที่นี่สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกอาทิตย์และทรงมีกระแสพระราชดำรัสเป็นประจำทางวิทยุไปยังนอร์เวย์โดยบีบีซีเวิลด์เซอร์วิส การออกอากาศเหล่านี้ได้ช่วยประสานสถานะของสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนในฐานะสัญลักษณ์ที่สำคัญแห่งชาติในการเคลื่อนไหวต่อต้านของชาวนอร์เวย์[8] การออกอากาศหลายครั้งมาจากโบสถ์เซนต์โอลาฟนอร์วีเจียนในร็อทเทอร์ฮิทที่ซึ่งพระราชวงศ์เสด็จไปนมัสการเป็นประจำ[9]

ในขณะที่ฮิตเลอร์ได้แต่งตั้งโยเซฟ แทร์โบเฟินเป็นไรซ์คอมมิซซาร์ประจำนอร์เวย์ บนคำสั่งของฮิตเลอร์ เตอร์โบเวนได้พยายามบังคับให้รัฐสภาถอดถอนพระมหากษัตริย์ แต่รัฐสภาปฏิเสธด้วยการอ้างหลักการตามรัฐธรรมนูญ คำขาดได้ถูกยื่นโดยเยอรมันภายใต้การคุกคามให้ใช้แรงงานหนักแก่ชาวนอร์เวย์ในอายุราชการทหารที่ค่ายกักกัน[10] ด้วยภัยคุกคามที่ใกล้จะมาถึงนี้ ตัวแทนรัฐสภาในกรุงออสโลได้เขียนจดหมายถึงพระมหากษัตริย์เพื่อขอให้พระองค์สละราชบัลลังก์ในวันที่ 27 มิถุนายน พระมหากษัตริย์ทรงตอบอย่างสุภาพว่ารัฐสภาก็อยู่ภายใต้การข่มขู่ ทรงปฏิเสธข้อเรียกร้องนี้ พระมหากษัตริย์ทรงตอบในวันที่ 3 กรกฎาคม และทรงแถลงการณ์ในวิทยุบีบีซีในวันที่ 8 กรกฎาคม[11] หลังจากความพยายามของเยอรมันในเดือนกันยายนที่ข่มขู่ให้รัฐสภาถอดถอนสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนเป็นอันล้มเหลว เตอร์โบเวนได้ออกประกาศในที่สุดว่าพระราชวงศ์ "หมดสิทธิ์ที่จะกลับมา" และทำลายพรรคการเมืองจากประชาธิปไตย

ในระหว่างห้าปีของการยึดครองนอร์เวย์ของเยอรมัน ชาวนอร์เวย์จำนวนมากแอบสวมใส่เสื้อผ้าและเครื่องประดับที่มาจากเหรียญตราสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่บันทึกว่า "H7"ในฐานะที่เป็นสัฐลักษณ์ในการต่อต้านการยึดครองนอร์เวย์ของนาซีเยอรมนีและสร้างความเป็นปึกแผ่นด้วยพระมหากษัตริย์และรัฐบาลพลัดถิ่น เช่นเดียวกับประชาชนจำนวนมากในประเทศเดนมาร์กที่ใส่เข็มกลัดพระปรมาภิไธยย่อของพระเชษฐาของพระองค์คือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก พระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์ได้ถูกวาดขึ้นด้วยเช่นกันและวาดซ้ำบนพื้นผิวต่างๆเพื่อแสดงการต่อต้านการยึดครอง[12]

หลังจากสิ้นสุดสงคราม สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนและพระราชวงศ์ได้เสด็จกลับนอร์เวย์ด้วยเรือเฮสเอ็มเอส นอร์โฟล์ก การมาถึงด้วยกองเรือรบแรกได้รับการต้อนรับจากฝูงชนในกรุงออสโลวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2488[13] เป็นเวลาห้าปีให้หลังหลังจากทรงอพยพออกมาจากทรมเซอ

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่_7_แห่งนอร์เวย์ http://www.saintolav.com http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,7... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,7... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,7... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,8... http://www.aftenposten.no/english/royals/ http://www.kongehuset.no/ http://www.kongehuset.no/c27060/artikkel/vis.html?... http://www.kongehuset.no/c27312/seksjonstekst_pers... http://www.nb.no/utlevering/nb/d2e8afecb1aba47bf48...