พระราชอำนาจแห่งสมเด็จพระราชินี ของ สมเด็จพระราชินี

โดยทั่วไปองค์พระราชสวามีหรือพระมเหสีจะไม่มีพระราชอำนาจในทางการเมือง แม้ว่าพระองค์จะมีพระอิสริยยศในระดับเดียวกันกับองค์พระมหากษัตริย์ก็ตามที อย่างไรก็ตามอาจมีบางกรณีที่พระราชินีในรัชกาลก่อน จะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นผู้สำเร็จราชการ ซึ่งนั่นก็หมายความว่าสมเด็จพระราชินีผู้สำเร็จราชการ (Queen Regent) นั้นมีพระราชอำนาจเกือบจะเหมือนและเสมอกับสมเด็จพระราชินีนาถ (Queen Regnant) เลยทีเดียว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็ดังเช่นสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ ซึ่งทรงเป็นผู้สำเร็จราชการตลอดระยะเวลาอันยาวนานของกษัตริย์ถึง 4 รัชกาล [3]

อีกบางกรณี แม้องค์พระราชินีจะไม่ทรงว่าราชการเองในฐานะผู้สำเร็จราชการ แต่อาจเป็นในลักษณะ "อำนาจหลังราชบัลลังก์" ก็ได้ พระราชินีที่เข้มแข็งและเฉลียวฉลาด อาจทรงมีอิทธิพลครอบงำเหนือพระราชาที่อ่อนแอได้ ดังเช่นสมเด็จพระราชินีมารี อองตัวเนต พระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส, จักรพรรดินีอะเลคซันดรา ฟอโดรอฟนา แห่งรัสเซีย พระมเหสีในจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินีมิน พระมเหสีใน จักรพรรดิควางมูแห่งเกาหลี เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีนี้

ผู้ปกครองร่วม

มีบางกรณีที่ทั้งสองพระองค์ปกครองประเทศร่วมกัน เช่นพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระมเหสีของพระองค์คือสมเด็จพระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1 แห่งคาสตีลนั้น เป็นสมเด็จพระราชินีนาถ ผู้ปกครองราชอาณาจักรคาสตีล ด้วยสิทธิ์ของพระองค์เอง ทั้ง 2 พระองค์ปกครองราชอาณาจักรอารากอนและราชอาณาจักรคาสตีลร่วมกัน

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 พระราชธิดา สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ นั้นอภิเษกสมรสกับลูกพี่ลูกน้องของพระองค์คือเจ้าชายวิลเลี่ยมแห่งออเร้นจ์ (สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ) หลังจากเสกสมรสกันแล้ว ทั้งสองพระองค์ปกครองประเทศร่วมกัน ตราบจนกระทั่งสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่สวรรคต สมเด็จพระเจ้าวิลเลี่ยมจึงเริ่มปกครองประเทศโดยลำพังพระองค์เอง

อื่น ๆ

ข้อยกเว้นในปัจจุบันคือ คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ ซึ่งเป็นพระชายาองค์ที่ 2 ของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ สาเหตุจากการที่เป็นหญิงซึ่งเคยหย่ามาแล้ว มีการประกาศล่วงหน้าจากสำนักพระราชวังคลาเรนซ์ว่าหากเมื่อใดที่ชาร์ลส์เสด็จขึ้นครองราชย์ คามิลล่าจะดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงพระชายา ไม่ใช่สมเด็จพระราชินี แต่อย่างไรก็ตามตามกฎหมายแล้วพระองค์มีสิทธ์โดยถูกต้องที่จะดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินี แห่งสหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่ ไอร์แลนด์เหนือและประเทศในเครือจักรภพ เว้นแต่ทั้งอังกฤษ สกอตแลนด์ ไอร์แลนด์ และประเทศในเครือจักรภพทั้ง 16 ประเทศจะผ่านกฎหมายป้องกันไม่ให้คามิลลาดำรงยศเป็นพระราชินี ซึ่งเป็นไปได้ยาก ย่อมต้องมีสักประเทศใดประเทศหนึ่งในนั้นที่ไม่มีการผ่านกฎหมายดังกล่าว ท้ายที่สุดคามิลลาก็ยังคงไม่ได้เป็น "ควีนคามิลลา" อยู่ดี[ต้องการอ้างอิง]

เช่นเดียวกับสมเด็จพระจักรพรรดินีก็คือพระอัครมเหสีของสมเด็จพระจักรพรรดิ และมียศเหนือกว่าสมเด็จพระราชินี (เพราะสมเด็จพระจักรพรรดิมียศเหนือกว่าสมเด็จพระราชาธิบดี) สมเด็จพระจักรพรรดินีก็เช่นเดียวกันกับสมเด็จพระราชินีคือไม่มีพระราชอำนาจในทางการเมือง พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินีเพียงเพราะการเสกสมรสเท่านั้น

ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Queen Consort สำหรับพระราชินีประเภทนี้ การแปลภาษาไทยจะขอแปลพระอิสริยยศนี้ว่า สมเด็จพระราชินี หรือ สมเด็จพระราชินีอัครมเหสี

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก