พระอิสริยยศ ของ สมเด็จพระราชินี

สำหรับพระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถผู้ทรงปกครองประเทศนั้น ส่วนมากมักไม่ได้ใช้พระอิสริยยศ "สมเด็จพระราชา" (King Consort) แม้ว่าจะมีปรากฏบ้างในสมัยก่อน เช่นพระเจ้าฟรองซัวที่ 2 แห่งฝรั่งเศส[1]ทรงดำรงพระยศสมเด็จพระราชาธิบดี พระราชสวามี (King consort) ใน สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน[2] ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชาธิบดี พระราชสวามี( King consort )ใน [[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ]] ส่วนมากมักทรงได้รับพระราชทานยศ "เจ้าชาย" และมักถวายพระอิสริยยศว่า "เจ้าชายพระราชสวามี" มากกว่า

สมเด็จพระราชินี เป็นพระอิสริยยศที่เท่าเทียมกับ สมเด็จพระราชา เหมือนดั่งที่ดยุค เท่ากับ ดัชเชส หรือ เจ้าชาย เท่ากับเจ้าหญิง ถ้าหากว่าฝ่ายชายดำรงยศอะไร ฝ่ายหญิงที่สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายก็ย่อมต้องดำรงยศนั้นที่เท่าเทียมกันด้วย สำหรับองค์กษัตริย์นั้น มีทั้งจักรพรรดิ (และจักรพรรดินี) พระราชา (และพระราชินี) เจ้าชาย (และเจ้าหญิง) แต่สำหรับประเทศที่มีระบบ "ผัวเดียวหลายเมีย" polygamy มีกฎเกณฑ์มากกว่านั้น มิใช่เพียงว่าเป็นภรรยาของพระมหากษัตริย์และจะเป็นพระราชินีไปเสียหมด

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก