การเสด็จขึ้นครองราชย์และการเริ่มมีความขัดแย้งทางศาสนา ของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่_1_แห่งอังกฤษ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ในชื่อภาพว่า “พิธีราชาภิเษกของอลิซาเบธ” (The Coronation of Elizabeth)

การขึ้นเสวยราชย์ของพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2101 อันเนื่องมาจากการสวรรคตของพระราชินีแมรีที่ 1 ได้รับการแซ่ซ้องและยอมรับเป็นอย่างมากจากผู้คนที่หวังจะได้มีเสรีภาพทางศาสนามากขึ้นหลังจากที่ได้ถูกกดขี่มาโดยตลอดในรัชกาลก่อน ๆ ภายใต้การนำอย่างแข็งขันของวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ (ต่อมาเลื่อนเป็นลอร์ดเบอร์ลีย์) กฎหมายสนับสนุนคาทอลิกของพระนางแมรีที่ 1 ได้ถูกยกเลิกและนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ ก็ได้รับการสถาปนาขึ้น (ระหว่าง พ.ศ. 2102-2106) นอกจากนี้เซซิลยังได้ให้การสนับสนุนการปฏิรูปสกอตแลนด์ ซึ่งทำให้พระราชินีแมรีแห่งสกอตแลนด์กลับคืนบัลลังก์ได้อีกในปี พ.ศ. 2104 ยังผลให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นกับพวกลัทธิคาลวิน โดย"จอห์น นอกซ์" หนึ่งในผู้ก่อตั้งนิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งได้จับพระนางจองจำและบังคับให้สละราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2110 ทำให้พระองค์ต้องหลบหนีไปประทับในอังกฤษแต่ก็ถูกจับกักบริเวณอีก ซึ่งต่อมาเหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นจุดสนใจและเป็นศูนย์รวมชาวคาทอลิกที่รวมตัวกันต่อต้านนิกายโปรแตสแตนท์ ในปี พ.ศ. 2113 ได้มีการประกาศให้พวกคาทอลิกเลิกนับถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธเป็นราชินี ซึ่งรัฐบาลเริ่มแก้เผ็ดชาวคาทอลิกอังกฤษด้วยการจำกัดสิทธิบางอย่างและค่อย ๆ เพิ่มความเข้มข้นขึ้นถึงขั้นปราบปรามในช่วงปี พ.ศ. 2123-พ.ศ. 2133

แผนการล้มล้างสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ถูกเปิดเผยบ่อยครั้งขึ้น และอีกครั้งหนึ่งโดยการสนับสนุนอย่างลับ ๆ ของพระนางแมรีใน พ.ศ. 2129 ที่เป็นผลให้พระนางทรงถูกประหารชีวิตในปีต่อมา นโยบายต่อต้านและเข้มงวดต่อผู้ถือนิกายโรมันคาทอลิกเพิ่มความรุนแรงขึ้น มีผลให้อังกฤษสนับสนุนฝ่ายกบฏชาวฮอลันดาที่ต่อต้านสเปน มีการ “แต่งตั้งโจรสลัด” อย่างเป็นงานเป็นการ ดังเช่น "จอห์น ฮอว์ลีน" และ "ฟรานซิส เดรก" เพื่อคอยดักปล้นทรัพย์สินของพวกสเปนในโลกใหม่ ปรากฏการณ์เหล่านี้ยั่วยุให้สเปนก่อสงครามรุกรานอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2101 กองเรืออาร์มาดาอันยิ่งใหญ่ของสเปนได้บุกเข้ามาปิดช่องแคบอังกฤษ แต่ก็ถูกทำลายจากทั้งพายุที่มีชื่อว่า ลมโปรแตสแตนท์และการตีโต้กลับจากฝ่ายอังกฤษจนสูญเสียเรือเป็นจำนวนมากพ่ายแพ้อย่างบอบช้ำจนต้องถอยกลับสเปน

ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 พระองค์ได้เพิ่มพันธมิตรและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่นิกายโปรเตสแตนต์มากขึ้น และในขณะเดียวกันก็แบ่งแยกศัตรูฝ่ายคาทอลิกรุนแรงมากขึ้นด้วย พระนางแสร้งยอมให้เชื้อพระวงศ์ต่างประเทศหลายรายเจรจาขออภิเษกสมรสกับพระองค์ แต่พระองค์ก็มิได้จริงจังและมิได้ทรงกำหนดให้มีการสืบรัชทายาทไว้แต่อย่างใด และด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระราชินีแมรีแห่งสกอตแลนด์ ทำให้พระนางได้ทรงทราบด้วยความพอพระทัยว่าองค์รัชทายาท คือพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เป็นโปรแตสแตนท์ พระองค์ได้มีสัมพันธ์ลึกซึ้งกับขุนนางสำคัญคือ "โรเบิร์ต ดัดเลย์" เอิร์ลแห่งลีเซสเตอร์ และต่อมากับ"โรเบิร์ต เดอเวโรซ์ เอิร์ล"แห่งเอสเซกซ์ จนกระทั่งเดอเวโรซ์ถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากบฏในปี พ.ศ. 2144

ยุคสมัยของพระราชินีอลิซาเบธ ได้รับการเรียกว่า “สมัยเอลิซาเบธ” หรือยุคทอง เนื่องจากเป็นยุคที่อังกฤษขยายแสนยานุภาพไปทั่วโลก ในยุคสมัยนี้ ได้มีชาวอังกฤษผู้โด่งดังในสาขาวิชาต่าง ๆ มากมาย เช่น กวีชื่อก้องโลก วิลเลียม เชกสเปียร์ "คริสโตเฟอร์ มาโลว์" และ "จอห์น เบ็นสัน" ก็ได้มีเริ่มมีชื่อเสียงในยุคนี้ ฟรานซิส เดรก ได้เป็นชาวอังกฤษคนแรกที่เป็นนักเดินเรือสำรวจรอบโลก "ฟรานซิส เบคอน" ได้เสนอความคิดทางปรัญชาและทางการเมือง "เซอร์ วอลเตอร์ ราเลย์" และ "เซอร์ ฮัมเฟรย์ กิลเบิร์ต" ได้สร้างอาณานิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ

ภาพเขียนสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 เมื่อพ.ศ. 2131 เนื่องในวาระพิชิตกองเรีออามาดาของสเปน โปรดสังเกตพระหัตถ์ขวาที่กุมลูกโลกประดับกางเขนซึ่งเป็นสัญญลักณ์แห่งอำนาจของอังกฤษในระดับโลก

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก