สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่_1_แห่งอังกฤษ
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่_1_แห่งอังกฤษ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่_1_แห่งอังกฤษ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน ค.ศ. 1533 -- 24 มีนาคม ค.ศ. 1603) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1558 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมอร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงเอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม[1] พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถเอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมพรรษาสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัยในด้านการปกครองพระราชินีนาถเอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินี[2] คำขวัญที่ทรงถืออยู่คำหนึ่งคือ “video et taceo” (ไทย: ข้าพเจ้ารู้แต่ข้าพเจ้าไม่พูด) [3] นโยบายดังกล่าวสร้างความอึดอัดใจให้แก่บรรดาราชองคมนตรี แต่ก็เป็นนโยบายที่ทำให้ทรงรอดจากการสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองและทางการมีคู่ในทางที่ไม่ถูกไม่ควรมาหลายครั้ง แม้ว่าจะทรงดำเนินนโยบายการต่างประเทศอย่างระมัดระวัง และทรงสนับสนุนการสงครามในเนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศส และ ไอร์แลนด์อย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ แต่ชัยชนะที่ทรงมีต่อกองเรืออาร์มาดาของสเปนในปี พ.ศ. 2131 ก็ทำให้ทรงมีชื่อว่าทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับชัยชนะอันสำคัญที่ถือกันว่าเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ ภายใน 20 ปีหลังจากการเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงได้ชื่อว่าเป็นพระมหากษัตรีย์ของยุคทองของอังกฤษรัชสมัยของพระองค์เป็นที่รู้จักกันว่า “สมัยเอลิซาเบธ” ที่มีชื่อเสียงเหนือสิ่งใดว่าเป็นยุคเรอเนสซองซ์อังกฤษ|ยุคเรอเนสซองซ์ของนาฏกรรมของอังกฤษ ที่นำโดยนักเขียนบทละครผู้มีชื่อเสียงเช่นวิลเลียม เชคสเปียร์ และ คริสต์โตเฟอร์ มาร์โลว์, และความเจริญทางการเดินเรือโดยผู้นำเช่นฟรานซิส เดรค นักประวัติศาสตร์บางท่านค่อนข้างจะไม่กระตือรือร้นต่อความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และกล่าวว่าทรงเป็นผู้มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น[4] และบางครั้งก็ทรงเป็นผู้นำผู้ไม่มีความเด็ดขาด,[5] ผู้ทรงได้รับผลประโยชน์จากโชคมากกว่าที่จะทรงใช้พระปรีชาสามารถ ในปลายรัชสมัยปัญหาต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ และ ทางการทหารก็ทำให้บ้านเมืองอ่อนแอลง จนถึงกับกล่าวกันว่าการเสด็จสวรรคตนำมาซึ่งความโล่งใจของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินพระราชินีนาถเอลิซาเบธทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้นำผู้มีเสน่ห์และเป็นผู้นำให้ประเทศรอดจากภัยพิบัติต่าง ๆ ในยุคที่รัฐบาลอยู่ในสภาวะที่ปั่นป่วนและสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศเพื่อนบ้านต้องเผชิญกับสถานะการณ์ภายในที่เป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ หลังจากรัชสมัยอันสั้นของพระอนุชาและพระเชษฐภคินีแล้วรัชสมัยอันยาวนานถึง 44 ปีก็เป็นรัชสมัยที่สร้างความมั่นคงให้แก่ราชอาณาจักร และเป็นรัชสมัยที่วางรากฐานของความเป็นชาติของอังกฤษด้วย[2]เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงครองราชย์ในเวลาเดียวกันกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่_1_แห่งอังกฤษ

ราชวงศ์ ทิวดอร์
ฝังพระศพ อัครวิหารเวสต์มินสเตอร์
ก่อนหน้า พระนางแมรีที่ 1 และ พระเจ้าเฟลีเป
ครองราชย์ 17 พฤศจิกายน 1558 –
24 มีนาคม 1603
ลายพระอภิไธย
พระราชมารดา แอนน์ บุลิน
พระราชบิดา พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ
ราชาภิเษก 15 มกราคม 1559
สวรรคต 24 มีนาคม ค.ศ. 1603 (69 ปี)
วังริชมอนด์, เซอร์รีย์, อังกฤษ
ถัดไป พระเจ้าเจมส์ที่ 1
ประสูติ 7 กันยายน ค.ศ. 1533
วังพลาเซ็นเทีย, กรีนิช, อังกฤษ
ศาสนา แองกลิคัน

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก