พระประวัติ ของ สมเด็จพระราชินีเซ็นดีง_ด็อนด็อกโดลัม

ด็อนด็อกโดลัม ประสูติในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1876 (บางแหล่งข้อมูลระบุว่าประสูติในปี ค.ศ. 1874) ประสูติที่จังหวัดเฮ็นตี[1] เขตบายัน-อดาร์กา ทรงพบกับบ็อกด์ ข่าน ซึ่งขณะนั้นถูกเรียกว่า "บ็อกด์ กาเกน" ในปีค.ศ. 1895 โดยยังไม่ได้ทรงครองราชย์ บ็อกด์ กาเกนเดินทางไปเยือนอารามเออเดอนีซู และทั้งคู่พบกันอีกครั้งในปีค.ศ. 1900 ที่อารามอามาร์บายัสการันต์[2] ด็อนด็อกโดลัมขณะนั้นทำงานเป็นคนรับใช้ในภรรยาเอกของ จูง วัน ทซ็อกบาดรัช ซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่ติดตามบ็อกด์ กาเกนมาถึงมองโกเลีย[3] ที่ถูกเรียกว่าบ็อกด์ กาเกน เพราะมีความเชื่อตามศาสนาพุทธนิกายมหายานทิเบต ที่ว่า บอดจ์ กาเกน คือ ร่าวอวตารองค์ที่ 8 ของจอว์ซาน ดัมบา คูทักต์ (Jebtsundamba Khutuktu) โดยการยอมรับของทะไลลามะที่ 13 กับเท็นไป วังชุก ปันเชนลามะที่ 8 และทรงส่งมาให้ปกครองพุทธศาสนาในมองโกเลีย[4]

ในปีค.ศ. 1902 ด็อนด็อกโดลัมได้เสกสมรสกับบ็อกด์ กาเกน, จอว์ซาน ดัมบา คูทักต์ องค์ที่ 8 ทั้งสองได้รับเลี้ยงโอรสบุญธรรม 1 พระองค์ ที่มีการระบุชื่อว่า คูบิลกัน ยัลกูซาน-ฮูทักต์ (ไม่ปรากฏชะตากรรมของโอรสคนนี้หลังการปฏิวัติมองโกเลีย) ทั้งสองพระองค์บูชาเทพฑากิณีและพระโพธิสัตว์ตารา (มองโกเลีย: Цагаан Дарь Эх) ในปี ค.ศ. 1903 ได้มีการจัดสรรระบบ อัยมัก (Aimag) ซึ่งเป็นระบบจังหวัดของมองโกเลีย ได้มีการสร้างวัดเออรค์-ฑากินิน-อายกิม-คูรัล ขึ้นที่ศูนย์กลางของเมืองหลวง[5] หลังจากมีการประกาศเอกราชมองโกเลียในปี ค.ศ. 1911 ด็อนด็อกโดลัมได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น "อูล์ซิน เออร์ ฑากิณ" แปลว่า "พระมารดาแห่งฑากิณีรัฐ" ซึ่งก็คือ ตำแหน่งสมเด็จพระราชินี ตามพระสวามีที่ครองราชย์เป็นบอดจ์ ข่านแห่งมองโกเลีย

สมเด็จพระราชินีเซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัมและพระสวามีทรงมีความคิดสร้างสรรค์และทรงร่วมสร้างตำหนักที่ประทับด้วยพระองค์เอง และทรงใช้ตำหนักเป็นศูนย์กลางที่ตั้งของคณะช่างศิลปการ พระนางด็อนด็อกโดลัมทรงทำตามธรรมเนียมโบราณของชนชั้นสูงในการรับอุปการะเด็กอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเด็กที่ครองครัวไม่มีความสามารถในการเลี้ยงดูหรือบิดามารดาเสียชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ หนึ่งในนั้นคือ แอล.มอร์ดอร์ซ ซึ่งพระนางรับอุปการะ โดยต่อมาจะเป็นนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงของมองโกเลีย[6]

สมเด็จพระราชินีทเซ็นดีง ด็อนด็อกโดลัมสิ้นพระชนม์ในปีค.ศ. 1923 หนึ่งปีก่อนที่พระสวามีจะสวรรคต ซึ่งเป็นวันที่ 15 ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงสุดท้าย[7] พระบรมศพได้ถูกเผาที่ต้นทางของแม่น้ำซาลเบ ใกล้อูลานบาตาร์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระนางและพระสวามีประทับในช่วงฤดูร้อน หุบเขาต้นแม่น้ำถูกเรียกว่า "ซาร์กามอริต"

ใกล้เคียง

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา