ประวัติ ของ สมเด็จพระวันรัต_(ฑิต_อุทโย)

ชาติดำเนิด

สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่าก๋ง เป็นชาวบ้านรั้วใหญ่ บางปอิน แขวงกรุงเก่า (อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบัน) เกิดสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2380 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 9 ปีระกา โยมมารดาชื่อสิงห์ โยมมารดาชื่ออิ่ม[1]

อุปสมบท

เมื่ออายุย่าง 14 ปี ได้บวชเป็นสามเณรที่วัดกำแพง แขวงปางปอิน แล้วย้ายไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดสามพระยา อายุย่าง 21 ปี จึงอุปสมบท ณ วัดสามพระยา เมื่อปีมะเส็ง ปี พ.ศ. 2400 (บางตำราว่า พ.ศ. 2401) โดยพระนิโรธรังสี (เรือง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดแฟงและพระสมุห์พูนเป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์[1] ได้ฉายาว่า "อุทโย"

การศึกษา

เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในหลายสำนัก ได้แก่ สำนักอาจารย์ทอง ป.ธ. 7 ที่วัดบวรนิเวศวิหาร สำนักพระมหาแดง สีลวฑฺฒโน ป.ธ. 8 ที่วัดสุทัศนเทพวาราม สำนักพระโหราธิบดี (ชุม) ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระโหราธิบดีได้ตั้งชื่อใหม่ให้ท่านว่าฑิต[2]

ในปี พ.ศ. 2409 การสอบบาลีสนามหลวงจัดขึ้น ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท่านเข้าสอบแปลได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ในปีต่อ ๆ มาสอบตก จนกระทั่ง พ.ศ. 2419 ได้เข้าสอบอีกซึ่งจัดขึ้น ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ได้เพิ่มอีกประโยคหนึ่ง รวมเป็นเปรียญธรรม 4 ประโยค[2]

เจ้าอาวาส

วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2425 (นับตามแบบเดิมตรงกับ พ.ศ. 2424 ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระศรีสมโพธิ ได้ทรงโปรดให้อาราธนาไปครองวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร จนกระทั่งวันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2431 จึงโปรดให้อาราธนามาครองวัดมหาธาตุ และอยู่วัดนี้จนถึงแก่มรณภาพ

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก