พระประวัติ ของ สมเด็จพระสุคนธาธิบดี_(ปาน_ปญฺญาสีโล)

กำเนิด

สมเด็จพระสุคนธาธิบดี มีพระนามเดิมว่าปาน หรือ ปาง ประสูติในวันพฤหัสบดี แรม 1 ค่ำ เดือน 12 (เดือนกัตติกะ) ปีจอ พ.ศ. 2370 ในหมู่บ้านแพรก พระเสด็จ จังหวัดพระตะบอง ไม่ปรากฏนามบิดามารดา แต่บิดามารดาของท่านได้หนีไปอาศัยอยู่ในจังหวัดพระตะบอง เนื่องจากออกญาเดโช (แทน) ก่อการจลาจล เมื่ออายุได้ 12 ปี จึงบวชเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ ตำบลสังแก จังหวัดพระตะบอง ในคณะมหานิกาย แล้วได้เข้ามากรุงเทพ อยู่ที่วัดสระเกศ คณะมหานิกาย

บวชแปลงนิกาย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า หรือพระวชิรญาณภิกขุ ผู้เป็นอุปัชฌาย์ของพระมหาปาน และเมื่อลาผนวชขึ้นครองราชย์ ได้ส่งพระมหาปาน นำพระพุทธศาสนาแบบธรรมยุติกนิกายไปเผยแผ่ในกัมพูชา

ต่อมาเมื่ออายุ 21 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ คณะมหานิกายจำพรรษาที่วัดสระเกศได้ 4 พรรษา เวลานั้นได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระวชิรญาณเถระ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) โปรดให้ศึกษาพระวินัยในสำนักเจ้าคุณพระญาณรักขิต (สุด) เจ้าอธิการวัดบรมนิวาส คณะธรรมยุตินิกาย

ต่อมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (เดือนอาสาฬหะ) ปีระกา เอกศก พ.ศ. 2393 ค.ศ.1849 พระปานอายุ 24 ปี จึงบวชแปลงเป็นพระธรรมยุตินิกาย โดยมีพระวชิรญาณเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณรักขิต (สุด) เป็นกรรมวาจารย์ พระอมราภิรักขิต (เกิด) เป็นอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า "ปัญญาสีโล" ต่อมาสอบได้ความรู้เป็นเปรียญธรรมเป็น "พระมหาปาน"

นำธรรมยุติกนิกายไปกัมพูชา

ในปี พ.ศ. 2398 สมเด็จพระหริรักษรามา (พระองค์ด้วง) ขอพระราชทานธรรมยุตินิกายเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาธรรมยุตินิกายในกัมพูชา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้พระมหาปานพร้อมด้วย พระอมราภิรักขิต (เกิด) และพระสงฆ์ 8 รูป อุบาสก 4 คน เดินทางไปสืบศาสนายังกรุงกัมพูชา สมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี ทรงนิมนต์พระมหาปานให้จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลาคู่ (วัดอ์พิลปี) กรุงอุดงค์มีชัย พระมหาปาน ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระอริยวงศ์ พระวิมลธรรม พระมหาวิมลธรรม ตามลำดับ ภายเป็นหลังเป็นสมเด็จพระสุคนธาธิบดี[1]

ผลงานนิพนธ์

สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน) เป็นกวีและปราชญ์ในราชสำนักสมเด็จพระหริรักษรามาธิศราธิบดี กับสมเด็จพระนโรดม ผลงานนิพนธ์ของท่านหลายเรื่องตกทอดมาถึงปัจจุบัน เช่น รบากษัตริย์ (พระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา) ที่แต่งร่วมกับออกญาสุนธรโวหาร (มุก) และลเบิกอังกอร์วัดแบบเก่า (เลฺบีกองฺครวตฺตแบบจาส่) สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน) สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2437 พระชนม์ได้ 68 พรรษา ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของไทยและสมเด็จพระนโรดม (พระองค์ราชาวดี) ของกัมพูชา

ศาสนสัมพันธ์กับสยาม

บทบาทของสมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน) กับการสื่อสารทางการเมืองของไทย เกิดขึ้นตอนที่ พระอมราภิรักขิต (อมโร เกิด) พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ของไทย และในฐานะพระคู่สวด ของพระมหาปานขณะบวชที่วัดบรมนิวาส ที่กรุงเทพมหานคร โดยสมณสาส์นฉบับนี้เป็นการสอบถามข่าวคราวเกี่ยวกับประเทศกัมพูชาภายหลังจากตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส โดยได้ใช้การอ้างอิงข้อความจากพระไตรปิฎกมาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ของประเทศกัมพูชาในเวลานั้น สมณสาส์นฉบับนี้จึงมีความสำคัญในแง่ที่แสดงให้เห็นถึงความคิดของชนชั้นนำของสังคมไทย (โดยเฉพาะกลุ่มพระสงฆ์) ที่มีต่อกัมพูชาเมื่อตกเป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศสได้เป็นอย่างดี [2] แม้จะไม่มีหลักฐานว่าสมเด็จพระสุคนธาธิบดี จะตอบคำถามจดหมายสมณสาส์น หรือไม่ ? / แต่สาระสำคัญทำให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพระพุทธศาสนาไทยและกัมพูชา รวมไปถึงบทบาทของพระสุคนธาธิบดี (ปาน) ในฐานะสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกายรูปแรกในประเทศกัมพูชาด้วยเช่นกัน

พระอมราภิรักขิต (เกิด อมโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ผู้เป็นกัลยาณมิตรกับสมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน)

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก