การใช้งาน ของ สัญกรณ์โอใหญ่

สัญกรณ์โอใหญ่มีการใช้ในสองกรณีด้วยกัน ได้แก่ กรณีเส้นกำกับอนันต์ และ กรณีเส้นกำกับกณิกนันต์ ความแตกต่างระหว่างสองกรณีนี้เป็นความแตกต่างในขั้นการประยุกต์ใช้ มิใช่ในขั้นหลักการ อย่างไรก็ตาม นิยามเชิงรูปนัยของ "โอใหญ่" นั้นเหมือนกันในทั้งสองกรณี มีเพียงลิมิตสำหรับอาร์กิวเมนต์ของฟังก์ชันเท่านั้นที่แตกต่างกัน

กรณีเส้นกำกับอนันต์

สัญกรณ์โอใหญ่มีประโยชน์ในการใช้วิเคราะห์ขั้นตอนวิธี เพื่อหาประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธี ตัวอย่างเช่น สมมติให้เวลา (หรือจำนวนขั้นตอน) ที่ใช้ในการแก้ปัญหาขนาด n มีฟังก์ชันเป็น T ( n ) = 4 n 2 − 2 n + 2 {\displaystyle T(n)=4n^{2}-2n+2}

เมื่อ n มีค่ามากขึ้น พจน์ n2 จะใหญ่ขึ้นครอบงำพจน์อื่น ๆ จนกระทั่งเราสามารถละเลยพจน์อื่น ๆ ได้ ยิ่งไปกว่านั้น สัมประสิทธิ์ของแต่ละพจน์จะขึ้นกับรายละเอียดปลีกย่อยของการนำขั้นตอนวิธีไปปฏิบัติ ตลอดจนฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการดำเนินการ ฉะนั้นจึงสามารถละเลยได้เช่นกัน สัญกรณ์โอใหญ่จะเก็บเฉพาะส่วนที่เหลือจากที่ละเลยได้ข้างต้น จึงเขียนได้ว่า

T ( n ) ∈ O ( n 2 ) {\displaystyle T(n)\in O(n^{2})}

และกล่าวได้ว่า ขั้นตอนวิธีดังตัวอย่างนี้มีความซับซ้อนเชิงเวลาเป็นอันดับของ n2

กรณีเส้นกำกับกณิกนันต์

สัญกรณ์โอใหญ่ยังใช้เพื่อแสดงพจน์ของค่าคลาดเคลื่อนโดยประมาณในฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น

e x = 1 + x + x 2 2 + O ( x 3 ) as   x → 0 {\displaystyle e^{x}=1+x+{\frac {x^{2}}{2}}+{\hbox{O}}(x^{3})\qquad {\hbox{as}}\ x\to 0}

หมายความว่า เมื่อ x มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ ผลต่างของฟังก์ชัน e x {\displaystyle e^{x}} กับ 1 + x + x 2 / 2 {\displaystyle 1+x+x^{2}/2} (หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นความคลาดเคลื่อนของสองฟังก์ชันนี้) จะมีอยู่ในสับเซตของ O ( x 3 ) {\displaystyle O(x^{3})} นั่นเอง หรือเขียนเป็นสัญลักษณ์ว่า

| e x − ( 1 + x + x 2 2 ) | ∈ O ( x 3 ) as   x → 0 {\displaystyle \left|e^{x}-\left(1+x+{\frac {x^{2}}{2}}\right)\right|\in {\hbox{O}}(x^{3})\qquad {\hbox{as}}\ x\to 0}

ใกล้เคียง

สัญกรณ์ระดับเสียงทางวิทยาศาสตร์ สัญกรณ์โอใหญ่ สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ สัญกรณ์บรา-เค็ท สัญกรณ์ส่วนในหลายส่วน สัญกรณ์โพลิช สัญกรณ์ยกกำลัง สัญกรณ์ลูกศรของคนูธ สัญกรณ์คณิตศาสตร์ สัญกรณ์วัตถุจาวาสคริปต์