สันติ-วีณา
สันติ-วีณา

สันติ-วีณา

สันติ-วีณา (อังกฤษ: Santi-Vina) เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2497 เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องยาวเรื่องแรกที่ถ่ายทำด้วยฟิล์มสี 35 มม. (ไวด์สกรีน สีอีสต์แมน เสียงจริงขณะถ่ายทำ) และเป็นผลงานภาพยนตร์ชิ้นแรกของบริษัทหนุมานภาพยนตร์ โดย รัตน์ เปสตันยี ซึ่งเป็นทั้งผู้อำนวยการสร้าง ถ่ายภาพและลำดับภาพ สร้างจากบทประพันธ์ของ โรเบิร์ด จี นอร์ท เขียนบทโดย คุณาวุฒิและมารุต กำกับศิลป์โดย อุไร ศิริสมบัติ และบันทึกเสียงโดย ปง อัศวินิกุล โดยถ่ายทำในระบบ 35 ม.ม. ด้วยจุดเด่นนอกจากเรื่องราวของความรักแล้ว การถ่ายภาพเพื่อแสดงวิถีชีวิตในชนบทไทยยังงดงามตื่นตา สะท้อนความเชื่อทางสังคมขนบประเพณีศาสนา และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรรอบปฐมทัศน์ที่โรงภาพยนตร์เอ็มไพร์ และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลจากการประกวดนานาชาติ [2][3]ภาพยนตร์ สันติ-วีณา ได้ส่งประกวดในงานภาพยนตร์นานาชาติแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 1 ที่กรุงโตเกียว ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้รับ 3 รางวัล คือ ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (รัตน์ เปสตันยี) กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (อุไร ศิริสมบัติ) และรางวัลพิเศษเป็นกล้องถ่ายภาพยนตร์ จากสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งอเมริกา สำหรับภาพยนตร์ที่มีการเผยแพร่วัฒนธรรมดีเด่น[4] และได้ไปฉายประกวดในงานชุมนุมสัปดาห์ภาพยนตร์เอเชีย (Asian Film Week) ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2500 [5] ยังได้รางวัลพิเศษจากสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งอเมริกาเป็นกล้อง Mitchell BNC ในฐานะที่เป็นภาพยนตร์ที่แสดงวัฒนธรรมของเอเชียได้ดี [6] เป็นเสมือนทูตทางวัฒนธรรมเพื่อผูกมิตรกับประเทศสังคมนิยมในขณะนั้น[7] ในช่วงเวลานั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีนโยบายที่จะถ่วงดุลทางการทูตกับสหรัฐอเมริกาที่พยายามเข้ามาแผ่อำนาจเพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ แม้ทางไทยจะต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากอเมริกาแต่ก็พยายามที่จะเป็นมิตรกับประเทศในภูมิภาคอย่างโซเวียตด้วยเมื่อทางสถานทูตรัสเซียขอซื้อภาพยนตร์ สันติ-วีณาไปฉาย เนื่องจากมีรางวัลที่ญี่ปุ่นการันตีทางรัฐบาลไทยก็ยินดีและข่าวที่เผยแพร่ออกมาเป็นรูปแบบของการเผยแพร่ทางวัฒนธรรมและเป็นไปในรูปของเอกชน หลังจาก สันติ-วีณา ไปฉายในต่างประเทศแล้ว วงการภาพยนตร์ไทยก็มีแนวโน้มถ่ายทำในระบบ 35 มม. มากขึ้นเพื่อสะดวกในการนำไปฉายในต่างประเทศ ต่อมารัสเซียติดต่อซื้อภาพยนตร์ 16 มม. เนื่องจากช่วงนั้นส่วนใหญ่ยังนิยมถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. เช่น สาวเครือฟ้า (2496), ศรีปราชญ์ (2500) ภายหลังการประกวด รัตน์นำฟิล์มต้นฉบับของภาพยนตร์กลับประเทศไทย แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าฟิล์มภาพยนตร์ จึงจำเป็นต้องทิ้งฟิล์มเนกาทีฟไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อที่จะส่งกลับไปเก็บรักษาที่ห้องแล็บของบริษัทแรงค์ แลบอราทอรี่ส์ ประเทศอังกฤษ แต่ก็เกิดอุบัติเหตุฟิล์มภาพยนตร์ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่งทางเรือทำให้ฟิล์มภาพยนตร์เรื่อง “สันติ-วีณา” ไม่มีฟิล์มเนกาทีฟหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย[8] แต่มีหลักฐานว่าเมื่อปี พ.ศ. 2500 ทางสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ซื้อก๊อปปี้ไปฉาย จึงอาจจะยังหลงเหลือฟิล์มภาพยนตร์เหลืออยู่ในโลกก็เป็นได้ ในบทความในนิตยสาร investor ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 ยังกล่าวว่า อาจจะเป็นภาพยนตร์ไทยที่ดีที่สุดที่มีการสร้างมา สิ่งที่เกิดเป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นหลังจากอยู่ในสถานะหายสาบสูญมาเนิ่นนาน ปัจจุบันพบว่าฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ที่คลังฟิล์มภาพยนตร์ของ Gosfilmofond ของประเทศรัสเซีย และหอภาพยนตร์แห่งชาติของจีน ซึ่งหอภาพยนตร์กำลังประสานงานเพื่อบูรณะให้นำกลับมาฉายได้ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ [9][10] โดยในเทศกาลภาพยนตร์กาน ครั้งที่ 69 ประจำปี พ.ศ. 2559 ภาพยนตร์เรื่องนี้ในฉบับบูรณะสมบูรณ์ความละเอียด 4K ได้รับเกียรติให้ฉายในสาย Cannes Classic [11][12]ภาพยนตร์ สันติ-วีณา เคยถูกนำมาสร้างใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2519 เขียนบทโดย มารุต กำกับและอำนวยการสร้างโดย สันต์ เปสตันยี นำแสดงโดย นาท ภูวนัย, นัยนา ชีวานันท์, สมภพ เบญจาธิกุล, มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา, เสถียร ธรรมเจริญ, จวง ยอดกลกิจ และพูนพันธ์ รังควร (ผู้รับบทที่เคยรับบทสันติ) รับบทเป็นพ่อ [13]

สันติ-วีณา

ตัดต่อ รัตน์ เปสตันยี
ประเทศ ไทย
บทภาพยนตร์ บทประพันธ์ :
โรเบิร์ด จี นอร์ท
บทภาพยนตร์ :
วิจิตร คุณาวุฒิ
ทวี ณ บางช้าง
วันฉาย 30 ธันวาคม พ.ศ. 2497
ความยาว 119 นาที
กำกับภาพ รัตน์ เปสตันยี
ผู้จัดจำหน่าย หนุมานภาพยนตร์
อำนวยการสร้าง รัตน์ เปสตันยี
นักแสดงนำ พูนพันธ์ รังควร (สันติ)
เรวดี ศิริวิไล (วีณา)
จหมื่นมานพนริศร์ (หลวงตา)
ไพจิต ภูติยศ (ไกร)
วีระชัย แนวบุญเนียร [1]
อนุฉัตร โตษยานนท์
ดลพิบูลย์ ทุมมานนท์
ดนตรีประกอบ นารถ ถาวรบุตร
ภาษา ไทย
กำกับ มารุต

แหล่งที่มา

WikiPedia: สันติ-วีณา http://www.facebook.com/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B... http://www.facebook.com/ThaiFilmArchivePage/photos... http://www.facebook.com/ThaiFilmArchivePage/photos... http://www.facebook.com/classic.santi.vina/photos/... http://www.facebook.com/classic.santi.vina/photos/... http://www.thaifilm.com/articleDetail.asp?id=28 http://www.thaifilmdb.com/th/tt01337/ http://www.youtube.com/watch?v=ZxPcly-0D9Q http://www.youtube.com/watch?v=ajrXRaz6d8E http://www.festival-cannes.fr/en/article/62136.htm...