การเรียกร้องเอกราช ของ สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์

อังกฤษไม่พอใจบทบาทของสันนิบาตฯในช่วงสงครามมากนักเพราะเคยร่วมมือกับญี่ปุ่นมาก่อน ดังนั้นเมื่อสงครามยุติลง อังกฤษจึงประกาศจะกลับมาปกครองพม่าต่อไป สันนิบาตฯจึงประกาศต่อต้านอังกฤษและจัดการชุมนุมอย่างสงบที่พระเจดีย์ชเวดากองเมื่อ พ.ศ. 2489 และไม่ให้ความร่วมมือกับตัวแทนรัฐบาลอังกฤษ อย่างไรก็ตามแนวทางการต่อสู้ของผู้นำสันนิบาตฯก็มีความขัดแย้งกันเอง อองซานต้องการต่อสู้ด้วยสันติวิธีแต่พรรคคอมมิวนิสต์ต้องการสู้ด้วยอาวุธ พรรคคอมมิวนิสต์จึงถูกขับออกจากสันนิบาตฯในที่สุด

การเจรจาระหว่างพม่ากับอังกฤษส่งผลให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญในพม่าเมื่อ พ.ศ. 2490 และมีการลวนามในสนธิสัญญาเวียงปางหลวงกับชนกลุ่มน้อย ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญ อูเซย์วางแผนยึดอำนาจโดยส่งมือปืนเข้าไปสังหารอองซานและรัฐมนตรีอื่นๆเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 หลังจากนั้น อังกฤษตั้งให้อูนุเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญและดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญต่อไปจนแล้วเสร็จ อังกฤษให้เอกราชแก่พม่าเมื่อ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 สันนิบาตฯได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศต่อมา

ใกล้เคียง

สันนิบาตชาติ สันนิบาตอาหรับ สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย สันนิบาตฮันเซอ สันนิบาตดีเลียน สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ สันนิบาตบอลข่าน สันนิบาตสามจักรพรรดิ สันนิบาตอวามี สันนิบาตสาวเยอรมัน