สันสกฤตาภิวัตน์

ในทางสังคมวิทยา สันสกฤตาภิวัตน์ หรือ การทำเป็นสันสกฤต (อังกฤษ: Sanskritisation หรือ Sanskritization) เป็นกระบวนการที่ชนชั้นต่ำกว่าในระบบวรรณะเคลื่อนที่ขึ้นไปตามชนชั้นผ่านการเอาอย่างพิธีกรรมและการปฏิบัติของชนชั้นที่สูงกว่าหรือที่เป็นชนชั้นปกครอง กระบวนการนี้เหมือนกันกับการ "พาสซิง" ในสังคมวิทยา คำว่า “กระบวนการทำเป็นสันสกฤต” นั้นถูกทำให้นิยมขึ้นโดยเอ็ม เอ็น ศรีนิวาส นักวิชาการชาวอินเดียในช่วงทศวรรษ 1950s[1][2][3]ในมุมกว้าง อาจเรียกว่าเป็นกระบวนการ พรหมาภิวัตน์ หรือ การทำเป็นพราหมณ์ (อังกฤษ: Brahmanization[4]) ซึ่งเป็นกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่ธรรมเนียมและขนบทางความเชื่อของท้องถิ่นอินเดียแปรไปตามและรวมเข้ากับธรรมเนียมพราหมณ์, สร้างลักษณะร่วมทั่วทั้งอินเดียของศาสนาฮินดู[4][3][5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สันสกฤตาภิวัตน์ http://www.britannica.com/EBchecked/topic/266312/H... http://laurasianacademy.com/ejvs/ejvs0104/ejvs0104... //doi.org/10.1177%2F006996679803200216 //www.worldcat.org/oclc/5206379 https://www.britannica.com/topic/Rajput https://www.encyclopedia.com/literature-and-arts/l... https://books.google.com/books?id=AumuJ2jtRZIC&pg=... https://books.google.com/books?id=T7FWQ6dzYZQC&q=g... https://books.google.com/books?id=fOZB7MbeMrAC&pg=... https://books.google.com/books?id=m3DjCgAAQBAJ