รัฐธรรมนูญ ของ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา

ร่างครั้งแรก

ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2523 ประธานสภาปฏิวัติประชาชนคือ รส สมัย ได้จัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญโดยเขียนเป็นภาษาเขมร โดยนำรัฐธรรมนูญของเวียดนาม เยอรมันตะวันออก สหภาพโซเวียต ฮังการี และบัลแกเรีย รวมทั้งรัฐธรรมนูญในอดีตของกัมพูชา เช่นของราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐเขมร แต่ร่างของรส สมัย ไม่ผ่านการตรวจสอบของเวียดนาม[3]

การตรวจสอบรัฐธรรมนูญโดยเวียดนาม

การใช้ถ้อยคำในรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาถูกกดดันด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชากับเวียดนาม นายกรัฐมนตรี แปน โสวัณณ์ ยอมรับว่าฝ่ายเวียดนามได้ขอให้แก้ไขถ้อยคำบางคำที่พวกเขาไม่เห็นด้วยในท้ายที่สุด เมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2524 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ที่ได้รับความเห็นชอบจากเวียดนาม โดยกำหนดว่ากัมพูชาเป็นรัฐประชาธิปไตยที่มุ่งไปสู่ความเป็นสังคมนิยม การเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมนิยมนั้นนำโดยลัทธิมาร์ก-เลนิน ทำให้กัมพูชากลายเป็นรัฐบริวารของโซเวียต ศัตรูที่สำคัญของประเทศใหม่คือการขยายตัวของจีน จักรวรรดินิยมอเมริกาและอำนาจอื่น ๆ

ในทางเทคนิค รัฐธรรมนูญได้ยอมรับสิทธิอย่างกว้างเกี่ยวกับเสรีภาพของพลเมืองและสิทธิถือครอง แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการ เช่นจะต้องไม่กระทำการเพื่อให้ร้ายผู้อื่น เปลี่ยนแปลงสังคม ระเบียบสาธารณะ หรือความปลอดภัยแห่งชาติ รัฐธรรมนูญได้ให้หลักการของวัฒนธรรมภายในรัฐบาล การศึกษา สวัสดิการสังคม และสาธารณสุข พัฒนาการด้ายภาษา วรรณกรรม ศิลปะและวิทยาศาสตร์มีความจำเป็นสำหรับการอนุรักษ์วัฒนธรรม การสนับสนุนการท่องเที่ยว และความร่วมมือทางวัฒนธรรมกับประเทศอื่น

องค์ประกอบของรัฐประกอบด้วยสมัชชาแห่งชาติ สภาแห่งรัฐ สภารัฐมนตรี คณะกรรมการปฏิวัติประชาชนท้องถิ่นและระบบศาล ลำดับขั้นของการบริหารเป็นไปตามลัทธิมาร์ก-เลนิน ที่ถือเป็นหลักของประเทศ มีการเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายปกครองและประชาชนระดับรากหญ้า โดยองค์กรที่อยู่ภายใต้การควบคุมของแนวร่วมสามัคคีประชาชาติเพื่อการสร้างและปกป้องชาติ

รัฐธรรมนูญของรัฐกัมพูชา

มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับนโยบายทางด้านตลาดของรัฐกัมพูชา รัฐนี้สืบเนื่องมาจากสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาซึ่งเป็นไปตามนโยบายเปิด-ปรับของมิคาอิล กอร์บาชอฟ ซึ่งทำให้ความช่วยเหลือของสหภาพโซเวียตมายังเวียดนามและกัมพูชาน้อยลง จึงต้องปรับตัวเพื่อให้ได้การยอมรับในระดับนานาชาติมากขึ้น รวมทั้งการใช้ระบบตลาดเสรี

รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาไม่ได้กล่าวถึงตำแหน่งประมุขรัฐซึ่งอาจเป็นการเว้นที่ว่างให้พระนโรดม สีหนุ[3] อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งรัฐกัมพูชากำหนดให้ประธานสภาแห่งรัฐเป็นประมุขรัฐ

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา http://www.peacemakers.ca/research/Cambodia/Cambod... http://www.clermont-filmfest.com/03_pole_regional/... http://www.country-data.com/cgi-bin/query/r-2238.h... http://country-studies.com/cambodia/major-politica... http://www.informaworld.com/index/789073072.pdf http://homepage3.nifty.com/thuan/audio/khm_pr.mid http://www.photius.com/countries/cambodia/governme... http://www.websitesrcg.com/border/documents/Refuge... http://khmernews.wordpress.com/2007/08/03/five-kr-... http://www.hawaii.edu/powerkills/DBG.TAB9.1.GIF