ภูมิหลัง ของ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา

จุดยืนของเขมรแดงในการต่อต้านเวียดนาม

ในระยะเริ่มแรก พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสนับสนุนกลุ่มเขมรแดงในการต่อต้านรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรของนายพลลน นลระหว่าง พ.ศ. 2513 – 2518 แต่ไม่นานหลังจากเขมรแดงขึ้นครองอำนาจ ความขัดแย้งได้เริ่มขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ทหารเขมรแดงบุกยึดเกาะฝูกว๊ก (Phu Quoc) และเกาะโท้เชา (Tho Chau) ฆ่าพลเรือนชาวเวียดนามไป 500 คน เวียดนามตอบโต้การยึดเกาะทั้งสองอย่างรุนแรง สุดท้ายสามารถเจรจากันได้[4]

การฆ่าชนกลุ่มน้อยชาวเวียดนามในกัมพูชาและการทำลายโบสถ์คาทอลิกของเวียดนามเกิดขึ้นตลอดช่วงที่ปกครองด้วยระบอบกัมพูชาประชาธิปไตย,[5] โดยเฉพาะในภาคตะวันออกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 ช่วงต้นปี พ.ศ. 2521 ผู้นำเวียดนามตัดสินใจสนับสนุนผู้ต่อต้านพล พตในกัมพูชา ในขณะที่เขมรแดงก็มีปัญหาทางด้านชายแดนกับเวียดนาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2521 เกิดการลุกฮือ นำโดยโส พิม ในภาคตะวันออกของกัมพูชา วิทยุพนมเปญประกาศว่า ถ้าทหารกัมพูชา 1 คนฆ่าชาวเวียดนามได้ 30 คน ทหารเพียง 2 ล้านคนก็เพียงพอที่จะฆ่าชาวเวียดนามได้ทั้งประเทศ และแสดงความต้องการที่จะยึดดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงคืนจากเวียดนาม ในเดือนพฤศจิกายน ผู้นำเขมรแดงที่นิยมเวียดนามคือวอน เว็ต[6]ก่อการรัฐประหารแต่ไม่สำเร็จ วอน เว็ตถูกจับและถูกประหารชีวิต.[7] มีการโจมตีตามแนวชายแดนกัมพูชา ทำให้ชาวเวียดนามและชาวกัมพูชาต้องลี้ภัยเข้าสู่เวียดนาม

แนวร่วมปลดปล่อย

แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมรเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการโค่นล้มอำนาจของเขมรแดงและก่อตั้งสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา แนวร่วมนี้เป็นองค์กรผสมระหว่างผู้ลี้ภัยที่นิยมและไม่นิยมคอมมิวนิสต์ที่ต้องการโค่นล้มพล พตและสร้างชาติกัมพูชาขึ้นมาใหม่ ผู้นำขบวนการคือเฮง สัมรินและแปน โสวัณณ์ ประกาศก่อตั้งโดยวิทยุฮานอยเมื่อ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2521 โดยเฮง สัมรินเป็นประธานาธิบดี โจรัน พอลลีเป็นรองประธานาธิบดี นอกจากนั้นเป็นกลุ่มเขมรอิสระที่นิยมเวียดมิญ[8]ซึ่งลี้ภัยไปอยู่เวียดนาม รส สมัย เลขาธิการทั่วไปของแนวร่วมเคยเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารในพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา

รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยประกาศว่าแนวร่วมปลดปล่อยเป็นองค์กรทางการเมืองของเวียดนามที่มีชื่อเป็นเขมร เพราะสมาชิกหลักคืออดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาที่นิยมเวียดนาม[9]ซึ่งมีสหภาพโซเวียตหนุนหลังอีกทีหนึ่ง สมาชิกของแนวร่วมปลดปล่อยส่วนใหญ่เป็นเขมรฝ่ายซ้ายที่อยู่ตรงข้ามกับเขมรแดง

การรุกรานของเวียดนาม

ผู้นำเวียดนามตัดสินใจครั้งสุดท้ายที่จะใช้กำลังทางทหารเมื่อ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 กำลังทหารประมาณ 120,000 คน ได้รุกเข้าสู่กัมพูชาทางตะวันออกเฉียงใต้และยึดพนมเปญได้เมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2522 กองทัพเขมรแดงที่พ่ายแพ้ได้ล่าถอยและเผายุ้งข้าวไปหมดทำให้เกิดความอดอยากในกัมพูชาไปจนถึงกลางปี พ.ศ. 2523.[10]

ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2522 คณะกรรมการกลางของแนวร่วมปลดปล่อยประกาศนโยบายเร่งด่วนในการปลดปล่อยการปกครองของเขมรแดง อย่างแรกคือการสลายคอมมูนแบบเดิมและนำพระสงฆ์เข้ามามีบทบาทในชุมชน.[11] มีการจัดตั้งคณะกรรมการปกครองตนเองของประชาชน คณะกรรมการนี้เป็นหน่วยย่อยที่สุดของโครงสร้างการปกครองด้วย[[สภาประชาชนปฏิวัติกัมพูชาที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ 8 มกราคม พ.ศ. 2522 ในฐานะศูนย์กลางการบริหารของสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา และใช้ต่อมาจนถึง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2524 จึงมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้มีการเลือกตั้งสภารัฐมนตรี แปน โสวัณณ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี มีรองนายกรัฐมนตรี 3 คนคือ ฮุนเซน จัน ซี และเจีย สต

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา http://www.peacemakers.ca/research/Cambodia/Cambod... http://www.clermont-filmfest.com/03_pole_regional/... http://www.country-data.com/cgi-bin/query/r-2238.h... http://country-studies.com/cambodia/major-politica... http://www.informaworld.com/index/789073072.pdf http://homepage3.nifty.com/thuan/audio/khm_pr.mid http://www.photius.com/countries/cambodia/governme... http://www.websitesrcg.com/border/documents/Refuge... http://khmernews.wordpress.com/2007/08/03/five-kr-... http://www.hawaii.edu/powerkills/DBG.TAB9.1.GIF