เหตุการณ์ทางการเมืองของสาธารณรัฐเขมร ของ สาธารณรัฐเขมร

ประวัติศาสตร์กัมพูชา
ประวัติศาสตร์ยุคแรก
อาณาจักรฟูนาน (611–1093)
อาณาจักรเจนละ (1093–1345)
จักรวรรดิขแมร์ (1345–1974)
ยุคมืด
สมัยจตุมุข (1974–2068)
สมัยละแวก (2068–2136)
สมัยศรีสันธร (2136–2162)
สมัยอุดง (2162–2406)
ยุครัฐในอารักขา
ไทยและเวียดนาม
อาณานิคมฝรั่งเศส (2406–2496)
ส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส
ยุคญี่ปุ่นยึดครอง (2484–2489)
หลังได้รับเอกราช
สงครามกลางเมืองกัมพูชา
(2510–2518)
รัฐประหาร พ.ศ. 2513
สาธารณรัฐเขมร
สงครามเวียดนาม พ.ศ. 2513
ยุคเขมรแดง
(2518–2519)
สงครามกัมพูชา–เวียดนาม (2518–2532)
สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา
(2522–2536)
การจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติ
ราชอาณาจักรกัมพูชา
(2536–ปัจจุบัน)
หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536

นอกจากจะเข้าร่วมในสงครามอินโดจีนโดยอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มที่นิยมสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา และเวียดนามเหนือแล้ว สาธารณรัฐเขมรยังมีความขัดแย้งกันภายในรัฐบาล ความโดดเด่นทางการเมืองขอสมเด็จงพระนโรดม สีหนุในช่วง พ.ศ. 2493 – 2513 แสดงถึงความเป็นนักการเมืองที่จัดเจนของพระองค์ ในช่วงเริ่มต้น ฝ่ายสาธารณรัฐมีการแบ่งกลุ่มกันภายในเพื่อต่อสู้กับระบอบสีหนุคือฝ่ายของลน นล กับฝ่ายของนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะ นักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะเป็นนายกรัฐมนตรีในปีแรกเนื่องจากลน นล มีปัญหาทางด้านสุขภาพ บทบาทของเจ้าสิริมตะมีความโดดเด่นเนื่องจากรูปแบบการบริหารงานและการเป็นเชื้อพระวงศ์ ความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนหนุ่มสาว และคนในเขตเมือง[8] แม้ว่ายังคงมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ เมื่อลน นลเดินทางกลับมาจากการรักษาตัวที่ฮาวายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2514 ได้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในรัฐบาล โดยเฉพาะกับลน นน น้องชายของลน นลที่มีบทบาทมากในกองทัพ ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2514 ลน นลเข้าครอบงำสภาแห่งชาติในการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่

พ.ศ. 2515: การกำจัดนักองค์ราชวงศ์ สีสุวัตถิ์ สิริมตะ

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515 ลน นลและน้องชายได้กำจัดนักองค์ราชวงศ์ สีสุวัตถิ์ สิริมตะ ให้พ้นจากอำนาจ ลน นนจัดให้นักศึกษาสายอาชีพออกมาเรียกร้องให้เจ้าะสิริมตะลาออก[9] ในที่สุดเจ้าสิริมตะจึงถูกกักบริเวณ[10] ลน นลก้าวขึ้นเป็นประมุขของประเทศ เจง เฮงเข้ามามีบทบาทในรัฐบาลและเซิง งอกทัญ ซึ่งเป็นผู้นำของเขมรเสรีและกองทัพจากขแมร์กรอมเป็นนายกรัฐมนตรี[11] มีกองทัพของสหรัฐฯ ให้การสนับสนุน[12]

ปลายปีนั้น ลน นลประกาศลงสมัครเป็นประธานาธิบดี อิน ตัม และแก้ว อัน ไม่เพียงแต่จะประกาศลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ยังไม่ยอมถอนตัวอีกด้วย[13] การเลือกตั้งสิ้นสุดลงโดยลน นล เป็นฝ่ายชนะ โดยมีการแทรกแซงของรัฐบาล ซึ่งหากดำเนินไปโดยยุติธรรมแล้ว อิน ตัมน่าจะเป็นผู้ชนะ.[13]

สถานการณ์ทางการเมืองยังคงวุ่นวายตลอดปี พ.ศ. 2515 พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามทั้งสองพรรคคือกรมประชาธิปไตยของอิน ตัม และพรรคสาธารณรัฐของเจ้าสิริมตะปฏิเสธการเข้าร่วมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเดือนกันยายน ทำให้พรรคสาธารณรัฐสังคมนิยมของลน นน ชนะอย่างถล่มทลาย เกิดการก่อการร้ายในเมืองหลวงซึ่งคาดว่าเกิดจากการควบคุมของเซิง งอกทัญ[14] ทำให้ทัญที่เพิ่งจะประกาศปิดหนังสือพิมพ์ของเจ้าสิริมตะต้องลาออกและลี้ภัยไปเวียดนามใต้ ฮาง ทุน ฮัก นักการเมืองฝ่ายซ้ายขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[15] ในขณะที่รัฐบาลสาธารณรัฐเขมรอ่อนแอจากความขัดแย้งภายใน กองทัพของเวียดนามเหนือที่รบชนะในปฏิบัติการเจนละได้เข้ามาครอบงำในพื้นที่ตามแนวชายแดนกัมพูชา ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาเข้มแข็งขึ้นในเขตชนบท

พ.ศ. 2516: การเจรจาสงบศึก

ข้อตกลงสันติภาพปารีสเมื่อต้นปี พ.ศ. 2516 ทำให้สงครามกลางเมืองชะงักไประยะหนึ่ง ลน นล ประกาศสงบศึกฝ่ายเดียว แม้ว่ากองทัพของฝ่ายสาธารณรัฐอ่อนแอเต็มที จริง ๆ แล้วมีการติดต่อกันเพียงเล็กน้อยระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐกับฝ่ายเขมรแดงหัวก้าวหน้าคือ ฮู ยวน เวียดนามเหนือกดดันให้พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชายอมรับข้อตกลงสันติภาพ ในขณะที่ยังมีการสู้รบกันบ้างประปราย ผู้นำของเขมรแดงไม่ยอมรับการประนีประนอม

การสู้รบเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 เมื่อกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์โจมตีฝ่ายสาธารณรัฐที่จังหวัดกำปงธม[14] ในเดือนเมษายน กองทัพฝ่ายสาธารณรัฐพ่ายแพ้และเสียฐานที่มั่นในต่างจังหวัด สหรัฐฯ ตัดความช่วยเหลือรัฐบาลของลน นล และพยายามดึงนักงองค์ราชวงศ์ สีสุวัตถิ์ สิริมตะให้เข้ามามีบทบาท และลดบทบาทของลน นน ลง[16] ในวันที่ 24 เมษายน ลน นล ประกาศจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยลน นล, เจ้าสิริมตะ, เจง เฮง และอิน ตัม ความโกรธแค้นสหรัฐอเมริกาที่มาทิ้งระเบิดในกัมพูชาทำให้เขมรแดงได้รับความนิยมมากขึ้น

พ.ศ. 2517: อุดงแตก

ช่วงต้นปี พ.ศ. 2517 ลน นลขึ้นมากุมอำนาจแต่เพียงผู้เดียวอีกครั้ง สถานการณ์ทางทหารเลวร้ายลง กองทัพคอมมิวนิสต์บุกเข้าประชิดพนมเปญและเข้ายึดอุดงค์เมืองหลวงเก่าได้ในเดือนมีนาคม ฝ่ายคอมมิวนิสต์ฆ่าเจ้าหน้าที่ของรัฐและครู เผาเมือง แต่ในที่สุดฝ่ายสาธารณรัฐสามารถเข้ายึดเมืองอุดงค์และเส้นทางเข้าสู่ทะเลสาบเขมรคืนมาได้

สิ้นสุดอำนาจ

ในช่วงฤดูแล้ง พ.ศ. 2518 กองกำลังเขมรแดงได้ยกเข้ามาล้อมพนมเปญไว้ มีผู้อพยพเข้าในเมืองหลวงมากขึ้น ลน นลได้สั่งให้ส่งเฮลิคอปเตอร์ไปคุ้มกันประชาชนเหล่านั้น การได้รับการสนับสนุนจากจีนทำให้ฝ่ายเขมรแดงมีความเข้มแข็งมากกว่า การพยายามเจรจาสันติภาพล้มเหลวเพราะสีหนุปฏิเสธที่จะเจรจากับลน นลโดยตรง แผนสันติภาพที่ฝรั่งเศสเสนอต่อจีนให้สีหนุกลับไปเป็นประมุขของสาธารณรัฐเขมรล้มเหลวเช่นกัน

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2518 ลน นล ได้ประกาศลาออกและลี้ภัยออกนอกประเทศ กองทัพฝ่ายสาธารณรัฐสลายตัวไป เจ้าสิริมตะ, ลอง โบเรต, ลน นน และนักการเมืองอื่น ๆ ยังคงอยู่ในเมืองหลวงเพื่อจะพยายามเจรจาสงบศึกกับฝ่ายเขมรแดง จนกระทั่งเมื่อพนมเปญแตกในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 ฝ่ายเขมรแดงได้ประหารชีวิตนักการเมืองในระบอบเก่าทั้งหมด สาธารณรัฐเขมรจึงล่มสลายลง บริเวณสุดท้ายที่อยู่ภายใต้อำนาจของฝ่ายสาธารณรัฐเขมรคือบริเวณปราสาทเขาพระวิหารบนเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกองทัพฝ่ายสาธารณรัฐสามารถยึดครองไว้ได้ในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2518.[17] และฝ่ายเขมรแดงแย่งชิงมาได้เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2518

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สาธารณรัฐเขมร http://www.newstatesman.com/society/2007/11/khmer-... http://www.youtube.com/watch?NR=1&v=QnGT7qAe0ss http://www.youtube.com/watch?v=30cf7JNQVpY&feature... http://www.youtube.com/watch?v=wvmRYkvTm8E http://www.vietnam.ttu.edu/star/images/239/2390505... http://www.vietnam.ttu.edu/star/images/239/2390505... http://www.vietnam.ttu.edu/star/images/239/2390505... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://www.youtube.com/watch?v=uWDxB0pwuA8