สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

ได้รับการสนับสนุนโดย:
จีน
 สหรัฐ
 สหราชอาณาจักร
เกิดการปะทะ:
ไทย (ปะทะตามชายแดน)
สงครามกัมพูชา-เวียดนามเป็นความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและกัมพูชาประชาธิปไตย สงครามเริ่มขึ้นด้วยการปะทะตามพรมแดนทางบกและทางทะเลของเวียดนามและกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2518 ถึง 2520 ต่อมาในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เวียดนามเริ่มปฏิบัติการรุกรานกัมพูชาเต็มขั้นและยึดครองประเทศได้หลังล้มล้างรัฐบาลเขมรแดงระหว่างสงครามเวียดนาม คอมมิวนิสต์เวียดนามและเขมรแดงเป็นพันธมิตรกันเพื่อสู้รบกับรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรซึ่งมีสหรัฐอเมริกาหนุนหลัง แม้แสดงท่าทีร่วมมืออย่างเปิดเผยกับเวียดนาม แต่ผู้นำเขมรแดงเกรงว่าพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกำลังวางแผนจัดตั้งสหพันธ์อินโดจีนโดยมีเวียดนามเป็นแกนนำ เพื่อชิงตัดหน้าความพยายามของเวียดนามในการครอบงำพวกตน ผู้นำเขมรแดงจึงเริ่มกวาดล้างกำลังพลที่ได้รับการฝึกจากเวียดนามในกองทหารของตนเองเมื่อรัฐบาลลอน นอลยอมแพ้ใน พ.ศ. 2518 จากนั้น ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 กัมพูชาประชาธิปไตยซึ่งเพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่โดยเขมรแดง เริ่มทำสงครามกับเวียดนาม โดยโจมตีเกาะฝูกว๊กของเวียดนาม แม้การสู้รบเกิดขึ้นระหว่างสองประเทศ แต่ผู้นำของเวียดนามหลังการรวมชาติกับกัมพูชานั้นได้แลกเปลี่ยนทางการทูตหลายครั้งตลอด พ.ศ. 2519 เพื่อเน้นความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่สมมติว่าเป็นจริงระหว่างกัน อย่างไรก็ดี เบื้องหลังฉากนั้น ผู้นำกัมพูชายังคงกลัวสิ่งที่พวกเขารับรู้ว่าเป็นการขยายตัวของเวียดนาม เมื่อเป็นเช่นนั้น ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2520 เขมรแดงจึงเริ่มการโจมตีทางทหารครั้งใหญ่ต่อเวียดนามอีกครั้งหนึ่ง เวียดนามเริ่มการตีโต้เพื่อแก้แค้นเมื่อปลาย พ.ศ. 2520 เพื่อพยายามบีบให้รัฐบาลกัมพูชาเจรจา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2521 ทหารเวียดนามถอนออกไปเพราะเป้าหมายทางการเมืองไม่บรรลุผล การสู้รบขนาดเล็กดำเนินไประหว่างสองประเทศตลอด พ.ศ. 2521 เมื่อจีนพยายามไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่าย แต่ไม่บรรลุการประนีประนอมที่ยอมรับได้ จนถึงปลาย พ.ศ. 2521 ผู้นำเวียดนามตัดสินใจรุกเข้าไปในกัมพูชาเพื่อล้มล้างรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยที่มีเขมรแดงบงการอยู่ โดยมองว่าเขมรแดงนิยมจีนและเป็นปรปักษ์ต่อเวียดนามเกินไป วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ทหารเวียดนาม 150,000 นายรุกรานกัมพูชาประชาธิปไตยและชนะกองทัพปฏิวัติกัมพูชาได้ในเวลาเพียงสองสัปดาห์ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2522 ได้จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาที่นิยมเวียดนามในกรุงพนมเปญ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการยึดครองของเวียดนามนานสิบปี ระหว่างช่วงนั้น กัมพูชาประชาธิปไตยของเขมรแดงยังได้รับการรับรองโดยสหประชาชาติเป็นรัฐบาลโดยชอบธรรมของกัมพูชา เพราะกลุ่มต่อต้านติดอาวุธหลายกลุ่มมีการจัดตั้งขึ้นเพื่อสู้รบกับการยึดครองของเวียดนาม หลังฉาก นายกรัฐมนตรีฮุน เซนแห่งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาได้พยายามเจรจากับ รัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยเพื่อเริ่มการเจรจาสันติภาพ ภายใต้แรงกดดันทางการทูตและเศรษฐกิจอย่างหนักจากประชาคมนานาชาติ รัฐบาลเวียดนามจึงเริ่มนำการปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจและต่างประเทศหลายอย่างมาใช้ ซึ่งนำไปสู่การถอนตัวออกจากกัมพูชาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2532ในการประชุมจาการ์ตาอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่สามใน พ.ศ. 2533 ภายใต้แผนสันติภาพกัมพูชาซึ่งออสเตรเลียเป็นผู้สนับสนุน ผู้แทนจากรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยและสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาตกลงจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้น เรียกว่า สภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา บทบาทของสภาแห่งชาติสูงสุด คือ เป็นตัวแทนอธิปไตยของกัมพูชาในเวทีระหว่างประเทศ ขณะที่องค์กรบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชาได้รับมอบหมายให้ดูแลนโยบายภายในประเทศของกัมพูชาจนกระทั่งรัฐบาลกัมพูชาได้รับเลือกตั้งผ่านกระบวนการอันเป็นประชาธิปไตยอย่างสันติ เส้นทางสู่สันติภาพของกัมพูชานั้นพิสูจน์แล้วว่ายากยิ่ง เพราะผู้นำเขมรแดงตัดสินใจไม่เข้าร่วมการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป แต่หันไปเลือกขัดขวางกระบวนการเลือกตั้งโดยโจมตีทางทหารต่อเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติและสังหารผู้อพยพเชื้อชาติเวียดนาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 ขบวนการฟุนซินเปก (FUNCINPEC) ของเจ้าสีหนุชนะพรรคประชาชนกัมพูชา หรืออดีตพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา ในการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป อย่างไรก็ดี ผู้นำพรรคประชาชนกัมพูชาปฏิเสธยอมรับความพ่ายแพ้และพวกเขาประกาศให้จังหวัดทางตะวันออกของกัมพูชา ที่ซึ่งเป็นฐานเสียงส่วนใหญ่ของพรรค แยกตัวออกจากกัมพูชา เพื่อหลีกเลี่ยงผลเช่นนั้น เจ้านโรดม สีหนุ ผู้นำพรรคฟุนซินเปคตกลงจัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคประชาชนกัมพูชา ไม่นานจากนั้น ได้มีการฟื้นฟูราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเขมรแดงถูกประกาศว่าเป็นกลุ่มนอกกฎหมายโดยรัฐบาลกัมพูชาที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่นี้

สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่พฤษภาคม 2518 - กันยายน 2522
การสู้รบขนาดใหญ่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2521 และ 7 มกราคม
(กองทัพเวียดนามรุกรานกัมพูชาประชาธิปไตยกระทั่งพนมเปญแตก)
สถานที่กัมพูชา, ทางใต้ของเวียดนาม, ทางตะวันออกของไทย
ผลลัพธ์ชัยชนะทางทหารของเวียดนาม
สถานที่ กัมพูชา, ทางใต้ของเวียดนาม, ทางตะวันออกของไทย
ผลลัพธ์ ชัยชนะทางทหารของเวียดนาม
วันที่ พฤษภาคม 2518 - กันยายน 2522
การสู้รบขนาดใหญ่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2521 และ 7 มกราคม
(กองทัพเวียดนามรุกรานกัมพูชาประชาธิปไตยกระทั่งพนมเปญแตก)

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม