การปะทะกันทางทหาร ของ สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

การสู้รบและมิตรภาพ พ.ศ. 2518 – 2519

การสิ้นสุดของความขัดแย้งในอินโดจีนเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 ได้ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเวียดนามและกัมพูชาเกือบจะทันที หลังจากที่ทั้งเวียดนามเหนือและเขมรแดงชนะในการสู้รบ ผู้นำของกัมพูชาประชาธิปไตยมองเวียดนามเหนืออย่างไม่ไว้วางใจ เพราะเชื่อว่าพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามมีความคิดที่จะจัดตั้งสมาพันธรัฐอินโดจีน โดยมีเวียดนามเป็นผู้นำ[5] ดังนั้น รัฐบาลกัมพูชาจึงตัดสินใจให้เคลื่อนย้ายทหารเวียดนามเหนือทั้งหมดออกนอกประเทศ หลังจากที่พวกเขายึดพนมเปญได้ใน พ.ศ. 2518 การปะทะกันของทั้งสองประเทศเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 โดยเขมรแดงโจมตีเกาะฝูกว๊ก ซึ่งอ้างว่าเป็นดินแดนของกัมพูชา

พล พต ผู้นำกัมพูชาที่ต่อต้านเวียดนาม

ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 เขมรแดงเข้าโจมตีเกาะโถเจา และฆ่าชาวเวียดนามไป 500 คน ทหารเวียดนามได้เข้าโจมตีทหารกัมพูชาที่เกาะทั้งสองแห่ง และเข้ายึดครองเกาะปูลูไวของกัมพูชาไว้ด้วย[5] ต่อมา ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2518 พล พตได้ไปเยือนฮานอยและมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างกัน และในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2518 เวียดนามได้คืนเกาะไวให้กัมพูชา

หลังจากเหตุการณ์นี้ ทั้งสองประเทศพยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2519 เวียดนามแสดงความยินดีกับเขียว สัมพัน พล พตและนวน เจีย ในการขึ้นมาเป็นผู้นำกัมพูชาประชาธิปไตย และเวียดนามยังได้เตือนกัมพูชาเกี่ยวกับการทิ้งระเบิดของสหรัฐที่เสียมราฐเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 กัมพูชาได้ส่งสารแสดงความยินดีกับรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลแห่งเวียดนามใต้ หลังการโค่นล้มระบอบที่สนับสนุนโดยสหรัฐ

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2519 เมื่อมีการตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม หลังการรวมประเทศ วิทยุพนมเปญได้ประกาศถึงความเป็นมิตรระหว่างสองประเทศ[6] แตในเดือนเดียวกันนั้น ก็เริ่มเกิดความตึงเครียดระหว่างกัน ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นวันแรกที่มีการคมนาคมทางอากาศเชื่อมต่อกันระหว่าง ฮานอย โฮจิมินห์ซิตี และพนมเปญ ในเดือนธันวาคม เขมรแดงได้แสดงความยินดีในการประชุมสมัชชาครั้งที่ 4 ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

พ.ศ. 2520 เริ่มต้นสงคราม

จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2519 เขมรแดงและเวียดนามพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เวียดนามถือว่าตนเป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะได้ให้ความช่วยเหลือเขมรแดงเช่นเดียวกับขบวนการปะเทดลาวในการต่อสู้เพื่อสถาปนาระบอบคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามเหนือกับเขมรแดงไม่ราบรื่นตั้งแต่ พ.ศ. 2516 ที่มีการปะทะระหว่างฝ่ายเดียวกันเอง อิทธิพลของเวียดนามในพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาลดลง เมื่อสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง กลุ่มที่นิยมเวียดนามในพรรคถูกขับออกจากพรรค

เมื่อพล พตและเอียง ซารีขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในเดือนกันยายน พ.ศ. 2519 นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ฝ่าม วัน ดง และเลขาธิการทั่วไปของพรรคคอมมิวนิสต์คือเล ส่วน ได้ประณามทั้งพล พตและเอียง ซารีว่าเป็นคนเลว เพราะนิยมความคิดแบบจีน ในการประชุมที่สถานทูตสหภาพโซเวียตเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 รัฐบาลที่พนมเปญมีความหวาดระแวงเวียดนามที่พยายามเข้ามาแทรกแซงพรรคคอมมิวนิสต์ในกัมพูชาและลาวโดยใช้สมาชิกที่ผ่านการอบรมจากเวียดนาม ทำให้เขมรแดงพยายามขับกลุ่มที่ผ่านการอบรมจากเวียดนามเหนือออกจากพรรค

ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 2ปีที่ไซ่ง่อนแตก เขมรแดงได้โจมตีจังหวัดอังเกียงและจังหวัดเจาดอก ฆ่าชาวเวียดนามไปราวร้อยคน ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2520 กองทัพประชาชนเวียดนามได้ส่งทหารเข้าไปในพื้นที่ยึดครองและเรียกร้องให้มีการเจรจาในระดับสูง ในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2520 เขมรแดงได้ประกาศให้เวียดนามถอนตัวออกจากพื้นที่พิพาทและกำหนดเขตปลอดทหารขึ้นมา[7]

ทั้งสองฝ่ายต่างปฏิเสธข้อเสนอซึ่งกันและกัน กองทัพปฏิวัติกัมพูชาได้ส่งทหารข้ามพรมแดนไปโจมตีชาวเวียดนามอีกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2520 และได้ทำลายหมู่บ้านไป 6 หมู่ในในจังหวัดซองทับ และได้รุกเข้าไปในจังหวัดต่ายนิญ 10 กิโลเมตร และฆ่าชาวเวียดนามไปกว่าพันคน ทำให้ฝ่ายเวียดนามส่งทหารกว่า 60,000 คนเข้าโจมตีกัมพูชา และได้ข้ามพรมแดนเช้าไปในกัมพูชาเมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2520 และเรียกร้องให้เขมรแดงออกมาเจรจา ในการรบภาคสนาม เวียดนามเป็นฝ่ายชนะอย่างรวดเร็ว สามารถบุกเข้ามาในจังหวัดสวายเรียงได้ ต่อมาในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เขียว สัมพันออกมาประกาศขอให้ถอนทหารออกไป ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2521 เวียดนามตัดสินใจถอนทหารออกไป โดยมีการประหารนักโทษจำนวนมาก และมีผู้อพยพออกไปเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือฮุน เซน[8]

การเตรียมการเพื่อการเปลี่ยนแปลงระบบ พ.ศ. 2521

ตราของแนวร่วมประชาชาติกู้ชาติกัมพูชาในพนมเปญหัวกะโหลกของเหยื่อในการสังหารหมู่บาชุก

รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยถือว่าการที่เวียดนามยอมถอนทหารถือเป็นชัยชนะ จึงยังไม่หยุดการต่อต้านเวียดนาม ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2521 กองทัพกัมพูชาพยายามรุกรานเวียดนามที่จังหวัดห่าเตียน ในที่สุด ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2521 เวียดนามจึงเริ่มระดมพลชาวกัมพูชาเพื่อโค่นล้มระบอบเขมรแดงในช่วง 9 มกราคม - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 ฝั่ม วัน ด่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเวียดนามได้เดินทางไปเยือนปักกิ่งบ่อยครั้ง เพื่อเจรจาถึงปัญหารัฐบาลกัมพูชา ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2521 จีนพยายามเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างเวียดนามกับกัมพูชา ในพื้นที่ภาคตะวันออกของกัมพูชา เกิดการต่อต้านรัฐบาลมาก พล พตได้แก้ปัญหาโดยการนำทหารจากทางตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปยังภาคตะวันออกเพื่อกำจัดทรราชย์ที่ซ่อนเร้น โส พิม ผู้นำฝ่ายต่อต้านฆ่าตัวตาย ส่วนเฮง สัมรินหนีไปเวียดนาม ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2521 กัมพูชาได้เรียกร้องให้เวียดนามเจรจาโดยยอมรับอธิปไตยของกัมพูชาแต่เวียดนามปฏิเสธ ทหารกัมพูชาได้รุกข้ามเส้นเขตแดนเข้าไปยังเวียดนาม 2 กิโลเมตร ฆ่าชาวเวียดนามไปมากกว่า 3,000 คน ในหมู่บ้านบาชุก จังหวัดอันเกียง

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2521 กองทัพอากาศเวียดนาม เริ่มเข้ามาทิ้งระเบิดในกัมพูชาตามแนวชายแดน ผู้นำฝ่ายต่อต้านในภาคตะวันออกหนีไปเวียดนามและได้จัดตั้งกองทัพปลดปล่อยโดยมีเวียดนามสนับสนุน พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามมองว่าจีนเป็นมหาอำนาจที่จะเข้ามาแทนที่สหรัฐและเขมรแดงเป็นตัวแทนของจีน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องโค่นล้มรัฐบาลเขมรแดงออกไป ในช่วงครึ่งปีหลังของ พ.ศ. 2521 สื่อเวียดนามเริ่มนำเสนอภาพที่โหดร้ายของระบอบพล พตส่งกองทัพฝ่ายต่อต้านแทรกซึมเข้าไปในกัมพูชา และขอแรงสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2521 วิทยุเวียดนามเริ่มออกประกาศชักชวนให้ฝ่ายต่อต้านลุกฮือต่อต้านเขมรแดง

จุดเปลี่ยนที่สำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างจีน-เวียดนามและสหภาพโซเวียต-เวียดนามคือการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างเวียดนามกับสหภาพโซเวียตเมื่อ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 จากนั้นได้มีการเตรียมการเพื่อรุกรานกัมพูชา โดยมีนายพลเล ดึ้ก แอ็ญเป็นผู้บังคับบัญชา ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2521 จีนได้กล่าวเตือเวียดนามว่าความอดทนของจีนมีจำกัด กองทัพของเขมรแดงได้รับการสนับสนุนจากจีน โดยจีนเริ่มสนับสนุนเขมรแดงมากขึ้นเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและกัมฑุชาเลวร้ายลงใน พ.ศ. 2521

ต่อมาเวียดนามได้ประกาศจัดตั้งแนวร่วมประชาชาติกู้ชาติกัมพูชาในพื้นที่ปลดปล่อยของกัมพูชา รัฐบาลฮานอยได้กล่าวว่าขบวนการนี้เป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ของกัมพูชาที่เป็นอิสระ เฮง สัมรินที่เคยเป็นทหารเขมรแดงมาก่อนเป็นประธาน ก่อนหน้านี้ แนวร่วมนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลแห่งกัมพูชาที่ประกอบไปด้วยทหารกัมพูชาประมาณ 300 คน กลยุทธนี้คล้ายคลึงกับการบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอเมื่อ พ.ศ. 2511[9]

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม