การรุกรานกัมพูชา ของ สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

ในช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 เวียดนามได้เริ่มรุกรานกัมพูชาโดยข้ามเส้นเขตแดนเข้าไปโจมตีกัมพูชา แม้ว่ากัมพูชาจะได้รับความช่วยเหลือจากจีนก็สู้เวียดนามไม่ได้ ในท้ายที่สุด วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เวียดนามได้รุกรานเข้าสู่กัมพูชาเต็มรูปแบบโดยใช้ทหาร 150,000 คนและใช้กองทัพอากาศสนับสนุน กองทัพปฏิวัติกัมพูชาสามารถต้านทานกองทัพเวียดนามได้เพียงสองสัปดาห์ ก็พ่ายแพ้ กองทัพฝ่ายเขมรแดงถอยทัพไปทางตะวันตกของกัมพูชา ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2522 กองทัพเวียดนามเข้าสู่พนมเปญได้ พร้อมกับสมาชิกแนวร่วมประชาชาติฯ และได้จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาโดยเฮง สัมรินเป็นประมุขรัฐ และแปน โสวัณเป็นเลขาธิการทั่วไปของพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา[10]

กองทัพเขมรแดงได้ถอยทัพไปยังชายแดนประเทศไทย และได้รับอย่างอบอุ่นจากรัฐบาลไทย สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาพยายามที่จะฟื้นฟูประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเนื่องจากถูกทำลายในสมัยเขมรแดง คนที่มีการศึกษาถูกสังหารในสมัยเขมรแดง บางส่วนต้องอพยพไปนอกประเทศ การพัฒนาประเทศมีอุปสรรคเนื่องจากมีกลุ่มต่อต้านเวียดนามที่ต่อต้านรัฐบาล ทางภาคตะวันตกของกัมพูชา

การตอบสนองของประชาคมนานาชาติ

หลังจากพนมเปญแตกเนื่องจากกองทัพเวียดนามเข้าโจมตีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2522 ตัวแทนของกัมพูชาประชาธิปไตยได้เรียกร้องให้มีการประชุมฉุกเฉินของสภาความมั่นคงแห่งประชาชาติ พระนโรดม สีหนุได้เป็นตัวแทนของระบบนี้ แม้ว่าสหภาพโซเวียดและเชโกสโลวะเกียจะปฏิเสธแต่สหประชาชาติก็รับคำร้อง อย่างไรก็ตาม พระนโรดม สีหนุได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับหัวข้อทางด้านสิทธิมนุษยชนของเขมรแดง โดยพระองค์กล่าวหาว่าเวียดนามทำลายอธิปไตยของกัมพูชา พระองค์ต้องการให้สมาชิกสหประชาชาติทั้งหมดงดให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนาม และไม่ยอมรับระบบการปกครองที่สถาปนาโดยเวียดนาม ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกถาวรของสภาความมั่นคง 7 ประเทศ ได้เสนอให้มีการสงบศึก และให้ถอนกองกำลังต่างชาติออกจากกัมพูชาซึ่งได้รับการรับรองโดยจีน ฝรั่งเศส นอร์เวย์ โปรตุเกส สหรัฐและสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม แผนการนี้ไม่ได้รับการรับรองโดยสหภาพโซเวียตและเชโกสโลวะเกีย ซึ่งถือว่าเวียดนามไม่ได้รุกรานกัมพูชา แต่เป็นความต้องการที่จะหยุดยั้งระบอบของพล พตที่บ่อนทำลายความมั่นคงของอินโดจีน[11]

ระหว่าง 16–19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 เวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาได้จัดให้มีการประชุมเพื่อลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างกัน[12] มาตรา 2 ของสนธิสัญญาได้ระบุว่าความปลอดภัยของเวียดนามและกัมพูชาได้เกี่ยวข้องกันและจะต้องป้องกันซึ่งกันและกัน ทำให้การคงอยู่ของทหารเวียดนามในกัมพูชาเป็นเรื่องถูกกฎหมาย หลังจากนั้น สหภาพโซเวียต ประเทศสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกและอินเดียได้ประกาศรับรองสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา โดยสหภาพโซเวียตชื่นชมกับการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา และประณามเขมรแดงว่าเป็นทรราชย์ที่มีจีนสนับสนุน

ในการประชุมทั่วไปของสหประชาชาติครั้งที่ 34 ตัวแทนของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาและกัมพูชาประชาธิปไตยต่างอ้างว่าเป็นตัวแทนของประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาได้รับการรับรองจากสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแต่สหประชาชาติยอมรับกัมพูชาประชาธิปไตย แม้จะมีปัญหาเรื่องการนองเลือด ในที่สุดตัวแทนของกัมพูชาประชาธิปไตยได้รับการยอมรับในการประชุมทั่วไปโดยจีนให้การสนับสนุนอย่างมาก ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2523 มี 29 ประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ในขณะที่อีกเกือบ 80 ประเทศยังคงยอมรับกัมพูชาประชาธิปไตย ในเวลาเดียวกัน มหาอำนาจตะวันตกและกลุ่มอาเซียนได้ประณามการใช้กำลังทหารโค่นล้มเขมรแดงของเวียดนาม

ประเทศไทยที่เป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดของกัมพูชา และระแวงการรุกรานของเวียดนามได้เรียกร้องให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์สนับสนุนท่าทีของไทย อาเซียนมองว่าการรุกรานกัมพูชาของเวียดนามเป็นการยึดครองที่สหภาพโซเวียตสนับสนุน จีนมีความเห็นในทำนองนี้เช่นกัน สหรัฐซึ่งไม่เคยรับรองรัฐบาลของเขมรแดงได้สนับสนุนสมาชิกภาพของกัมพูชาประชาธิปไตยในสหประชาชาติ และเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องที่ให้ถอนทหารเวียดนามออกจากกัมพูชา

จีนรุกรานเวียดนาม

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 จีนได้ต่อต้านการรุกรานกัมพูชาของเวียดนามโดยการโจมตีตามแนวชายแดนจีน-เวียดนาม จีนสามารถยึดครองเกาบังได้วันที่ 2 มีนาคม และลาวเซินในวันที่ 4 มีนาคม และมุ่งหน้าไปยังฮานอย แต่การส่งกำลังบำรุงไม่ดีพอ ในอีกไม่กี่วันต่อมา จีนสามารถบุกลึกเข้าไปได้อีกในเวียดนาม แต่เนื่องจากจีนได้รับความเสียหาย ทหารจีนเสียชีวิตมากกว่าทหารเวียดนาม ทำให้จีนต้องยุติการสู้รบ

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม