เกษตรกรรม ของ สาธารณรัฐโรมัน

ในระหว่างสงครามพิวนิกอันยาวนานนั้นเอง ก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางวัฒนธรรมและทางการเมืองในกรุงโรม อันเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความมั่งคั่งและความสำเร็จทางด้านการทหารของกรุงโรม เชื่อว่าเมื่อกรุงโรมพิชิตกรีกได้นั้น กรุงโรมค่อยๆตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางวัฒนธรรมของกรีก ทั้งความฟุ่มเฟือยและความเป็นปัจเจกนิยม สิ่งเหล่านี้ได้กัดกร่อนความเป็นอนุรักษนิยมและความเห็นแก่ส่วนรวมของชาวโรมัน การทำสงครามได้นำความมั่งคั่งและทาสจำนวนมากมาสู่สาธารณรัฐโรมันโดยเฉพาะแถบภาคกลางของอิตาลี ชาวโรมันได้นำระบบเกษตรกรรมแบบกรีกที่เรียกว่า "ลาติฟุนเดีย" มาใช้ ระบบลาติฟุนเดียเป็นระบบเกษตรกรรมเพื่อกำไร ผลิตผลหลักได้แก่ องุ่น (เพื่อผลิตไวน์), มะกอก (เพื่อผลิตน้ำมันมะกอก), ขนแกะ (เพื่อผลิตเครื่องนุ่งห่ม) เป็นต้น ระบบนี้ได้แปรเปลี่ยนผืนนาเล็กๆจำนวนมากทางใต้ของอิตาลีกลายเป็นผืนนาขนาดใหญ่ เกษตรกรรายย่อยต่างขายที่ดินของตนเองและอพยพเข้าสู่เมืองต่างๆ

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน