การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด ของ สาธารณสุขในประเทศไทย

การศึกษาโดยกระทรวงสาธารณสุขและเวลคัมทรัสต์ของบริเตนในเดือนกันยายน 2559 พบว่า มีบุคคลเสียชีวิต 2 คนต่อชั่วโมงจากการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายชนิดในประเทศไทย อัตราดังกล่าวสูงกว่าในทวีปยุโรปมาก การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมในมนุษย์และปศุสัตว์นำสู่การเพิ่มจำนวนจุลชีพดื้อยา ทำให้เกิด "ซูเปอร์บั๊ก" สายพันธุ์ใหม่ที่ต้องใช้ยา "ทางเลือกสุดท้าย" ที่มีผลข้างเคียงเป็นพิษมารักษาเท่านั้น ในประเทศไทย ยาปฏิชีวนะสามารถหาซื้อได้ทั่วไปในร้านขายยารวมทั้งร้านสะดวกซื้อบางที่โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา แบคทีเรียดื้อยาสามารถติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงระหว่างมนุษย์กับสัตว์ฟาร์ม เนื้อที่บริโภคหรือสิ่งแวดล้อม มักใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันมากกว่ารักษาโรค[10]

ในเดือนพฤศจิกายน 2559 ประเทศไทยประกาศเจตนาลดการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ (antimicrobial-resistant หรือ AMR) เหลือครึ่งหนึ่งภายในปี 2564 โดยมุ่งลดการใช้ยาปฏิชีวนะในมนุษย์ร้อยละ 20 และในสัตว์ร้อยละ 30 ประเทศไทยมีผู้ป่วย AMR ประมาณ 88,000 คนต่อปี มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 38,000 คนต่อปี ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ 42,000 ล้านบาท[11]

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สาธารณสุขในประเทศไทย http://www.bangkokpost.com/archive/cancer-causing-... http://www.bangkokpost.com/news/general/1140349/th... http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/1154265... http://nationmultimedia.com/2008/11/25/national/na... http://www.prachatai.com/english/node/6750 http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/antibioti... http://hivinsite.ucsf.edu/global?page=cr08-th-00 http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/profiles/Thailand.pdf http://www.who.int/countryfocus/cooperation_strate... http://www.who.int/gho/countries/tha.pdf