โรคติดเชื้อ ของ สาธารณสุขในประเทศไทย

โรคติดเชื้อสำคัญในประเทศไทย เช่น ท้องร่วงจากแบคทีเรีย ตับอักเสบ ไข้เด็งกี มาลาเรีย สมองอักเสบญี่ปุ่น โรคพิษสุนัขบ้าและโรคฉี่หนู[3] ความชุกของวัณโรคอยู่ที่ 189 ต่อ 100,000 ประชากร[2]

เอชไอวี/เอดส์

นับแต่มีรายงานเอชไอวี/เอดส์ครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2527 มีผู้ใหญ่ป่วย 1,115,415 คนจนถึงปี 2551[4] และมีผู้เสียชีวิต 585,830 คนตั้งแต่ปี 2527 ในปี 2552 ความชุกของเอชไอวีในผู้ใหญ่คิดเป็นร้อยละ 1.3[5] ในปี 2552 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความชุกของเอชไอวีสูงสุดในทวีปเอเชีย[6]

รัฐบาลเริ่มพัฒนาการสนับสนุนต่อผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ และจัดหาทุนแก่กลุ่มสนับสนุนเอชไอวี มีการเริ่มโครงการสาธารณะเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยง แต่ยังมีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยอยู่ รัฐบาลจัดทุนสนับสนุนโครงการยาต้านรีโทรไวรัส และในเดือนกันยายน 2549 มีผู้ป่วยกว่า 80,000 คนได้รับยาดังกล่าว

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐดำเนินการศึกษาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขของไทยเพื่อสืบสวนประสิทธิภาพของการให้ยาแก่ผู้ฉีดยาเสพติดเข้าเส้นด้วยยาต้านรีโทรไวรัสทีโนโฟเวียร์ทุกวันเป็นมาตรการป้องกัน มีการออกผลการศึกษาในกลางเดือนมิถุนายน 2556 และเปิดเผยว่าสามารถลดอุบัติการณ์ของไวรัสในหมู่ผู้ได้รับยาร้อยละ 48.9 เทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับยาหลอก[7]

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สาธารณสุขในประเทศไทย http://www.bangkokpost.com/archive/cancer-causing-... http://www.bangkokpost.com/news/general/1140349/th... http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/1154265... http://nationmultimedia.com/2008/11/25/national/na... http://www.prachatai.com/english/node/6750 http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/antibioti... http://hivinsite.ucsf.edu/global?page=cr08-th-00 http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/profiles/Thailand.pdf http://www.who.int/countryfocus/cooperation_strate... http://www.who.int/gho/countries/tha.pdf