ไข้เด็งกี
ไข้เด็งกี

ไข้เด็งกี

ไข้เด็งกี (อังกฤษ: Dengue fever) หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง จนกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี (Dengue hemorrhagic fever) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมา หรือรุนแรงมากขึ้นเป็นกลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (Dengue shock syndrome) ซึ่งมีความดันโลหิตต่ำอย่างเป็นอันตรายได้ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงหลายสปีชีส์ในจีนัส Aedes โดยเฉพาะ A. aegypti หรือยุงลายบ้าน ไวรัสเด็งกีมีชนิดย่อยอยู่สี่ชนิด การติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งมักทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้น ๆ ไปตลอดชีวิต แต่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเด็งกีชนิดอื่น ๆ ในเวลาสั้น ๆ การติดเชื้อไวรัสเด็งกีชนิดอื่นในภายหลังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การป้องกันโรคทำโดยลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์และจำนวนของยุง และป้องกันมิให้ยุงลายกัด เพราะวัคซีนในทางพาณิชย์ยังมีข้อจำกัดในการนำมาใช้ยังไม่มีวิธีจำเพาะในการรักษาไข้เลือดออก การรักษาหลัก ๆ เป็นการรักษาประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงรักษาโดยการคืนน้ำ อาจใช้การกินทางปากหรือการให้ทางหลอดเลือดดำ และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงรักษาโดยให้สารน้ำหรือเลือดหรือองค์ประกอบของเลือดทางหลอดเลือดดำ อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อ 50-100 ล้านคนต่อปี โรคนี้มีการอธิบายเอาไว้ครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 1779 ส่วนไวรัสที่เป็นสาเหตุและกลไกการติดต่อนั้นค้นพบเมื่อช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ไข้เลือดออกได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งทั่วโลก มีประเทศที่เป็นพื้นที่ระบาดมากกว่า 110 ประเทศ ปัจจุบันนอกจากความพยายามลดจำนวนยุงแล้วยังมีความพยายามพัฒนาวัคซีนและยาที่ออกฤทธิ์โดยตรงกับไวรัสด้วย

ไข้เด็งกี

อาการ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ ผื่น[1][2]
สาขาวิชา โรคติดเชื้อ
ระยะดำเนินโรค 2–7 วัน[1]
ความชุก 50 ถึง 528 ล้านคนต่อปี[5]
สาเหตุ ไวรัสเด็งกีจากยุงลาย (Aedes)[1]
วิธีวินิจฉัย ตรวจพบแอนติบอดีต่อไวรัสหรืออาร์เอ็นเอไวรัส[2]
ภาวะแทรกซ้อน เลือดออก ระดับเกล็ดเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำจนช็อก[2]
การรักษา การบำบัดประคับประคอง สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การเติมเลือด[2]
การเสียชีวิต ~20,000[6]
การตั้งต้น 3–14 วันหลังได้รับเชื้อ[2]
ชื่ออื่น Dengue, breakbone fever[1][2]
โรคอื่นที่คล้ายกัน มาลาเรีย, ไข้เหลือง, ตับอักเสบเหตุไวรัส โรคฉี่หนู[3]
การป้องกัน วัคซีนไข้เด็งกี ลดการสัมผัสยุง[1][4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไข้เด็งกี http://en.tempo.co/read/news/2016/10/17/310812742/... http://edition.cnn.com/2016/04/06/health/dengue-fe... http://www.diseasesdatabase.com/ddb3564.htm http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S11987... http://www.emedicine.com/med/topic528.htm http://books.google.com/books?id=nsh48WKIbhQC&pg=P... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=061 http://www.nature.com/nrmicro/journal/v8/n12_supp/... http://www.neurologyindia.com/article.asp?issn=002... http://www.sanofipasteur.com/en/articles/dengvaxia...