โครงสร้าง ของ สารประกอบโคออร์ดิเนชัน

พันธะเคมี

พันธะที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมกลางและอะตอมผู้ให้เป็นพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ หรือพันธะเดทีฟ (Dative bond) ที่เกิดจากอะตอมผู้ให้มีการใช้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (lone pair) หรือคู่อิเล็กตรอน (electron pair) ในการสร้างพันธะ โดยให้ (donate)คู่อิเล็กตรอนแก่อะตอมกลาง หรือเรียกว่า อะตอมผู้ให้ โคออร์ดิเนต (coordinate)กับอะตอมกลาง กรณีที่คีเลติงลิแกนด์สร้างพันธะกับอะตอมกลาง เราอาจะเรียกได้ว่า อะตอมกลางถูก คีเลต (chelate) โดยลิแกนด์

รูป 3: โมเลกุลเอทิลีนไดเอมีน ให้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของไนโตรเจนแก่อะตอมของโลหะ พันธะที่เกิดขึ้นเป็นพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ แสดงด้วยลูกศร

อย่างไรก็ตาม การอธิบายพันธะเคมีของสารประกอบโคออร์ดิเนชันให้สอดคล้องกับสมบัติทางกายภาพ เช่น สมบัติเชิงแสง สีของสารประกอบ สมบัติแม่เหล็ก ได้มีการเสนอแนวคิดและทฤษฎีขึ้นหลายทฤษฎี อาทิ

กรด−เบสลิวอิส

เนื่องจากการเกิดพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์เกี่ยวข้องการให้−รับคู่อิเล็กตรอน โดยลิแกนด์เป็นตัวให้คู่อิเล็กตรอนแก่อะตอมกลางจึงจัดเป็นเบสตามนิยามของลิวอิสหรือ เบสลิวอิส (Lewis base) ส่วนอะตอมกลางซึ่งรับอิเล็กตรอนมาจากลิแกนด์จึงเป็นกรดตามนิยามของลิวอิส หรือ กรดลิวอิส (Lewis acid)โดยสารประกอบที่เกิดขึ้นเรียกว่า แอดดักต์ (adduct) ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นสารประกอบโคออร์ดิเนชันหรือแอดดักต์ที่เกิดจากแอมโมเนียให้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (เบสลิวอิส)แก่อะตอมโบรอนในโมเลกุลโบรอนไตรฟลูออไรด์ (กรดลิวอิส)เกิดเป็นแอดดักต์ H3N—BF3

รูปทรงเรขาคณิต

การแสดงโครงสร้างของโมเลกุลสารประกอบโคออร์ดิเนชันสามารถแสดงได้ด้วยรูปทรงเรขาคณิต โดยเป็นการแสดงสิ่งแวดล้อมรอบๆอะตอมกลาง โดยรูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุลจะถูกกำหนดโดยสมบัติทางเคมีโคออร์ดิเนชันของอะตอมกลาง เช่น โคบอลต์มักจะมีเลขโคออร์ดิเนชันเท่ากับ 4 และ 6 โดยมีรูปทรงเรขาคณิตเป็นทรงสี่หน้าและทรงแปดหน้าตามลำดับ ในขณะที่นิกเกิลที่มีเลขโคออร์ดิเนชันเท่ากับ 4 จะมีรูปทรงเรขาคณิตเป็นระนาบจัตุรัส


  • เส้นตรง (linear)เช่น [CuCl2]–, [Ag(NH3)2]+
  • สามเหลี่ยมแบนราบ (trigonal planar)เช่น [HgI3]−
  • ระนาบจัตุรัส (square planar)เช่น [AuCl4]–, [PtCl4]2–
  • Fe(CO)5
  • พีระมิดฐานจัตุรัส (square pyramidal) เช่น [NbCl4(O)]–, [V(acac)2(O)
  • รูปทรงแปดหน้า (octahedral)เช่น [Cr(H2O)6]3+, [Fe(CN)6]3–
  • ปริซึมสามเหลี่ยม (prismic trigonal) เช่น Mo(SCHCHS)3
  • พีระมิดคู่ฐานห้าเหลี่ยม (pentagonal bipyramidal)เช่น [Nb(O)(ox)3]3–
  • แอนติปริซึมจัตุรัส (square antiprism) เช่น [Mo(CN)8]4–, [ReF8]2–

ใกล้เคียง

สารประกอบโคออร์ดิเนชัน สารประกอบอินทรีย์ สารประกอบ สารประกอบอะลิฟาติก สารประกอบของแก๊สมีสกุล สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบไอออนิก สารประกอบออร์กาโนฟอสฟอรัส สารปรอท สารประกอบเฮเทอโรไซคลิก