การตอบสนองภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวได้ ของ สารเสริมภูมิคุ้มกัน

ความเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวได้ เพื่อช่วยยืนยันกลไกการเสริมฤทธิ์ในการเสริมสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวได้ต่อแอนติเจนจำเพาะของวัคซีน ควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:

  • เซลล์ตอบสนองภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติ เช่น เซลล์เดนดริติกจะกลืนจุลชีพก่อโรคผ่านกระบวนการที่เรียกว่าฟาโกไซโทซิส
  • จากนั้นเซลล์เดนดริติกจะย้ายไปยังต่อมน้ำเหลืองซึ่งเซลล์ที (เซลล์ภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวได้) รอสัญญาณเพื่อกระตุ้นการทำงาน[24]
  • ในต่อมน้ำหลือง เซลล์เดนดริติก จะตัดแบ่งเชื้อโรคที่ถูกกลืนเข้าไป แล้วแสดงเป็นแอนติเจนบนผิวของเซลล์ โดยการต่อพวกมันเข้ากับตัวรับพิเศษที่เรียกว่า MHC (Major Histocompatibility Complex)
  • เซลล์ทีสามารถรับรู้การตัดและการดำเนินการแปลงของเซลล์เหล่านี้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการทำงาน[25]
  • เซลล์ทีชนิด γδ มีลักษณะที่จำเพาะทั้งการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดและแบบปรับตัวได้
  • แมคโครฟาจยังสามารถกระตุ้นเซลล์ทีในลักษณะเดียวกันได้ (แต่ไม่สามารถทำได้ตามธรรมชาติ)

กระบวนการนี้ดำเนินการโดยทั้งเซลล์เดนดริติกและแมคโครฟาจเรียกว่าการแสดงแอนติเจน และแสดงถึงความเชื่อมโยงทางกายภาพระหว่างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติและการตอบสนองแบบปรับตัวได้

เมื่อกระตุ้นการทำงาน เซลล์แมสต์จะปล่อย เฮปาริน และฮิสตามีน เพื่อเพิ่มการแลกเปลี่ยนและปิดล้อมบริเวณที่ติดเชื้อ เพื่อให้เซลล์ภูมิคุ้มกันของทั้งสองระบบสามารถล้างพื้นที่ของเชื้อโรคได้ นอกจากนี้ แมสต์เซลล์ยังปล่อยคีโมไคน์ซึ่งส่งผลให้มีตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางเคมีเชิงบวกของเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่น ๆ ของการตอบสนองภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดและแบบปรับตัวได้ไปยังบริเวณที่ติดเชื้อ[26][27]

เนื่องจากกลไกและการเชื่อมโยงที่หลากหลายระหว่างการตอบสนองของภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติและแบบปรับตัวได้ การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติที่เพิ่มสารเสริมฤทธิ์จะส่งผลให้การตอบสนองของภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารเสริมฤทธิ์อาจแสดงการกระตุ้นภูมิคุ้มกันตามกลไกการทำงานของภูมิคุ้มกัน 5 อย่าง[28]

  • ประการแรก สารเสริมอาจช่วยในการเคลื่อนย้ายแอนติเจนไปยังต่อมน้ำเหลืองซึ่งเซลล์ทีสามารถรับรู้ได้ ในที่สุดจะนำไปสู่กิจกรรมของเซลล์ทีที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดการกวาดล้างเชื้อโรคทั่วร่างกาย
  • ประการที่สอง สารเสริมฤทธิ์อาจจัดให้มีการป้องกันทางกายภาพแก่แอนติเจนซึ่งทำให้การนำส่งแอนติเจนใช้เวลายาวนาน ซึ่งหมายความว่าสิ่งมีชีวิตจะได้รับแอนติเจนเป็นระยะเวลานานขึ้น ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้นเนื่องจากใช้เวลาเพิ่มเติมโดยควบคุมการผลิตเซลล์ B และ T ที่จำเป็นสำหรับหน่วยความจำภูมิคุ้มกันมากขึ้นในการตอบสนองภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวได้
  • ประการที่สาม สารเสริมฤทธิ์อาจช่วยเพิ่มความสามารถในการทำให้เกิดปฏิกิริยาเฉพาะที่บริเวณที่ฉีด (ระหว่างการฉีดวัคซีน) กระตุ้นการปลดปล่อยสัญญาณอันตรายมากขึ้นโดยการปล่อยเซลล์คีโมไคน์ เช่น เซลล์ทีเฮลเปอร์ และเซลล์แมสต์
  • ประการที่สี่ พวกมันอาจกระตุ้นการหลั่งของไซโตไคน์ต้านการอักเสบ ซึ่งไม่เพียงแต่คัดเลือกเซลล์ B และ T ที่บริเวณที่ติดเชื้อ แต่ยังเพิ่มเหตุการณ์การถอดรหัสที่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของเซลล์ภูมิคุ้มกันโดยรวม
  • ประการสุดท้าย เชื่อว่าสารเสริมฤทธิ์จะเพิ่มการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติต่อแอนติเจนโดยทำปฏิกิริยากับตัวรับรู้จำรูปแบบ (Pattern recognition receptors, PRR) บนหรือภายในเซลล์นำเสนอแอนติเจน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สารเสริมภูมิคุ้มกัน http://www.mayoclinic.com/health/adjuvant-therapy/... http://www.superbabyonline.com/immunization-schedu... http://research.uiowa.edu/animal/?get=adjuvant http://www.ema.europa.eu/docs/en_GB/document_libra... http://www.emea.europa.eu/humandocs/PDFs/EPAR/pand... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1054729 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10854227 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10899018 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12184360 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12184361