ภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์ ของ สารเสริมภูมิคุ้มกัน

ในมนุษย์

เกลืออะลูมิเนียมที่ใช้ในวัคซีนสำหรับมนุษย์หลายชนิดได้รับการรับรองว่าปลอดภัยโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ[33] แม้ว่าจะมีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของอะลูมิเนียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉีดสารเชิงซ้อนของแอนติเจน-อะลูมิเนียมที่มีชีวปริมาณออกฤทธิ์สูง ในการใช้เป็นสารเสริมฤทธิ์ แล้วมีการพัฒนาไปเป็นโรคอัลไซเมอร์[34] แต่นักวิจัยส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนการเชื่อมโยงเชิงสาเหตุกับอะลูมิเนียม[35] สารเสริมฤทธิ์อาจทำให้วัคซีนมีผลไม่พึงประสงค์สามัญแต่คาดได้ของวัคซีนมากเกินไป ซึ่งมักทำให้เกิดอาการไข้ ซึ่งเป็นผลที่มักพบในการฉีดวัคซีน และในทารกมักจะควบคุมด้วยการให้ยาสามัญหากจำเป็น

จำนวนผู้ป่วยโรคลมหลับในเด็กและวัยรุ่นเพิ่มขึ้นในสแกนดิเนเวียและประเทศอื่น ๆ ในยุโรปหลังการฉีดวัคซีนเพื่อจัดการกับไวรัส "ไข้หวัดหมู" สายพันธุ์ H1N1 ในการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ก่อนหน้านี้โรคลมหลับเกี่ยวข้องกับค่าไกลโคโปรตีน HLA-subtype DQB1*602 ซึ่งได้นำไปสู่การทำนายว่าเป็นกระบวนการภูมิต้านตนเอง หลังจากการสอบสวนทางระบาดวิทยาหลายครั้ง นักวิจัยพบว่าอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับการใช้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ AS03 (Pandemrix) ซึ่งผู้ที่ได้รับวัคซีน Pandemrix มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้เกือบ 12 เท่า[36][37] สารเสริมฤทธิ์ของวัคซีนมีวิตามินอีที่ไม่เกินปริมาณบริโภคในหนึ่งวันตามปกติ ในการทดลองเพาะเลี้ยงเซลล์ วิตามินอีเพิ่มส่วนย่อยจำเพาะของ hypocretin ที่จับกับ DQB1*602 นำไปสู่สมมติฐานที่ว่าภูมิต้านทานผิดปกติอาจเกิดขึ้นในบุคคลที่มีความอ่อนไหวทางพันธุกรรม[38] แต่ไม่มีข้อมูลทางคลินิกที่จะสนับสนุนสมมติฐานนี้ ส่วนผสมที่สามของ AS03 คือพอลิซอร์เบต 80[21] นอกจากนี้ Polysorbate 80 ยังพบได้ในวัคซีนโควิด-19 ของออกฟอร์ด-แอสตราเซเนกา และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน[39][40]

ในสัตว์

สารเสริมฤทธิ์อะลูมิเนียมทำให้เซลล์ประสาทสั่งการตายในหนูทดลอง[41] เมื่อฉีดตรงไปยังกระดูกสันหลังที่ต้นคอ และมีรายงานว่าสารแขวนลอยจากน้ำมันและน้ำเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคภูมิต้านตนเองในหนูทดลอง[42] สควาลีนทำให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในหนูที่มีแนวโน้มเป็นโรคข้ออักเสบ[43]

มะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในแมวที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน (vaccine-associated sarcoma, VAS) เกิดขึ้นในอัตรา 1–10 ต่อหนึ่งหมื่นของการฉีด ในปี ค.ศ. 1993 ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่าง VAS และการบริหารวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบเสริมด้วยอะลูมิเนียมและวัคซีน FeLV ได้รับการอธิบายโดยใช้วิธีการทางระบาดวิทยา และในปี ค.ศ. 1996 ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหามะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในแมวที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน[44] อย่างไรก็ตาม หลักฐานมีความขัดแย้งกันในเรื่องชนิดของวัคซีน, ผู้ผลิต หรือปัจจัยต่าง ๆ ว่าเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือไม่[45]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สารเสริมภูมิคุ้มกัน http://www.mayoclinic.com/health/adjuvant-therapy/... http://www.superbabyonline.com/immunization-schedu... http://research.uiowa.edu/animal/?get=adjuvant http://www.ema.europa.eu/docs/en_GB/document_libra... http://www.emea.europa.eu/humandocs/PDFs/EPAR/pand... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1054729 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10854227 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10899018 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12184360 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12184361