ข้อโต้แย้ง ของ สารเสริมภูมิคุ้มกัน

การส่งสัญญาณ TLR

ในปี ค.ศ. 2006 สมมติฐานที่ว่าการส่งสัญญาณ TLR ทำหน้าที่เป็นโหนดหลักในการตอบสนองต่อการอักเสบที่อาศัยแอนติเจน เป็นประเด็นที่ถูกตั้งข้อสงสัยเมื่อนักวิจัยได้สังเกตเห็นการตอบสนองการอักเสบที่อาศัยแอนติเจนในเม็ดเลือดขาวในกรณีที่ไม่มีสัญญาณ TLR[5][46] นักวิจัยคนหนึ่งพบว่าหากไม่มี MyD88 และ Trif (โปรตีนอะแดปเตอร์ที่จำเป็นในการส่งสัญญาณ TLR) พวกเขายังคงสามารถกระตุ้นการตอบสนองต่อการอักเสบ เพิ่มการกระตุ้นเซลล์ที และสร้างเซลล์บีปริมาณมากเกินพอโดยใช้สารเสริมฤทธิ์ทั่วไป (อะลัม, สารเสริมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ของฟรอยด์, สารเสริมฤทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์ของฟรอยด์ และ monophosphoryl-lipid A/trehalose dicorynomycolate (สารเสริมฤทธิ์ของไรบี)[5]

การสังเกตเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าแม้ว่าการกระตุ้น TLR สามารถนำไปสู่การเพิ่มขึ้นในการตอบสนองของแอนติบอดี การกระตุ้น TLR ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นการตอบสนองโดยธรรมชาติและแบบปรับตัวได้ที่ดีขึ้นต่อแอนติเจน

การตรวจสอบกลไกที่รองรับการส่งสัญญาณ TLR นั้นมีความสำคัญในการทำความเข้าใจว่าทำไมสารเสริมฤทธิ์ที่ใช้ระหว่างการฉีดวัคซีนจึงมีความสำคัญในการเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวได้ต่อแอนติเจนจำเพาะ อย่างไรก็ตาม ด้วยความรู้ที่ว่าการกระตุ้น TLR ไม่จำเป็นสำหรับผลการเสริมภูมิคุ้มกันที่เกิดจากสารเสริมฤทธิ์ทั่วไป เราสามารถสรุปได้ว่ามีตัวรับอื่น ๆ นอกเหนือจาก TLR ที่ยังไม่มีการระบุ ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการนำสู่การวิจัยในอนาคต

ความปลอดภัย

รายงานหลังสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 เชื่อมโยงวัคซีนป้องกันแอนแทรกซ์[47] กับกลุ่มอาการสงครามอ่าวในกองทัพสหรัฐและสหราชอาณาจักร[48] กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวอย่างชัดเจน

องค์การอนามัยโลกกล่าวถึงความปลอดภัยของสควาลีนในฐานะสารเสริมฤทธิ์ในปี ค.ศ. 2006 ว่า "จะต้องมีการติดตามผลเพื่อตรวจหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน"[49] แต่ไม่มีการเผยแพร่ผลการติดตามดังกล่าวจากองค์การอนามัยโลก

ต่อมา American National Center for Biotechnology Information ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับความปลอดภัยเชิงเปรียบเทียบของสารเสริมฤทธิ์วัคซีน ซึ่งระบุว่า "ประเด็นใหญ่ที่สุดในเรื่องสารเสริมฤทธิ์คือ การค้นหากลไกความสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างสารเสริมฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีนที่หายาก เช่น โรคลมหลับ, macrophagic myofasciitis หรือโรคอัลไซเมอร์[50]

ในปี ค.ศ. 2011 นักภูมิคุ้มกันวิทยาชาวอิสราเอล ยูดา ชูนเฟลด์ (ฮีบรู: יהודה שינפלד‎, Yehuda Shoenfeld ) ได้ตั้งสมมติฐานว่าสารเสริมฤทธิ์ สามารถทำให้เกิดอาการภูมิต้านตนเอง/การอักเสบหลายอย่างในคนจำนวนไม่มาก ข้อเสนอนี้ยังคงไม่ได้รับการพิสูจน์

แหล่งที่มา

WikiPedia: สารเสริมภูมิคุ้มกัน http://www.mayoclinic.com/health/adjuvant-therapy/... http://www.superbabyonline.com/immunization-schedu... http://research.uiowa.edu/animal/?get=adjuvant http://www.ema.europa.eu/docs/en_GB/document_libra... http://www.emea.europa.eu/humandocs/PDFs/EPAR/pand... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1054729 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10854227 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10899018 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12184360 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12184361