การยอมรับ ของ สำนักพิมพ์แบบเปิดที่ล่าเหยื่อ

ในปี 2556 เนเจอร์ รายงานว่าบัญชีรายชื่อของบีลล์ และเว็ปไซต์นั้น "ถูกอ่านอย่างกว้างขวางโดยบรรณารักษ์ นักวิจัย และผู้ให้กาสนับสนุนการเข้าถึงแบบเปิดซึ่งส่วนใหญ่ล้วนนับถือความพยายามของบีลล์ที่จะเปิดโปงการกระทำที่ไม่โปร่งใสของสำนักพิมพ์" [4]

ขณะเดียวกันยังมีคนบางส่วนที่ยังสงสัยว่า "มันยุติธรรมหรือไม่ที่วารสารทางวิชาการและสำนักพิมพ์ทั้งหมดนี้ถูกตราหน้าว่า'ล่าเหยื่อ' ด้วยความที่สีเทาหลายเฉดสีอาจม่สามารถถูกแยกแยะได้"[26]

การวิเคราห์ของบีลล์ยังถูกเรียกว่าเป็นการเหมารวมโดยไร้ซึ่งหลักฐานยืนยัน[27] นอกจากนั้น บีลล์ยังถูกวิจารย์ในความอคติต่อวารสารทางวิชาการซึ่งมาจากประเทศที่ด้อยพัฒนา[28] บรรณารักษ์คนหนึ่งได้กล่าวว่าบัญชีรายชื่อของบีลล์นั้น "พยายามจะแยกแยะขุมทองที่มีความซับซ้อนเป็นสองกลุ่ม ดี และ ไม่ดี" ทว่าเกณฑ์หลายๆอย่างไม่สามารถที่จะระบุเป็นประมาณได้อย่างชัดเจน... เกณฑ์บางอย่างนั้นได้สมมติบนฐานของประเทศโลกที่หนึ่งซึ่งอาจไม่สามารถนำไปใช้กับประเทศอื่นๆบนโลกได้"[29] คนบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการที่คนๆเดียวจะตัดสินและสร้างบัญชีรายชื่อ โดยเฉพาะเมื่อไม่มีความรู้เพียงพอ[30] บางกลุ่มได้พยายามที่จะตรวจสอบบัญชีรายชื่อของบีลล์ทีระรายชื่อ และบันทึกเหตุการณ์ที่บอกถึงความไม่สอดคล้องและความกำกวม และสรุปว่าบัญชีรายชื่อนี้ควรถูกมองข้าม รวมไปถึงเสนออัลกอริทึมบนฐานของ Directory of Open Access Journals (DOAJ)[31] บีลล์คัดค้านกับตัวเลือกนี้และยังเขียนจดหมายคัดค้านในกลางปี 2558[32]

นักชีวจริยธรรม อาเธอร์ คาแพลน ได้เตือนว่าสำนักพิมพ์ที่ล่าเหยื่อ ข้อมูลเท็จที่ถูกสร้างขึ้น และการขโมยความคิดทางการศึกษาอาจกัดกร่อนความมั่นใจในทางการแพทย์ ลดคุณค่าของวิทยาศาสตร์ และลดการสนับสนุนนโยบายอิงหลักฐานจากประชาชน

ใกล้เคียง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย) สำนักพระราชวัง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานสอบสวนกลาง สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ สำนักข่าวไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ