ประวัติและบัญชีรายชื่อของบีลล์ ของ สำนักพิมพ์แบบเปิดที่ล่าเหยื่อ

ตำว่า "การเข้าถึงแบบเปิดที่ล่าเหยื่อ" ถูกบัญญัติโดยบรรณารักษ์ของมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ ที่ชื่อว่า เจฟฟรี่ บีลล์ หลักจากที่ได้รับอีเมลจำนวนมากที่เชิญชวนให้เขาส่งบทความ หรือเข้าร่วมคณะกรรมการบรรณาธิการของวารสารวิชาการที่ไม่เป็นที่รู้จัก เขาได้เริ่มค้นหาสำนักพิมพ์แบบเปิดและสร้างบัญชีรายชื่อของบีลล์ ซึ่งเรียบเรียงรายชื่อของ สำนักพิมพ์ทางวิชาการแบบเปิด ที่มีแนวโน้ม ความเป็นไปได้ หรือความน่าจะเป็นที่จะทำการล่าเหยื่อ[4] นอกจากนั้นบีลล์ยังเขียนหัวข้อในThe Charleston Advisor[1] ซึ่งอยู่ในเนเจอร์[5] และใน Learned Publishing

ก่อนหน้าความพยายามของบีลล์ มีการจัดทำต้นฉบับซึ่งประกอบด้วยเรื่องไร้สาระที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ (ผ่าน โปรแกรมSCIgen) และส่งโดยนักศึกษาบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล ที่มีชื่อว่า ฟิล เดวิส (บรรณาธิการของบล็อก Scholarly Kitchen) ซึ่งถูกรับไว้ภายใต้เงื่อนไขค่าใช้จ่าย (แต่ภายหลังโดนถอนโดยผู้ส่ง) โดยหนึ่งในหาสำนักพิมพ์แบบเปิดซึ่งตอนนี้ถูกระบุอยู่ในบัญชีรายชื่อของบีลล์ (Bentham Open).[7]

ข้อกังขาเกี่ยวกับความซื่อสัตย์และการหลอกลวงในวารสารทางวิชาการแบบเปิดนั้นถูกกล่าวถึงตั้งแต่ปี 2552.[8][9]

ความกังวงเกี่ยวกับการสแปมจาก"แกะดำในหมู่วารสารทางวิชาการแบบเปิดและสำนักพิมพ์" ได้นำทางให้สำนักพิมพ์แบบเปิดชั้นนำได้ก่อตั้ง  กลุ่มสำนักพิมพ์ทางวิชาการแบบเปิด ในปี 2551[10] รวมไปถึงในปี 2552 บล็อกที่ชื่อว่า งานวิจัยที่ไม่น่าเชื่อถือ ได้พบว่าวารสารทางวิชาการของสำนักพิมพ์ Scientific Research Publishing ได้ทำสำเนาบทความที่ได้ถูกตีพิมพ์ไปแล้วโดยสำนักพิมพือื่น[11] ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์คล้ายกันกับเนเจอร์เช่นกัน

บีลล์ได้ตีพิมพ์บัญชีรายชื่อสำนักพิมพ์แบบเปิดที่ล่าเหยื่อครั้งแรกในปี 2553[4] ในเดือนสิงหาคม 2555 เขาได้ประกาศเกณฑ์ในการประเมินสำนักพิมพ์[4] โดยได้ออกฉบับที่ 2 ในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน[13] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เขาได้เปิดให้สำนักพิมพ์ทำการอุทธรณ์การมีชื่ออยู่ในบัญชีได้ตามขั้นตอน[4]

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีบททดสอบทางด้านระบบการตีพิมพ์ (ใครกลัวการประเมินอิสระ) จอห์น โบฮานนอน หนึ่งในพนักงานเขียนสำหรับสำนักพิมพ์ของนิตยสารไซแอนซ์และป๊อปปูล่าไซแอนซ์ ได้ตั้งเป้าไปที่ระบบการเข้าถึงแบบเปิดในปี 2556 โดยการส่งงามพิมพ์ที่เต็มไปด้วยข้อผิดพลาดในหัวข้อ ผลกระทบของส่วนประกอบในไลเคน ไปให้วารสารเหล่านั้น ประมาณ 60% ของวารสารทางวิชาการได้ตอบรับงานพิมพ์ทางการแพทย์ผิดๆนี้ ในจำนวนนั้นรวมไปถึง Journal of Natural Pharmaceuticals ในขณะที่อีก 40% ที่เหลือรวมไปถึง PLOS ONE ได้ปฏิเสธงานพิมพ์นี้[14] โดยข้อผิดพลาดของงานพิมพ์นี้คือที่การทดลองไม่ได้ถูกประเมินอิสระ รวมไปถึงการใช้หลักการผิดๆ และการที่ไม่มีกลุ่มควบคุม[15][16]

ใกล้เคียง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย) สำนักพระราชวัง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานสอบสวนกลาง สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ สำนักข่าวไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ