การจัดการบริษัท ของ สิงคโปร์แอร์ไลน์

โครงสร้าง

โครงสร้างของสิงคโปร์แอร์ไลน์แบ่งออกเป็นอุตสาหกรรมและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งรวมถึง Aircraft ground handling การเช่าอากาศยาน Air catering และ Tour operating และยังปรับโครงสร้างโดยแยกหน่วยปฏิบัติการออกเป็นบริษัทสาขาต่างๆ ที่สายการบินเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวเพื่อรักษาความเป็นสายการบินสำหรับผู้โดยสารอันเป็นธุรกิจหลักไว้ ตามข้อมูลปีการเงินเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มบรรษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ประกอบด้วยบริษัทสาขา 25 แห่ง บริษัทในเครือ 32 แห่ง และบริษัทร่วมทุนสองแห่ง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ขายหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในร้อยละ 35.5 ในบริษัทร่วมทุน Singapore Aircraft Leasing Enterprise ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศจีนในราคา 980 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[36]

บริษัทหลักในกลุ่มบรรษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้แก่

บริษัทประเภทกิจกรรมหลักสถานที่ก่อตั้งการถือหุ้นของกลุ่มบรรษัท
(31 มีนาคม พ.ศ. 2550)
International Engine Component Overhaul Private Limitedร่วมทุนAircraft overhaulสิงคโปร์41%
SIA Engineering Company Limitedสาขาวิศวกรรมสิงคโปร์81.9%
SilkAir (Singapore) Private Limitedสาขาสายการบินสิงคโปร์100%
Singapore Aero Engine Services Private Limitedร่วมทุนEngine overhaulสิงคโปร์41%
Singapore Airlines Cargo Private Limitedสาขาสายการบินขนส่งสินค้าสิงคโปร์100%
Singapore Airport Terminal Services Limitedสาขาบริษัทถือหุ้นใหญ่สิงคโปร์81.9%
Singapore Flying College Private Limitedสาขาสถาบันฝึกอบรมการบินสิงคโปร์100%
TajSATS Air Cateringร่วมทุนCateringอินเดีย50%
Tiger Airways Holdings Limitedในเครือบริษัทถือหุ้นใหญ่สิงคโปร์34.4%
เวอร์จินแอตแลนติกแอร์เวย์จำกัดในเครือบริษัทถือหุ้นใหญ่สหราชอาณาจักร49%

การลงทุนเชิงปฏิบัติการ

เครื่องบินโบอิง 747-412 บินออกจากท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ลงจอดที่ ท่าอากาศยานซูริค สวิตเซอร์แลนด์

สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ลงทุนในสายการบินอื่นๆ เพื่อขยายตลาดออกไปนอกสิงคโปร์ แม้ว่าผลทางการเงินมักจะเป็นไปในทางลบ เมื่อ พ.ศ. 2532 ได้ร่วมมือกับเดลต้าแอร์ไลน์และสวิสแอร์เป็นพันธมิตรไตรภาคี[37] แต่ก็ยุติความร่วมมือใน พ.ศ. 2542 หลังจากแต่ละสายการบินถอนหุ้นร้อยละ 5 ที่ลงทุนในอีกสองสายการบินออกไป ปีถัดมาสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ซื้อหุ้นร้อยละ 25 ในสายการบินแอร์นิวซีแลนด์ แต่ต่อมารัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ซื้อหุ้นในแอร์นิวซีแลนด์เพื่อช่วยเหลือให้รอดพ้นจากการล้มละลาย ทำให้หุ้นที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ถือลดลงเหลือร้อยละ 4.5 ซึ่งต่อมาหุ้นจำนวนนี้ถูกขายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2543 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในสายการบินเวอร์จินแอตแลนติกแอร์เวย์ด้วยเงินสด มูลค่า 600 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง[38] โดยหวังจะได้รับผลประโยชน์จากเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่มีผลกำไรดี แต่ใน พ.ศ. 2550 ก็มีรายงานเกี่ยวกับความล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวและมีความเป็นไปได้ที่จะถอนหุ้น[39] จนกระทั่งวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ประกาศเสนอขายหุ้นในเวอร์จินแอตแลนติกอย่างเป็นทางการ และยอมรับอย่างเปิดเผยว่าหุ้นที่ถืออยู่ในสายการบินดังกล่าวนั้นให้ตอบแทนน้อยกว่าที่คาดไว้[40] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้เข้าสู่ตลาดสายการบินต้นทุนต่ำโดยก่อตั้งสายการบินไทเกอร์แอร์เวย์ ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้นร้อยละ 49 และมีผู้ถือหุ้นอื่นๆ ได้แก่

  • Indigo Partners LLC บริษัทด้านการลงทุนที่ก่อตั้งโดย Bill Franke (ร้อยละ 24)
  • Irelandia Investments Limited บริษัทด้านการลงทุนของ Tony Ryan และครอบครัว (ร้อยละ 16)
  • Temasek Holdings Pte Ltd (ร้อยละ 11)

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ไทเกอร์แอร์เวย์ได้จดทะเบียนใน Singapore Exchange ทำให้หุ้นที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ถืออยู่ลดลงเหลือร้อยละ 34.4

แรงงาน

เมื่อสิ้นปีงบประมาณในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มบรรษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ว่าจ้างพนักงานทั้งหมด 29,457 คน[41] โดยสายการบินแม่ว่าจ้าง 13,942 คน (ร้อยละ 47.3) แบ่งออกเป็นนักบิน 2,174 คน และลูกเรือ 6,914 คน มีสหภาพแรงงานห้าองค์กรเป็นตัวแทนลูกจ้างของกลุ่มบรรษัท ได้แก่

  • Singapore Airlines Staff Union (SIASU)
  • SIA Engineering Company Engineers and Executives Union (SEEU)
  • Singapore Airport Terminal Services Workers' Union (SATSWU)
  • Air Transport Executives Staff Union (AESU)
  • Air Line Pilots' Association Singapore (ALPA-S)

สหภาพแรงงานและผู้บริหารขัดแย้งกันเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะหลังการลดค่าจ้าง การยุบตำแหน่ง และการเกษียณก่อนอายุอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาและหลังสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยากลำบาก อย่างเช่นการระบาดของโรคซาร์สเมื่อ พ.ศ. 2546[42] ซึ่งส่งผลต่อกำลังใจของพนักงาน เฉพาะเพียง ALPA-S ก็ขัดแย้งกับกับผู้บริหารไม่น้อยกว่า 24 ครั้งนับตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2524 (ก่อตั้งหลังจากที่ Singapore Airlines Pilots Association ที่เป็นสหภาพก่อนหน้า มีสมาชิก 15 คนถูกกล่าวหาและตัดสินว่ามีความผิดฐานริเริ่มกิจกรรมทางอุตสาหกรรมที่ผิดกฎหมายใน พ.ศ. 2523 ซึ่งเริ่มเกิดความขัดแย้งกับผู้บริหาร และ SIAPA ถูกถอนทะเบียนในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524) จนกระทั่งวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 กระทรวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (สิงคโปร์) ได้แก้ไข Trade Unions Act เพื่อลบล้างข้อกำหนดในธรรมนูญของ ALPA-S ที่กำหนดให้สมาชิกทั่วไปต้องให้สัตยาบันอย่างเป็นทางการก่อนตกลงในการเจรจาที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการบริหาร[43] ใน พ.ศ. 2550 สายการบินเป็นข่าวดังอีกครั้งเมื่อ ALPA-S ไม่ยอมรับอัตราเงินเดือนที่ผู้บริหารเสนอให้นักบินเครื่องบินแอร์บัส เอ 380[44] ข้อพิพาทถูกนำขึ้นให้อนุญาโตตุลาการตัดสิน[45] ขอบเขตเงินเดือนของนักบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนตั้งแต่วันแรกที่นั่งพิจารณาข้อพิพาท และสื่อได้ตั้งข้อสังเกตว่านักบินของสายการบินจำนวน 935 คนที่ขับเครื่องบินโบอิง 777 ได้รับเงินเดือน (มากกว่า S$270,000) ที่จุดกึ่งกลางของขั้นเงินเดือนสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรองประธานบริษัท (S$233,270)[46]

ความขัดแย้งต่างๆ ส่งผลกระทบต่อสหภาพเช่นกัน โดยรัฐบาลจะเข้าแทรกแซงเมื่อเกิดความขัดแย้งที่รุนแรง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เกิดความขัดแย้งภายใน ALPA-S จนนำไปสู่การขับไล่สมาชิกระดับกรรมการบริหารทั้งคณะจำนวน 22 คน เหตุการณ์ดังกล่าวถูกสันนิษฐานว่าเป็น "การเมืองภายใน" ที่เกี่ยวข้องกับอดีตนักบิน รวมถึงผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับกรณีการถอนทะเบียน SIAPA[47] และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 Lim Swee Say เลขาธิการ NTUC ได้แถลงคัดค้านการฟ้องร้องทางกฎหมายโดยสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งภายใน SIASU[48]

ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2550 กลุ่มบรรษัทและสหภาพได้ร่วมกันเปิดตัว "Singapore Airlines Group Union-Management Partnership" และ Labour Movement 2011 (LM2011) เพื่อกระชับความสัมพันธ์ โดยข้อสัญญาทั้งสองนั้นเป็นไปเพื่อสร้าง "pro-worker" และ "pro-business"[49] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 Stephen Lee ประธานสายการบิน ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและสหภาพว่า "มั่นคงและอบอุ่น" ในช่วงสองปีหลัง โดยมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่ดีขึ้น Lee ได้กล่าวเป็นนัยว่า บุคคลในรัฐบาลหลายคน ซึ่งรวมถึง Minister Mentor Lee Kuan Yew ได้เข้าแทรกแซงเพื่อช่วยบรรเทาความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารและสหภาพ และทั้งสองฝ่ายได้ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ่อยมากขึ้น[50]

Financial performance

Singapore Airlines Group Financial Highlights[51][52]
สิ้นปีงบประมาณรายได้
(S$m)
รายจ่าย
(S$m)
Operating profit
(S$m)
Profit before
taxation (S$m)
Profit attributable to
equity holders (S$m)
EPS after tax
– diluted (cents)
31 มีนาคม 25427,795.96,941.5854.41,116.81,033.280.6
31 มีนาคม 25439,018.87,850.01,168.81,463.91,163.891.4
31 มีนาคม 25449,951.38,604.61,346.71,904.71,549.3126.5
31 มีนาคม 25459,382.88,458.2924.6925.6631.751.9
31 มีนาคม 254610,515.09,797.9717.1976.81,064.887.4
31 มีนาคม 25479,761.99,081.5680.4820.9849.369.7
31 มีนาคม 254812,012.910,657.41,355.51,829.41,389.3113.9
31 มีนาคม 254913,341.112,127.81,213.31,662.11,240.7101.3
31 มีนาคม 255014,494.413,180.01,314.42,284.62,128.8170.8
31 มีนาคม 255115,972.513,848.02,124.52,547.22,049.4166.1
31 มีนาคม 255215,996.315,092.7903.61,198.61,061.589.1
31 มีนาคม 2553[53]12,707.312,644.163.2285.5215.818.0
31 มีนาคม 2554[54]14,524.813,253.51,271.31,419.01,092.090.2

Operating performance

Singapore Airlines Operating Highlights (Parent Airline Company only)[51][52]
สิ้นปีงบประมาณจำนวนผู้โดยสาร
(พันคน)
RPK
(million)
ASK
(million)
Load factor
(%)
ผลตอบแทน
(S¢/km)
Unit cost
(cents/ASK)
Breakeven load
factor (%)
31 มีนาคม 19938,64037,860.653,100.471.310.5--
31 มีนาคม 19949,46842,328.359,283.371.410.1--
31 มีนาคม 199510,08245,412.264,053.970.99.9--
31 มีนาคม 199611,05750,045.468,555.373.09.4--
31 มีนาคม 199712,02254,692.573,511.474.49.0--
31 มีนาคม 199811,95754,441.277,221.670.59.5--
31 มีนาคม 199912,77760,299.983,191.772.58.6--
31 มีนาคม 200013,78265,718.487,728.374.99.1--
31 มีนาคม 200115,00271,118.492,648.076.89.47.570.2
31 มีนาคม 200214,76569,994.594,558.574.09.06.471.1
31 มีนาคม 200315,32674,183.299,565.974.59.16.773.6
31 มีนาคม 200413,27864,685.288,252.773.39.26.772.8
31 มีนาคม 200515,94477,593.7104,662.374.110.17.069.3
31 มีนาคม 200616,99582,741.7109,483.775.610.67.570.8
31 มีนาคม 200718,34689,148.8112,543.879.210.97.972.5
31 มีนาคม 200819,12091,485.2113,919.180.312.18.469.4
31 มีนาคม 200918,29390,128.1117,788.776.512.59.273.6
31 มีนาคม 2010[55]16,48082,882.5105,673.778.410.48.682.7
31 มีนาคม 2011[54]16,64784,801.3108,060.278.511.98.974.8

ใกล้เคียง

สิงคโปร์แอร์ไลน์ สิงคโปร์พรีเมียร์ลีก สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก สิงคโปร์สลิง สิงคโปร์ สิงคโปร์คัพ สิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 006 สิงคโปร์ฟลายเออร์ สิงคโปร์ในเอเชียนเกมส์ 1951 สิงคโปร์ (เมืองหลวง)

แหล่งที่มา

WikiPedia: สิงคโปร์แอร์ไลน์ http://news.ninemsn.com.au/article.aspx?id=290092 http://www.popsci.com.au/military-aviation-amp-spa... http://www.smh.com.au/news/Business/Air-Asia-chief... http://www.theage.com.au/articles/2003/07/31/10594... http://www.bitre.gov.au/publications/11/Files/0308... http://www.china.org.cn/english/travel/241889.htm http://www.airbus.com/en/presscentre/pressreleases... http://www.airdisaster.com/photos/9v-smt/photo.sht... http://travel.asiaone.com/Travel/News/Story/A1Stor... http://travel.asiaone.com/Travel/News/Story/A1Stor...