การใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตร ของ สิทธิบัตรยา

เนื่องจากการถือครองสิทธิบัตรยา ทำให้ผู้ถือสิทธิ์เรียกร้องค่าตอบแทนสูงจนทำให้ผู้ป่วยในบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงยาได้ทางองค์การค้าโลกจึงได้ทำข้อตกลงให้การยกเว้นไว้ในกรณีจำเป็นตามข้อตกลงในปฏิญญาโดฮาของที่ประชุมองค์การค้าโลกมีใจความเกี่ยวกับการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาว่า

ข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การค้าโลกไม่ห้ามและไม่ควรกีดกันสมาชิกในการนำมาตรการมาใช้ป้องกันความเจ็บไข้ได้ป่วยของประชาชน สมาชิกสามารถและควรตีความและนำไปปฏิบัติเพื่อปกป้องสุขภาพของคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะเพื่อสนับสนุนให้ทุกคนเข้าถึงยาได้อย่างสมบูรณ์ สมาชิกขององค์การค้าโลกมีสิทธิประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (compulsory licenses) และมีเสรีภาพในการพิจารณาถึงความจำเป็นในการประกาศใช้สิทธินี้ และไม่ถือว่าเป็นการละเมิดข้อตกลงเรื่องการปฏิบัติเหมือนคนในชาติ (national treatment) และเรื่องการปฏิบัติต่อทุกชาติเสมอกัน (most favoured nation - MFN)

ผลของข้อตกลงดังกล่าวทำให้ชาติสมาชิกองค์การค้าโลกสามารถผลิตหรือใช้ยาเพื่อประโยชน์ให้แก่ประชาชนของตนเอง หลายประเทศได้ดำเนินตามข้อตกลงนี้ เช่น แอฟริกาใต้ แซมเบีย ซิมบับเว กานา มาเลเซีย อินโดนีเซีย สวาซิแลนด์ สหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศไทยได้ประกาศใช้มาตรการดังกล่าวในสมัยรัฐบาลของพลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ ครั้งนั้นรัฐบาลไทยประกาศใช้กับยารักษาโรคมะเร็งและโรคเอดส์ มาในสมัยรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ได้ทำการยกเลิกการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรในตัวยารักษามะเร็ง[7][8]

ใกล้เคียง

สิทธิ สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเรียงตามประเทศหรือดินแดน สิทธิ เศวตศิลา สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย สิทธิเก็บกิน สิทธิในสุขภาพ สิทธิในอาหาร สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย สิทธิชัย ผาบชมภู สิทธิพร นิยม