การทำงาน ของ สุปัน_พูลพัฒน์

สุปัน เริ่มรับราชการเป็นข้าราชการครูชั้นจัตวา ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2472 ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ได้เปลี่ยนมาเป็นสารวัตรชั้นจัตวา อำเภอกมลาไสย และเป็นเสมียนมหาดไทยในเวลาต่อมา กระทั่งในปี พ.ศ. 2480 จึงกลับไปเป็นครูที่โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์อีกครั้ง

ในปี พ.ศ. 2484 เขาได้โอนไปรับราชการเป็นรองจ่าศาลแพ่ง ที่จังหวัดมหาสารคาม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2491 ได้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอาญา และลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2495 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

สุปัน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดกาฬสินธุ์ครั้งแรกใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 และอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 ต่อมาเมื่อพ้นจากการเป็น ส.ส. เหตุเพราะมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2501 เขาจึงกลับเข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาประจำกระทรวง

เขาลาออกจากราชการอีกครั้ง เพื่อสมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคอิสระ ซึ่งเขาร่วมจัดตั้งและเป็นกรรมการอำนวยการพรรค เมื่อปี พ.ศ. 2511[2]

นอกจากนี้ สุปันได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 10 เมื่อ พ.ศ. 2512 - 2514 และได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการไปเจรจาเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศกัมพูชา

ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสุปัน จะใช้เวลาในการแต่งตำราเกี่ยวกับกฎหมาย จนกระทั่งเริ่มป่วยด้วยโรคหัวใจ และเข้ารับการรักษาตัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนกระทั่วถึงแก่กรรม ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2517[1]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สุปัน พูลพัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดกาฬสินธุ์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่สังกัดพรคการเมือง[3]
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดกาฬสินธุ์สังกัดพรรคอิสระ (พ.ศ. 2512)