งานการเมือง ของ สุรพงษ์_โตวิจักษณ์ชัยกุล

ร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์

สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุลเริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจสังคม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[8] ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[9] ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 และได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดเดิม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับปกรณ์ บูรณุปกรณ์ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย[10] จากนั้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สุรพงษ์ยังคงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม แต่ย้ายมาลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 41 แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ สุรพงษ์ ได้มีบทบาทสำคัญในการอภิปรายโจมตี ทักษิณ ชินวัตร[11]

ร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย - พลังประชาชน - เพื่อไทย

ต่อมา สุรพงษ์ ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2549 ภายหลังรัฐประหารและพรรคไทยรักไทยถูกยุบพรรค จึงย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน และ สุรพงษ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ในนามพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรคในขณะนั้น รวมถึงได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ต่อจากนั้นได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[12] และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[13] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 20 ของพรรคเพื่อไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[14] ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพิ่มอีกตำแหน่งหนึ่ง[15]

อนึ่ง สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุลเป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมลงนามถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษแก่ ทักษิณ ชินวัตร ร่วมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2552[16]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 เขาได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศอ.รส. แทนพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก[17]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 4[18] แต่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งครั้งนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ[19]

ใกล้เคียง

สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ สุรพงษ์ ปิยะโชติ สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล สุรพงษ์ ทมพา สุรพงษ์ ตรีรัตน์ สุรพงศ์ อำพันวงษ์ สุรพงษ์ คงเทพ สุรพงษ์ ราชมุกดา

แหล่งที่มา

WikiPedia: สุรพงษ์_โตวิจักษณ์ชัยกุล http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/805234 http://www.khonthai.com/Election/Result/Informal/c... http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%... http://news.mcot.net/politic/inside.php?value=bmlk... http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=60... http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?Ne... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://www.thairath.co.th/content/421277