การคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ของ สุริยุปราคา_18_สิงหาคม_พ.ศ._2411

การคำนวณสุริยุปราคาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวนี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ[5]

  1. คำนวณหาตำแหน่งของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ โดยใช้ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาในต่างประเทศ
  2. คำนวณเพื่อตรวจสอบว่า จะมีโอกาสเกิดอุปราคาได้หรือไม่
  3. คำนวณว่าการเกิดอุปราคาจะมีลักษณะอย่างไร จะเห็นได้ที่ไหน และเวลาเท่าไรถึงเท่าไรตามระบบเวลามาตรฐาน

พระองค์ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าถึงสองปี ว่าเส้นศูนย์ของอุปราคาจะผ่านมาใกล้ที่สุด ณ ตำบลหว้ากอ ตรงละติจูด 11 องศา 38 ลิปดาเหนือ และลองติจูด 99 องศา 39 ลิปดาตะวันออก สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นนานที่สุดอยู่ตรงเชิงเขาหลวง โดยที่พระองค์ทรงคำนวณขึ้นมาด้วยพระองค์เอง ไม่มีอยู่ในหลักฐานการคำนวณของหอดูดาวกรีนิซ[5] ฝ่ายการคำนวณของกรีนิซนั้นแสดงเฉพาะแนวศูนย์กลางของการพาดผ่านของเงามืดเพียงเส้นเดียว แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยากรณ์ว่าอุปราคานั้นจะเห็นมืดทั้งดวงตั้งแต่ชุมพรถึงปราณบุรี[5] นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งก็ได้ทำนายสุริยุปราคาคราวนี้ด้วยเช่นกัน แต่คำนวณผิดพลาดไป 2 นาที[6]

ใกล้เคียง

สุริยุปราคา สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ สุริยนต์ อรุณวัฒนกูล สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2567 สุริยนันทนา สุจริตกุล สุริยา ชินพันธุ์ สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 สุริยะใส กตะศิลา สุริยุปราคา 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

แหล่งที่มา

WikiPedia: สุริยุปราคา_18_สิงหาคม_พ.ศ._2411 http://books.google.com/books?id=uE5AAAAAIAAJ&pg=P... http://www.wired.com/thisdayintech/2009/08/dayinte... http://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k3024c.image.... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEcat5/SE1801-1990.ht... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.... http://std.kku.ac.th/4850500553/zola/main.htm http://siweb.dss.go.th/sci200/item1/result.html http://thaiastro.nectec.or.th/library/kingmongkut_...