การค้นพบฮีเลียม ของ สุริยุปราคา_18_สิงหาคม_พ.ศ._2411

นักดาราศาสตร์ ปิแอร์ จองส์ชอง สังเกตสุริยุปราคาครั้งนี้จากคุนตูร์ รัฐไฮเดอราบัด อินเดียของอังกฤษ นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกนับตั้งแต่ทฤษฎีของเคอร์ชอฟฟ์ซึ่งเสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2402 ว่า เส้นฟรอนโฮเฟอร์ในสเปกตรัมของดวงอาทิตย์มีความสัมพันธ์กับแถบเปล่งแสงของธาตุเคมีต่างชนิดที่มีอยู่ในดวงอาทิตย์ จองส์ชองสังเกตการณ์สุริยุปราคาดังกล่าวด้วยสเปกโตรมิเตอร์ เขาสังเกตพบแถบสีเหลืองสว่าง (ความยาวคลื่น 587.49 นาโนเมตร) ในสเปกตรัมของเปลวสุริยะซึ่งไม่อาจเป็นธาตุโซเดียมอย่างที่เคยสันนิษฐานไว้เดิมได้ และในภายหลัง ก็สามารถสังเกตพบแถบเดิมโดยไม่จำเป็นต้องสังเกตในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาขึ้นก่อน ผลแบบเดียวกันยังถูกพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ นอร์แมน ล็อกเยอร์ และทั้งการสื่อสารของจองส์ชองและล็อกเยอร์ถูกนำเสนอไปยังสถาบันวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2411[3][4]

ใกล้เคียง

สุริยุปราคา สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ สุริยนต์ อรุณวัฒนกูล สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2567 สุริยนันทนา สุจริตกุล สุริยา ชินพันธุ์ สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 สุริยะใส กตะศิลา สุริยุปราคา 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

แหล่งที่มา

WikiPedia: สุริยุปราคา_18_สิงหาคม_พ.ศ._2411 http://books.google.com/books?id=uE5AAAAAIAAJ&pg=P... http://www.wired.com/thisdayintech/2009/08/dayinte... http://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k3024c.image.... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEcat5/SE1801-1990.ht... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.... http://std.kku.ac.th/4850500553/zola/main.htm http://siweb.dss.go.th/sci200/item1/result.html http://thaiastro.nectec.or.th/library/kingmongkut_...