กำลังขับดัน ของ สเปรย์ละอองลอย

สเปรย์ไล่ฝุ่น เป็นอันตราย ไม่ควรสูดดม เพราะไม่ใช่แก๊สธรรมดาอัดความดัน แต่มักใช้แก๊สเฉื่อย

ในการขับดัน ถ้ากระป๋องใช้แก๊สธรรมดาที่ถูกบีบอัด จะต้องบีบอัดด้วยความกดดันสูงจนเป็นอันตรายจึงจะใช้การได้ และปริมาณแก๊สขับดันในกระป๋องจะทำให้ปริมาตรบรรจุในกระป๋องน้อยลง ทำให้หมดเร็ว ดังนั้นตามปกติจึงใช้แก๊สขับดันในรูป ไอของ ของเหลวที่มีจุดเดือดต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง

กล่าวคือ ภายในกระป๋องที่ถูกอัดแก๊ส ไอจะอยู่ในภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ ซึ่งของเหลวส่วนใหญ่มีความกดดันสูงกว่าความกดดันบรรยากาศ (และสามารถขับดันบรรจุภัณฑ์ออกมา) แต่ไม่สูงถึงระดับที่เป็นอันตราย แต่ในการที่แก๊สหนีออกมา เพราะถูกแทนที่ในทันทีทันใด โดยของเหลวที่ระเหยเป็นไอมากกว่าเป็นของเหลว ตั้งแต่พัฒนาใช้สารขับดันในรูปของเหลว สเปรย์ละอองลอยก็เป็นที่ต้องการ ซึ่งสามารถใช้ผสมเข้ากันได้ หรือละลายได้ กับบรรจุภัณฑ์

เดิมที สเปรย์ละอองลอยมักใช้ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFCs แต่เมื่อ มอนเทรล โพรโทคอล ถูกใช้เป็นแรงขับดัน ประมาณ พ.ศ. 2532 (1989) ก็ถูกใช้แทนที่ในเกือบทุกประเทศ เพราะกระแสต่อต้านการผลิตและใช้ CFCs ซึ่งสร้างความเสียหายต่อชั้นโอโซนของโลก ส่วนมาก เป็นของผสมของ ไฮโดรคาร์บอนที่ระเหยง่าย เช่น โพรเพนทั่วไป, บิวเทนสายตรง และ ไอโซบิวเทน นอกจากนี้ยังใช้ ไดเมทิลอีเทอร์ (DME) และ เมทิลเอทิลอีเทอร์ ด้วย สารทั้งหมดข้างต้นมีข้อเสียสำคัญคือ ติดไฟง่าย

ไนตรัสออกไซด์ และ คาร์บอนไดออกไซด์ ใช้เป็นสารขับดัน สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร เช่น วิปครีม ฯลฯ ละอองลอยที่ใช้กับยา เช่น เครื่องฉีดพ่นบรรเทาอาการโรคหืด ฯลฯ ใช้ ไฮโดรฟลูออโรอัลเคน (HFA) ซึ่งอาจเป็น HFA 134a (1,1,1,2 - เตตระฟลูออโรอีเทน) หรือ HFA 227 (1,1,1,2,3,3,3 - เฮปตะฟลูออโรโพรเพน) หรือของผสมของสารทั้งสอง