โพรเพน

align="center" cellspacing="3" style="border: 1px solid #C0C090; background-color: #F8EABA; margin-bottom: 3px;" colspan="2"Propane[1]−187.7 °C; −305.8 °F; 85.5 K −42.25 to −42.04 °C; −44.05 to −43.67 °F; 230.90 to 231.11 K โพรเพน (อังกฤษ: propane) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรเคมี C3H8 ลักษณะเป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความไวไฟสูง สามารถบีบอัดให้เป็นของเหลวเพื่อใช้ขนส่งได้ ค้นพบโดยมาร์เซลแล็ง แบร์เธโลในปี ค.ศ. 1857[4] และถูกพบในน้ำมันดิบความหนาแน่นต่ำโดยเอดมันด์ โรนัลส์ในปี ค.ศ. 1864[5] ชื่อโพรเพนมาจากกรดโพรพิโอนิก ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำภาษากรีกโบราณสองคำคือ πρῶτος (prôtos) แปลว่า แรก และ πίων (píōn) แปลว่า ไขมัน[6]โพรเพนเป็นสารไฮโดรคาร์บอนชนิดแอลเคนที่มีคาร์บอน 3 อะตอมเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเดี่ยว โพรเพนมีโครงสร้างเป็นโซ่ตรง ทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างโมเลกุลมาก ส่งผลให้มีแรงระหว่างโมเลกุลมากตามไปด้วย การมีแรงระหว่างโมเลกุลมากทำให้ต้องใช้พลังงานในการสลายแรงดังกล่าวของโพรเพนมากกว่าแอลเคนที่มีโมเลกุลน้อยกว่าอย่างมีเทนและอีเทน[7][8] นอกจากนี้ยังเป็นสารไม่มีขั้วเนื่องจากอะตอมไฮโดรเจนและคาร์บอนมีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีใกล้เคียงกัน จึงไม่เกิดโมเมนต์ขั้วคู่ (dipole moment) ส่งผลให้โพรเพนไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายมีขั้ว เช่น เฮกเซน เบนซีน โทลูอีน และคลอโรฟอร์ม[9] โพรเพนเป็นหนึ่งในสารที่พบในน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ และเป็นสารกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกแยกออกเมื่อมีการกลั่นลำดับส่วนเนื่องจากมีจุดเดือดต่ำกว่าสารชนิดอื่น[10]โพนเพนใช้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง และเป็นแก๊สปิโตรเลียมเหลว (LPG) หรือแก๊สหุงต้มเมื่อผสมกับบิวเทนและสารไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ นอกจากนี้โพรเพนยังใช้เป็นสารขับดัน สารทำความเย็น และเป็นสารตั้งต้นในการผลิตโพรพีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมพลาสติก[11][12] โพรเพนเป็นสารระเหยที่เมื่อสูดดมเข้าไปจะทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนแรง หมดสติและอาจเสียชีวิตจากภาวะขาดอากาศหายใจ[13][14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โพรเพน http://www.chemspider.com/6094 http://ecb.jrc.ec.europa.eu/esis/index.php?GENRE=E... http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... http://cameochemicals.noaa.gov/chemical/9018 http://www.genome.ad.jp/dbget-bin/www_bget?cpd:D05... //doi.org/10.1039%2F9781849733069-FP001 http://www.ebi.ac.uk/chebi/searchId.do?chebiId=CHE... https://www.britannica.com/science/propane https://www.etymonline.com/word/propane https://books.google.com/?id=dzlCAQAAMAAJ&q=Berthe...